การดึงคอโดยอาศัยเครื่องมือ (Mechanical Cervical Traction)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การดึงคอโดยอาศัยเครื่องมือ (Mechanical Cervical Traction)

หากคุณมีอาการปวดคอ คุณอาจได้รับประโยชน์จากการทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ นักกายภาพบำบัดจะสั่งการออกกำลังกายและแผนการรักษาท่าทางเพื่อช่วยลดอาการปวดของคุณรวมถึงเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวคอของคุณ นักกายภาพบำบัดอาจมีการใช้การรักษาและอุปกรณ์วิธีต่าง ๆ ระหว่างการบำบัด

การดึงคอเป็นการรักษาหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การดึงคอจะช่วยยืดกล้ามเนื้อและข้อที่บริเวณคอ การยืดข้อนี้ทำให้ลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทที่มายังแขน

วิธีการดึงคอ

มีหลายวิธีที่นักกายภาพบำบัดอาจตระเตรียมไว้สำหรับการดึงคอ ได้แก่

  1. การดึงคอโดยใช้มือ (Manual cervical traction)
  2. การดึงคอโดยแขวนกับขอบประตู (Over-the-door cervical traction)
  3. การดึงคอโดยอาศัยเครื่องมือ (Mechanical cervical traction)

การดึงคอโดยอาศัยเครื่องมือ (Mechanical cervical traction) คือการใช้เครื่องมือผ่อนแรงเพื่อช่วยในการดึงคอ จะมีสายที่ติดอยู่กับหัวและคอของคุณเพื่อช่วยดึงคออย่างนุ่มนวล

จะติดตั้งเครื่องมือการดึงได้อย่างไร ?

หากนักกายภาพบำบัดใช้เครื่องมือในการช่วยดึงคอ เขาจะมีการมาอธิบายถึงขั้นตอนการติดตั้ง ความเสี่ยง และประโยชน์ รวมถึงสิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวก่อนที่จะใช้เครื่องมือในการช่วยดึงคอ

สำหรับการใช้เครื่องมือในการช่วยดึงคอ คุณจะนอนอยู่บนเตียงโดยมีสาย Velcro ที่มาติดที่หัวกับคอของคุณ และเชือกเล็ก ๆ ที่จะติดกับตัวเครื่อง

จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะเปิดให้เครื่องทำงานพร้อมกับกำหนดแรงที่จะใช้ตลอดการรักษา โดยอาจจะมีการใช้แรงดึงคงที่ หรือ เป็นพัก ๆ ระหว่างการรักษา ซึ่งจะมีการอธิบายว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรบ้างตลอดการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อใช้เครื่องมือช่วยดึงคอแล้วจะรู้สึกอย่างไรบ้าง ?

ระหว่างการที่ใช้เครื่องมือช่วยดึงคอ คุณจะรู้สึกถึงสัมผัสที่นุ่มนวลบางอย่างบริเวณคอของคุณ และอาจจะแปลกใจที่การดึงนั้นดูค่อนข้างเบา

ระหว่างการดึงคอ ให้สังเกตอาการต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนไป อาการปวดที่หายไปหรือบริเวณที่ปวดย้ายมาใกล้กระดูกสันหลังมากขึ้น (Centralization) หรือ อาการปวดบริเวณไหล่หรือแขน ที่ย้ายมาปวดบริเวณกระดูกสันหลังแทนถือเป็นสัญญาณที่ดี ในขณะที่หากอาการปวดแขนเพิ่มมากขึ้นจะบอกถึงอาการที่แย่ลง หากมีอาการนี้เกิดขึ้นระหว่างการรักษา ให้แจ้งนักกายภาพบำบัดทันที

หากคุณใช้เครื่องมือช่วยดึงคอที่คลินิกแล้วรู้สึกดีขึ้น ยังมีเครื่องมือช่วยดึงคอขนาดเล็กย่อมเยาเหมาะสำหรับใช้ที่บ้านที่นักกายภาพบำบัดสามารถช่วยหาให้คุณได้ สำหรับตัวเครื่องนี้แทนที่จะควบคุมโดยไฟฟ้า จะเป็นการใช้แรงลมบีบที่จะเป็นตัวกำหนดแรงการดึง นักกายภาพบำบัดจะเป็นคนสอนการใช้เครื่องมือนี้ให้คุณ

พึงระลึกไว้ว่าไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่วยดึงคอ หรือการดึงคอรูปแบบอื่น ๆ ควรทำเป็นส่วนขยายจากการกายภาพบำบัดอืน ๆ เพื่อรักษาภาวะปวดคอ นักกายภาพบำบัดจำเป็นจะต้องสอนการออกกำลังกาย การแก้ไขท่าทาง และแผนการป้องกันไม่ให้ภาวะปวดคอกลับมาเป็นอีกครั้ง และยังต้องสอนวิธีดูแลหากเกิดภาวะปวดคอกะทันหันขึ้นมาอีกในภายหน้า

เครื่องมือช่วยดึงคอเป็นอีกการรักษาหนึ่งที่นักกายภาพบำบัดจะใช้เพื่อรักษาภาวะปวดคอของคุณ หากใช้ได้อย่างเหมาะสม มันจะช่วยลดแรงกดทับเส้นประสาทและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้การเคลื่อนไหวและการทำงานของคอดีขึ้นเช่นกัน


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is the role of cervical mechanical traction in the treatment of cervical spondylosis?. Medscape. (https://www.medscape.com/answers/1144952-103990/what-is-the-role-of-cervical-mechanical-traction-in-the-treatment-of-cervical-spondylosis)
Cervical Traction for Neck Pain. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/cervical-traction-for-neck-pain-2696178)
Cervical Traction. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470412/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป