August 24, 2019 17:49
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้ามีประวัติใช้งานกล้ามเนื้อมาก เช่นเดินเยอะวิ่งเยอะ ปวดไม่มาก เเละไม่ได้เเพ้ยา เเนะนำยาบรรเทาอาการเบื้องต้น เช่น Paracetamol ยาลดอักเสบกลุ่มNSAIDs เช่น Diclofenac Ibuprofen Naproxen Etoricoxib Celecoxib ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น Tolperisone Orphrenadrine
ปรึกษาเภสัชกรได้ครับ ถ้ามีอาการเเพ้ เช่น ผื่นขึ้น ปากลอก หอบ ให้หยุดใช้เเล้วพบเเพทย์ครับ
ส่วนถ้ามีประวัติกระเเทกรุนเเรง ยกของหนักเเล้วปวด อาการปวด ปวดก้นกบเเล้วเเปล๊บไฟช็อตร้าวลงขา กรณีนี้เเนะนำพบเเพทย์ เเผนกกระดูกเเละข้อ หรือเวชศาสตร์ฟื้นฟูครับ ต้องระวังพวกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นต้นครับ
เรื่องกรดไหลย้อน
คือมี จุกแน่นลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว เเสบร้อนหน้าอก เป็นมากเวลากินเสร็จเเล้วนอนทันที ถ้าอาการประมาณนี้น่าจะใช่ครับ เบื้องต้นปรึกษาเภสัชกรเรื่องยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ เช่น Omeprazole gaviscon domperidone gasmotin gastrobismol เป็นต้นครับ
ถ้าไม่ดีขึ้น ให้พบเเพทย์ครับ (สาเหตุจาก หูรูดบริเวณกระเพาะอาหารไม่ดีครับ)
เเต่ถ้าปวดใต้ลิ้นปี่ มีทะลุร้าวไปหลัง มีร้าวไปเเขนร้าวไปกราม มีเหนื่อยหอบร่วมด้วย มีอาเจียนปนเลือด กลืนลำบาก ปวดตลอดไม่หาย เเบบนี้ควรไปพบเเพทย์ เพื่อตรวจเพิ่มเติมครับ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ที่สามารถทำให้โรคกรดไหลย้อนดีขึ้นได้
.........
- การนอนยกหัวให้สูงขึ้น
ประมาณ 6-8 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร ประมาณหมอน1-2ใบครับ จะช่วยบรรเทาอาการได้โดยเฉพาะคนที่มีอาการมากในเวลากลางคืน
.........
- การนอนตะแคงด้านซ้าย จะเกิดอาการได้น้อยกว่านอนหงายหรือนอนตะแคงขวา
.........
- หลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหารทันที ควรเว้นเวลาหลังมื้ออาหารประมาณ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
.........
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ให้ทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่เพิ่มจำนวนมื้อได้
.........
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสจัด ชา กาแฟ chocolate มะเขือเทศ หัวหอม กระเทียม มินต์
.........
- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และงดสูบบุหรี่
.........
- ลดน้ำหนักและควบคุม BMI ให้อยู่ในเกณฑ์
.........
- หมั่นออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพตามเหมาะสม
.........
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงที่รัดแน่นเกินไปครับ
.........
> สังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบมาพบแพทย์ กลืนลำบาก อาเจียนต่อเนื่อง อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำหรือถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลดลงผิดปกติครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขอบคุณมากค่ะ เดี๋ยวจะลองทำดูคะ กรดไหลย้อนไม่ค่อยมีปัญหาเท่าปวดหลัง เพราะทานยาก็ดีขึ้น กังวลแต่เรื่องปวดหลังอย่างเดียวเลยคะ แล้วถ้าไปทำกายภาพบำบัดด้วยมันจะดีขึ้นด้วยไหมคะ
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ปวดบั้นเอวด้านหลังเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ
อาจจะเกี่ยวกับ ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต/ท่อไต อาจจะมีอาการปวดหลังด้านนั้นเรื้อรัง ปัสสาวะแดง/เป็นก้อนกรวด, กรวยไตอักเสบติดเชื้อ อาจมีไข้หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นหรือแสบขัด ปวดบั้นเอวร่วมด้วย เป็นต้นครับ
หรือจะเป็นเกี่ยวกับระบบกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ แต่ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับท่าทางครับ
ดีที่สุดอยากให้ไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด จะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องครับ
เบื้องต้นแนะนำ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เอี้ยวตัวแรงๆ ดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดช่วงบริเวณเอวขวาด้านหลังมาเป็นเดือนแล้วค่ะ จะเจ็บแปลบ เวลาบิดตัว ขยับตัว เวลานอนต้องนอนหงายอย่างเดียวเลยคะ นอนตะแคงไม่ได้เลย บางทีเจ็บด้านซ้าย บางทีเจ็บด้านขวา ไปหาหมอบอกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ กินยาแต่มันก็ไม่หายปวดสักทีคะมีคนแนะนำให้ไปทำกายภาพบำบัด ก่อนหน้านี้ยกของหนักมาค่ะ ทำงานหนักพักผ่อนน้อย ตอนนี้ก็เป็นกรดไหลย้อนร่วมด้วย เวลาเรอ หาว หายใจไม่เต็มปอด มันก็เกร็งกล้ามเนื้อ มันก็เจ็บด้วยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)