กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วอลเลนเบิร์กซินโดรม (Wallenberg’s syndrome)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

กลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก เป็นกลุ่มอาการทางระบบประสาทที่เกิดจากส่วนของก้านสมองที่เรียกว่า เมดัลลา(medulla) ได้รับความเสียหายจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้านสมองถูกอุดกั้น ทำให้เลือดที่มีออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ 

กลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก มีอาการอย่างไร?

อาการที่มักพบในผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • กลืนลำบาก
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาขยับโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว
  • มีปัญหาการเดินและการทรงตัว
  • ประสาทสัมผัสความเจ็บและความร้อนของใบหน้าและร่างกายลดลงข้างหนึ่ง 
  • สะอึกอย่างควบคุมไม่ได้
  • เสียสัมผัสรสชาติที่ลิ้นข้างหนึ่ง
  • เหงื่อลดลง
  • อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือดเปลี่ยนแปลง

สาเหตุของกลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก

ยังไม่พบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก แต่นักวิจัยบางคนพบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เป็นกลุ่มอาการวอลเลนเบิร์กกับผู้ที่เป็นโรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โรคหัวใจ ภาวะก้อนเลือดอุดตัน และการบาดเจ็บบริเวณคอ

การวินิจฉัยกลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นกลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก อาจมีการวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อพิจารณาว่ามีเส้นเลือดแดงอุดตันบริเวณเมดัลลาหรือไม่

การรักษากลุ่มอาการวอลเลนเบิร์ก

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาวอลเลนเบิร์กที่ได้ผล 100% การรักษาจึงเป็นเพียงบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ดังนี้ 

  • การให้อาหารทางสายยางสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืน
  • คอร์สบำบัดการพูด ในผู้ที่พูดไม่ชัด
  • การให้ยาลดความข้นของเลือด เช่น Heparin หรือ Warfarin (Coumadin) เพื่อลดหรือสลายการอุดตันของเส้นเลือดแดง
  • การผ่าตัดเอาก้อนที่อุดกั้นเส้นเลือดออก ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ninds.nih.gov, Wallenberg's Syndrome Information Page (https://www.ninds.nih.gov/disorders/All-Disorders/wallenbergs-syndrome-information-page)
Cathy Cassata, What Is Wallenberg’s Syndrome? (https://www.everydayhealth.com/wallenbergs-syndrome/guide/), 3/24/2015
University of Illinois-Chicago, College of Medicine, Wallenberg Syndrome (https://www.healthline.com/health/wallenberg-syndrome)August 8, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไมมีรอบเดือนแล้วปวดหัวข้างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สวัสดีค่ะ อายุ 25ปี มีอาการปวดตามข้อต่างๆทั้งแขนและขา ข้อนิ้วมือและเท้า ข้อมือ ข้อพับ ข้อเข่า ข้อเท้า อาการปวดไม่รุนแรงแต่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร ไม่ทราบว่าตรงนี้สามารถซื้อยาบรรเทาอาการปวดข้อกระดูกมารับประทานเองได้ไหมคะ หรือควรไปพบแพทย์ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สิวขึ้น เจ็บนม ปวดท้องน้อยหายๆปวดๆ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เวียนหัว ปวดท้ายทอย. ร้อนหน้าวูขวาบ. อายุ42 อยากไปตรวจร่างกาย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)