August 05, 2019 11:37
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ความเครียด
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- ตั้งครรภ์
เป็นต้นครับ
ถ้ามีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ในเบื้องต้นแนะนำให้ตรวจการตั้งครรภ์
, จดบันทึกรอบประจำเดือนให้ชัดเจน และไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ส่วนที่ปวดท้อง อยากให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายบริเวณที่ปวดอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอย่างถูกต้องครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการปวดท้องน้อย จำเป็นต้องได้รับประวัติเพิ่มเติมค่ะ เช่น ปวดที่ไหน ข้างไหน ปวดอย่างไร ปวดตอนไหน ปวดมานานเท่าไหร่ มีอาการร่วมไรบ้างครับ
ตัวอย่าง เช่น
- การติดเชื้อในลำไส้ หรือท้องเสียถ่ายเหลว อาหารเป็นพิษ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด ถ้าติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงมาก ก็สามารถหายเองได้ครับ
- กรวยไตอักเสบ /กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจมีอาหารร่วมเช่น เป็นไข้สูง ปวดหลัง บางคนมีปัสสาวะแสบขัดได้ครับ
- สาเหตุจากกล้ามเนื้อ คนไข้อาจมีประวัติยกของหนัก ออกกำลังกาย โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณท้องมาก การปวด อาจสัมพันธ์กับการขยับตัว สวัสดีค่ะ ถ้าอาการปวดเป็นหลังจากการออกกำลังกาย โดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณท้องมาก การเกร็งหน้าท้องเป็นเวลานาน หรือการบิดอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานครับ มีจุดกดเจ็บชัดเจน โดยมากหายได้เองค่ะ ถ้าไม่หาย สามารถทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ไดโคฟิแนคได้ (โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยานะครับ)
- สำหรับผู้หญิง อาจเป็นความผิดปกติของระบบสืบพันธฺสตรีได้ เช่น เนื้องอกของมดลูก รังไข่ เป็นต้นครับ หรือการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือ ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงที่จะตั้งครภ์ แล้วมีอาการปวดท้องด้านใดด้านหนึ่งมากๆ บวกกับประจำเดือนขาด ผลตรวจครรภ์เป็นบวก อาจเกิดจากการท้องนอกมดลูกได้ครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
โดยปกติ รอบเดือนของเรา จะคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 21-35 วัน (บวกลบเจ็ดวันจากรอบก่อนๆ ) อยู่แล้วครับ ถ้ายังอยู่ในช่วงนี้ ก็ยังถือว่าปกติครับ แต่ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ก็อาจทำให้คลาดเคลื่อนไปได้อีกครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่วซึม หรือ การหลั่งนอก ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ การปวดท้องน้อย อาจจะเป็นไปได้คือ
1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะปวดท้องน้อย ปวดๆ ไม่มีไข้ก็ได้ มีก็ได้ ปัสสาสะแล้วปวด การรักษาคือ การกินยาฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม
2.นิ่วทางเดินปัสสาวะ จะปวดท้องน้อยขวาร้าวลงขาหนีบ หรือร้าวไปหลัง การรักษาคือการดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 3 ลิตรต่อวัน กินยาแกปวด
3..การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน อาจจะมีตกขาวผิดปกติร่วมก้วย ปวดท้อง มีหรือไม่มีไข้ก็ได้ การรักษาคือ การกินยาฆ่าเชื้อติดต่อกันอย่างเหมาะสม
4.รังไข่บิดขั้ว การรักษาคือการผ่า
5.การติดเชื้อทางเดินอาหารหรือ ลำไส้ คือการติดเชื้อโรค บางชนิดที่ทำให้ท้องเสีย จะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ครับ ซึ่งต้องได้รับการวินิจฉัย จากการเก็บอุจจาระส่งตรวจครับ ครับว่ามีการติดเชื่อหรือไม่
6.ลำไส้เป็นกระเปาะและเกิดการอักเสบ (diverticulitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแทรกซ้อนซ้ำเข้าไป ครับ จะมีอาการปวดบีบๆ ที่ท้องน้อย มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ได้ครับ
7. มะเร็งลำไส้ คืออาจจะไม่มีอาการเจ็บปวด ก็ได้ การถ่ายอุจจาระจะผิดปกติไป เช่น ท้องผูก สลับท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด การรักษาคือ การผ่าตัดออก และรักษาตามระยะของโรค เป็นต้นครับ
เนื่องจากสามารถเป็นไปได้หลายอย่าง แนะนำให้ไปโรงพยาบาลครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คือ หนูเจ้บปีกมดลูกข้างซ้ายข้างขวาค่ะ มันจะเจ้บจี๊ดๆสักพักก็หายเเล้วก้อกลับมาเจ้บอีกค่ะ ช่วงที่เจ้บปีกมดลูกยุประจำเดือนไม่มาจะเข้า2เดือนแร้วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)