August 18, 2018 17:11
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ เบื้องต้น ต้องพิจารณาเกี่ยวกับรูปร่างในปัจจุบันของคนไข้ก่อน ว่าเข้าข่าย ผอม หรือ สมส่วนค่ะ โดยดูจาก ค่า BMI หรือ ดัชนีมวลกาย ในคนไทยผู้ใหญ่ปกติ ค่ะ
โดยคนที่รูปร่างสมส่วน ผู้ชาย BMI อยู่ระหว่าง 22-23 และผู้หญิง 19-20 ค่ะ
หากมี BMI ต่ำกว่า 18.5 ถือว่าผอม และหากผอมมากๆ เช่น BMI ต่ำกว่า 17 ควรหาสาเหตุค่ะ
คนไข้ที่ทีอาการคือ ผอม นอกจากเรื่องอาหาร วิถีชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องดูเรื่องโรคร่วมอย่างอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของความผอมด้วยค่ะ
โรคที่เป็นสาเหตุของความผอมที่อยากแนะนำให้คนไข้สังเกตและตรวจเพิ่มเติม ได้แก่
1. โรคไทรอยด์ สูงค่ะ คนไข้อาจมีอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่ออกมาก ความดันโลหิต สูง บางคน ถ่ายเหลวบ่อย ตาโปน บางคนอาจมีคอโตได้ค่ะ คนไข้จะกินจุ แต่น้ำหนักตัวน้อยค่ะ
2.โรคติดเชื้อ ต่างๆ เช่น
การติดเชื้อ HIV คนไข้ที่มีความเสี่ยงกับโรคนั้นๆ เช่น ผู้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
โรคตับ โรคไต เรื้อรัง
วัณโรค ต่างๆ ได้แก่ วัณโรคปอด วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง วัณโรคที่กระดูก ทำให้คนไข้ผอมลง บางคนทีอาการไอเรื้อรัง ปวดตามตัว ไข้ต่ำๆเกือบทุกวัน หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคมาก่อนค่ะ
พยาธิต่างๆ ทำให้มีอาการ ถ่ายเหลว เรื้อรัง
3.โรคเบาหวาน ระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย กินจุ น้ำหนักลดค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้ควรไปตรวจน้ำตาลในเลือดค่ะ
4. โรคความผิดปกติของการดูดซึมสารอาหารในลำไส้ เช่น เคยผ่าตัดมาก่อน ทำให้ลำไส้สั้นลง มีอาการถ่ายเหลวเรื้อรัง เป็นต้น
5. โรคมะเร็งต่างๆ น้ำหนักลดอาจเป็นอาการไม่เฉพาะเจาะจง แต่ถ้ามีอาการอื่นมาก่อน ร่วมกับมีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วเป็นหลักเดือน ก็จะทำให้นึกถึง โรคมะเร็ง ได้ค่ะ
6.โรคทางจิตใจ เช่น anorexia , โรคซึมเศร้า
7.การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน/ไม่เพียงพอ หลังจากที่ได้ตรวจร่างกาย ซักประวัติ ตรวจเลือด เพื่อยกเว้นสาเหตุทางกายที่เป็นไปได้ทั้งหมดของความผอมที่ผิดปกตินั้น จึงจะเข้าสู่การปรับการกินอาหารให้เหมาะสมค่ะ ได้แก่ การทานอาหารให้ตรวเวลา ครบสามมื้อ อาหารอาจเน้นที่พลังงานสูง ไม่ทานของที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมซอง น้ำอัดลม เป็นต้น อาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ ทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น ขนมไทย ซาลาเปา นม เป็นต้นค่ะ
8.ยาและอาหารเสริมต่างๆที่อ้างสรรพคุณลดความอ้วน ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักหลายชนิด ไม่ได้มีการทำวิจัยหรือมีผลการวิจัยยืนยันแน่นอนว่าปลอดภัย รวมถึงยาที่รับประทานต่างๆ อาจผสมสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยหวังเอาผลข้างเคียงของยานั้นมาใช้ในการลดน้ำหนัก ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย ยาติตเวชต่างๆ รวมไปถึงยาแอมเฟตามีน ซึ่งยาเหล่านี้ สามารถลดน้ำหนักได้จริง แต่จะมาพร้อมผลข้างเคียงอื่นๆอีกมากมาย บางทีร้ายแรงถึงชีวิต เช่น ใจสั่น เกลือแร่ผิดปกติอย่างมาก กระดูกพรุน หัวใจวาย ติดยา อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มีความผิดปกติของสารสื่อประสาท สุญเสียการทำงานของสมดุลร่างกายอย่างมากคะ
ดังนั้น หมอแนะนำให้คนไข้สังเกตตนเองว่ามีอาการที่าจเป็นโรคที่นำมาซึ่งความผอมผิดปกติหรือไม่นะคะ ถ้ามีคนไข้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและหารสาเหตุ จะได้รักษาให้ตรงจุดค่ะ
ส่วน อาการผมร่วง เกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การใช้ยา หรือสารเคมีบางชนิดกับศรีษะ หรือ โรคต่างๆทางร่างกาย เช่น โรค SLE หรือโรคทางหนังศรีษะ เช่น alopecia areata หรือ totalis หรือ หัวล้านทางพันธุกรรม เป็นต้น แม้แต่การติดเชื้อ เช่น กลาก ก็ทำให้ผมร่วงได้ ดังนั้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คือผมประสบปัญญากินแล้วน้ำหนักมันไม่ค่อยขึ้นอะครับและมีผมร่วงนิดหน่อย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)