ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะที่ปอดไม่สามารถทำงานแลกเปลี่ยนออกซิเจนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและมีผลให้เกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และเกิดภาวะออกซิเจน (O2) ในเลือด
สาเหตุ เกิดจากหลอดลมตีบตัน หอบหืด หลอดลมอักเสบรุนแรง เนื้อปอดถูกทำลาย เช่น ภาวะปอดอักเสบมาก ๆ มีน้ำหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอดมาก ๆ กล้ามเนื้อการหายใจเสียหน้าที่ เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ (Poliomyelitis), Myasthenia gravis ศูนย์หายใจในเมดัลลาเสียหน้าที่ เช่น มีเลือดออกในสมอง ได้รับพิษจากยา มีภาวะพร่องออกซิเจน
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น
ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก
พยาธิสรีรภาพเมื่อร่างกายมีภาวะหายใจล้มเหลวจะมีความดันออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ (Hypoxemia) หรือ PaO2ต่ำ ในระยะแรก และตามมาด้วยความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงสูง (Hypercapnia) หรือ PaCO2สูง
ภาวะความดันออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ (Hypoxemia)จะมีผลต่อร่างกาย ดังนี้
- กระตุ้นซิมพาเทติก ทำให้มีชีพจรเร็ว ความดันเลือดสูง เหงื่อออก กระสับกระส่ายอาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- กระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้มีอาการหายใจเร็วและลึก กล้ามเนื้อหายใจทำงานมากขึ้น ทำให้เหนื่อยง่าย
- หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอดหดตัว ทำให้ความดันเลือดไปปอดสูงขึ้น อาจทำให้มีหัวใจข้างขวาล้มเหลวได้
- หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจขยายตัว ทำให้มีอาการปวดศีรษะ
- เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง ทำให้ระดับความรู้สึกตัวลดลง มีอาการชัก หายใจผิดปกติและหยุดหายใจในที่สุด หัวใจบีบตัวลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ ไตหลั่งอิริโทรพอยอิทิน (Erythropoietin) เพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงมีจำนวนมากขึ้น
ภาวะความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงสูง (Hypercapnia)จะมีผลต่อร่างกาย ดังนี้
- กระตุ้นซิมพาเทติก ทำให้มีชีพจรเร็ว ความดันเลือดสูง ในระยะแรก
- กระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้มีอาการหายใจเร็วและลึก
- หลอดเลือดแดงที่ปอดหดตัวจากภาวะกรดในเลือด
- หลอดเลือดทั่วร่างกายขยายตัว ทำให้ความดันเลือดต่ำในระยะแรก ผิวหนังแดงอุ่น และมีหลอดเลือดในสมองขยายตัวทำให้มีอาการปวดศีรษะ
- กดการทำงานของสมอง ทำให้มีอาการสับสน ซึม ง่วงนอน หมดสติ และกล้ามเนื้อกระตุก
- กดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัวน้อยลง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ เขียว (Cyanosis) หากมี CO2 คั่งในเลือดมากผู้ป่วยจะมีอาการซึม หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกตามตัว อาจหมดสติ
การวินิจฉัยโรค จากประวัติมีสาเหตุหรือมีองค์ประกอบที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวมีอาการของการคั่งของ CO2 และภาวะขาด O2 เจาะเลือดหาความดันก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas) พบว่ามี PaCO2 สูง และ PaO2 ต่ำ
การรักษา รักษาตามสาเหตุ เช่น บรรเทาการตีนตันของหลอดลมโดยให้ยาขยายหลอดลมเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดออกหากมีน้ำมาก รักษาปอดอักเสบโดยให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ ให้ออกซิเจน ซึ่งปกติให้ในความเข้มข้นสูง ยกเว้นในรายที่มีการอุดกั้นของหลอดลมเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง จะให้ออกซิเจนประมาณ 25-35% เพื่อป้องกันการเกิด CO2 narcosis ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การพยาบาล ดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจหรือเกิดการสำลัก ขจัดเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจที่ต้องให้ออกซิเจน ระวังการเกิด CO2 narcosis เช่น ซึมลง หายใจช้าลง บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยควบคุมระดับ CO2 และ O2 ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
ทำอย่างไรให้ร่างกายปลอดสารตกค้าง