ใจสั่นนั้นเป็นภาวะที่รู้สึกว่าหัวใจนั้นเต้นผิดจังหวะ โดยอาจจะทำให้รู้สึกเหมือนหัวใจเต้นเร็ว เต้นแรงหรือผิดปกติ อาการนี้สามารถรู้สึกได้ที่คอ คอหอยหรือหน้าอกเช่นกัน และในระหว่างที่มีอาการใจสั่นนั้นอาจจะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงได้
อาการใจสั่นส่วนใหญ่นั้นไม่เป็นอันตรายและหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในบางราย อาการใจสั่นนั้นอาจจะแสดงถึงโรคที่รุนแรงได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ประกอบด้วย
- การออกกำลังกายอย่างหนัก
- คาเฟอีน
- นิโคตินจากบุหรี่และซิการ์
- ความเครียด
- อาการวิตกกังวล
- ความกลัว
- อาการหวาดระแวง
- การขาดน้ำ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นการตั้งครรภ์
- ความผิดปกติของเกลือแร่
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ภาวะซีด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
- ระดับออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ
- มีการเสียเลือด
- ความดันโลหิตต่ำ
- มีไข้
- การใช้ยาบางชนิดเช่นยาแก้หวัดและแก้ไอ ยาสมุนไพรและอาหารเสริม
- ยาบางกลุ่มเช่น beta-blockers, ยารักษาโรคหอบ และยาลดอาการคัดจมูก รวมถึงยาเสพติดเช่น amphetamine และ โคเคน
- โรคหัวใจ
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ
- สูบบุหรี่
อาการใจสั่นส่วนใหญ่นั้นไม่เป็นอันตรายแต่อาจจะแสดงว่าคุณป่วยด้วยโรคอื่นหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เป็นโรคหัวใจ
- มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ทันที
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการใจสั่นและเป็นโรคหัวใจอยู่เดิม รวมถึงหากมีอาการใจสั่นพร้อมกับอาการต่อไปนี้
- เวียนศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- มึนหัว
- เป็นลม
- หมดสติ
- สับสน
- หายใจลำบาก
- เหงื่อออกมาก
- ปวด หรือแน่นในช่องอก
- ปวดที่แขน คอ หน้าอก ขากรรไกรหรือหลังส่วนบน
- ชีพจรขณะพักเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที
อาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการของโรคที่อันตรายได้
การวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่นนั้นอาจจะวินิจฉัยได้ยาก โดยเฉพาะหากในระหว่างที่พบแพทย์นั้นไม่มีอาการ
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อพยายามหาสาเหตุ และซักประวัติเช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
- ระดับความเครียด
- ยาและอาหารเสริมที่กำลังรับประทาน
- ประวัติการรักษาและโรคประจำตัวก่อนหน้านี้
หากจำเป็น แพทย์อาจจะมีการส่งตัวให้พบแพทย์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ การตรวจที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้เช่น
- การตรวจเลือด
- การตรวจปัสสาวะ
- การตรวจวัดความเครียด
- การติดเครื่องดูจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 24 ชั่วโมงโดยใช้เครื่องที่เรียกว่า Holter
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่หัวใจ (echocardiogram)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- เอกซเรย์ช่องอก
- การตรวจ electrophysiology เพื่อดูการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- การฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ
การรักษา
การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดอาการใจสั่น แพทย์จะต้องทำการระบุโรคที่คุณเป็นก่อน
ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์อาจจะไม่สามารถหาสาเหตุได้และไม่สามารถให้การรักษาได้
หากอาการใจสั่นนั้นเกิดจากการใช้ชีวิตเช่นสูบบุหรี่หรือดื่มคาเฟอีนมากเกินไป การเลิกหรือลดสารดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นวิธีการรักษาที่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นหากคิดว่าอาการนั้นเกิดจากการใช้ยา
การป้องกันอาการใจสั่น
หากแพทย์บอกว่าไม่จำเป็นต้องรักษา คุณสามารถใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการใจสั่นซ้ำได้
พยายามระบุตัวกระตุ้นที่ทำให้คุณมีอาการซึ่งจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงมันได้ คุณอาจจะทำโดยการจดบันทึกกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันรวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่รับประทานและเวลาที่มีอาการ
หากคุณกังวลหรือเครียด
- ลองใช้การออกกำลักงายเพื่อการผ่อนคลายเช่นการฝึกหายใจ เล่นโยคะหรือไทชิ
- จำกัดหรือหยุดการรับประทานคาเฟอีน
- หยุดสูบบุหรี่
- หากยานั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น ควรถามแพทย์ถึงการเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามคุมระดับความดันโลหิตและ cholesterol ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม