August 29, 2019 12:11
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ มาากว่า 2 สัปดาห์
1.มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน โดยอาจจะมีอารมณ์ต่างๆ เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกว่างเปล่า ไม่มีความหวัง หรือมีผู้สังเกตเห็นอารมณ์ซึมเศร้านี้ เช่น ร้องไห้บ่อย
2.ความสนใจต่อสิ่งต่างๆและกิจกรรมต่างๆ รอบตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
3.น้ำหนักลดอย่างมีนัยสำคัญโดยไม่ได้อดอาหาร หรือน้ำหนักขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (กล่าวคือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิมในระยะเวลา 1 เดือน) หรือมีความอยากอาหารที่เปลี่ยนไปเกือบทุกวัน
5.นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมาก เกือบทุกวัน
6.มีความผิดปกติแสดงออกทาง psychomotor เช่น ดูเชื่องช้าลง หรือดูไม่อยู่นิ่ง
7.อ่อนเพลียหรือหมดพลังเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
8.มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า หรือมีความรู้สึกผิดที่มากเกินปกติ เป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
9.ความสามารถในการคิด หรือมีสมาธิลดลง เกือบทุกวัน
10.มีความคิดเกี่ยวกับความตาย การฆ่าตัวตายโดยที่ไม่ได้วางแผน มีการพยายามฆ่าตัวตายอยู่บ่อยๆ
แนะนำถ้ามีอาการดังที่กล่าวไป ควรลองทำแบบทดสอบดูครับ ตามลิ้งด้านล่าง
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าได้คะแนนมากกว่า 7 ขึ้นไปแนะนำให้ลองไปพบจิตแพทย์ครับ เพราะสามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มีอาการซึมเศร้าบ่อย แต่ไม่คิดทำร้ายตัวเอง
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการใจเต้นแรง ใจสั่นนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- น้ำตาลในเลือดต่ำจากการรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอ
- ภาวะโลหิตจาง
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
- ผลจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ในเบื้องต้นนั้นหมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจประเมินอาการหาสาเหตุเหล่านี้ดูก่อน ถ้าหากตรวจพบความผิดปกติก็จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
แต่ถ้าหากตรวจแล้วไม่พบอาการทางด้านร่างกายเลย อาการเหล่านี้ก็อาจเกิดจากสาเหตุทางด้านจิตใจได้ เช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคกลัวต่อสถานการณ์ที่จำเพาะบางอย่าง ซึ่งในกรณีนี้หมอก็แนะนำว่าควรไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการและให้การรักษาเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากที่เล่ามาอาจเป็นอาการของโรควิตกกังวล ซึ่งในโรควิตกกังวลอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยนะคะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การคิด การรับรู้ อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ ผิดไปจากเดิม และหากมีเรื่องมากระทบกระเทือนจิตใจ ก็จะกระตุ้นให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ค่ะ
อาการของซึมเศร้าสามารถประเมินได้ด้วยตนเองดังนี้
โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมความคิด อารมณ์และพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม ส่วนการทำจิตบำบัดจะช่วยให้เข้าใจ ยอมรับปัญหาและปรับตัวได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษาควรดูแลตัวเอง ด้วยการทานยาสม่ำเสมอ หากมีอาการในระหว่างทานยาให้ไปพบแพทย์ก่อนนัด พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งนะคะ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
หากมีปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพจิตต่างๆ คิดว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้ การพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ตามสิทธิการรักษาครับ
สามารถเช็คสิทธิการรักษาได้จากเว็บไซต์ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
________________________
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากเรื่องที่เล่ามาจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายอาการ ความคิด อารมณ์เกิดขึ้นกับคุณในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานะครับ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นหรือเปล่าครับเมื่อ 1 เดือนก่อน เพราะจากอาการที่เล่ามาค่อนข้างตรงกับเรื่องภาวะโรคซึมเศร้าเหมือนที่คุณหมอและพี่นักจิตวิทยาได้ให้ข้อมูลไว้ นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องความวิตกกังวลเข้ามาร่วมด้วยดังนั้นผมก็แนะนำเหมือนคนอื่นนะครับว่าควรที่จะเข้ารับบริการ จากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครับ
นอกจากการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา การดูแลตนเองในเรื่องของการบริหารจัดการความเครียดในชีวิตประจำวันของคุณก็สำคัญเช่นกันนะครับ ลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะทำให้คุณได้เข้าใจถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงตนเองได้มากขึ้นนะ และช่วยบรรเทาความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งตรงนี้จะอาศัยระยะเวลาซักหน่อย เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของคุณตรงนี้ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ หากมีคำถามอื่นๆที่สงสัยสามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
แนะนำเพิ่มเติมเรื่องซึมเศร้า อยากให้หาเวลาออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค, ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, ระบายผ่อนคลายความเครียดบ้าง เช่น ร้องไห้ ตะโกน เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ จะทำให้ลดความเครียด ความกังวลได้ครับ และสุดท้ายคือ มองโลกในแง่ดี คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ครับ ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คือมีคืนหนึ่งหนูสะดุ้งตื่นมาตอนตี5เช้ามืดค่ะ ตื่นมาพร้อมกับความตกใจอะไรบางอย่างเเต่หนูไม่รู้เลยว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ตั้งเเต่นั้นมาหนูก็มีอาการคือ ฝันร้ายตัวสั่น หนูกังวล กลัวตาย กลัว กลัวสิ่งเเเวดล้อม บางทีอยากอยู่กับเพื่อนเเต่บางทีไม่อยากพบปะกับใคร เครียด เศร้าตลอดเวลา แต่ไม่คิดทำร้ายตัวเอง ใจเต้นตลอดตื่นเช้ามาก็เหนื่อย เจ็บหน้าอกบ่อยๆ เหนื่อยทุกวัน ไม่มีเเรง ปวดศรีษะบ่อยๆ บางทีกังวลจนร้องไห้เลยคะ คิดว่าตัวเองคงไม่มีความสุขอีกแล้ว มันทรมาน อยู่ที่บ้านก็ไม่ออกจากบ้านอยู่เเต่ในห้อง เหนื่อยไปหมด หนูเป็นเเบบนี้มา1เดือนแล้วค่ะ เป็นเเบบนี้ทุกวันตื่นเช้ามาก็กลัวกังวลไปเรื่อยกลัวว่าถ้าออกจากบ้านจะเกิดเหตุไม่ดีกับตัวเอง เหนื่อยมาก หัวใจเต้นเเรงตลอด มาเรียนก็ไม่ค่อยจะมีสมาธิค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)