อาการอยากอาหาร...นั้นอาจหมายถึงอะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 12 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการอยากอาหาร...นั้นอาจหมายถึงอะไร

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการอยากอาหาร คุณเคยมีอาการอยากอาหารหรือไม่ แล้วมันเกิดจากอะไร ตลอดจนอ่านข้อมูลที่เป็นประโยชน์เรื่องอาการอยากอาหารบางประเภทที่พบได้บ่อย หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

 อาการอยากอาหารนั้นอาจหมายถึง อาการทางภูมิแพ้ และบ่อยครั้งเป็นวิธีที่ธรรมชาติต้องการบอกให้คุณทราบว่า คุณได้รับวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด ไม่เพียงพอ และที่พบได้ไม่น้อยคือ อาการหิวโหยอยากอาหารนั้นอาจเกิดขึ้น เพราะคุณรับประทานอาหารโดยรวมไม่ดีพอ

อาการอยากอาหารบางประเภทที่พบได้บ่อยคือ

เนยถั่ว: แน่นอนว่าเป็นหนึ่งในสิบอาหารที่ผู้คนมักเกิดอาการอยาก และ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยด้วย เนยถั่วเป็นแหล่งของวิตามินบี หากคุณพบว่าตัวเอง อดไม่ได้ที่จะเปิดกระปุก ตักขึ้นมารับประทานบ่อยๆ อาจเนื่องมาจากคุณกําลัง อยู่ภายใต้ภาวะเครียดและวิตามินบีที่คุณรับประทานในแต่ละวันไม่เพียงพอ กับการใช้ เนยถั่วประมาณ 50 กรัม หรือหนึ่งในสามของถ้วย จะให้พลังงานถึง 284 แคลอรี ถ้าคุณไม่อยากมีน้ำหนักตัวเพิ่ม อาจเลือกรับประทานเป็นวิตามิน บีรวมเสริมแทน ซึ่งจะช่วยรักษารอบเอวคุณให้คงที่ได้มากกว่า

กล้วย: หากคุณพบว่าตัวเองคว้าผลไม้ชนิดนี้มารับประทานซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจเนื่องมาจากร่างกายของคุณต้องการโพแทสเซียม กล้วยขนาดกลางหนึ่งผล จะมีโพแทสเซียมประมาณ 555 มก. ผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะหรือยาคอร์ติโซน (ซึ่งทําให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียม) จะมีความอยากรับประทาน กล้วยได้บ่อย

ชีส: ถ้าคุณมีอาการหลงใหลชีสเป็นวูบๆ มากกว่าจะเป็นคนรักชีส อาจ เป็นไปได้ว่า อาการอยากชีสที่แท้จริงนั้นมาจากความอยากแคลเซียมและ ฟอสฟอรัสมากกว่า (หากชีสที่คุณรับประทานเป็นชีสที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง คุณอาจได้รับประทานอะลูมิเนียมและเกลือโดยไม่รู้ตัว) คุณอาจลองรับประทาน บรอกโคลีให้มากขึ้น เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงเช่นกัน แต่มีแคลอรีต่ำกว่าชีสมากนัก

แอ๊ปเปิ้ล: แอ๊ปเปิ้ลวันละหนึ่งลูก ไม่ได้ช่วยให้คุณห่างหมอได้เสมอไป แต่มันก็ให้ประโยชน์ดีๆ หลายอย่างที่คุณอาจไม่ได้รับจากอาหารอื่น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และยังเป็นแหล่งที่ยอดเยี่ยม ของเพกทิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หากคุณมีแนวโน้มที่จะ รับประทานไขมันอิ่มตัวมาก อาจเป็นสาเหตุให้คุณรู้สึกอยากแอ๊ปเปิลได้

เนย: ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติมักมีอาการอยากรับประทานเนยได้บ่อย เพราะส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ แต่การอยากรับประทาน เนยเค็ม อาจมาจากความอยากเกลือก็เป็นได้

น้ำอัดลม: อาการอยากน้ำอัดลมมักเกิดจากความอยากรับประทานน้ำตาล บ่อยที่สุด และยังอาจเกิดจากการติดกาเฟอีน (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 321) น้ำ อัดลมจัดเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

ถั่ว: หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากถั่วเป็นประจํา คุณอาจต้องการโปรตีน วิตามินบี หรือไขมันในอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณชอบถั่วที่ปรุงรสเค็ม สิ่งที่คุณ โหยหาอาจเป็นเกลือโซเดียม ไม่ใช่ถั่วก็เป็นได้ มักพบว่าผู้ที่อยู่ภายใต้ภาวะ เครียด จะรับประทานถั่วมากกว่าผู้ที่รู้สึกผ่อนคลาย

ไอศกรีม: แม้ว่าไอศกรีมจะมีแคลเซียมสูง แต่คนส่วนใหญ่โหยหาน้ำตาล ในไอศกรีมมากกว่า ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำและผู้ที่เป็นเบาหวานจะอยากรับประทาน ไอศกรีมมาก เช่นเดียวกับผู้ที่อยากระลึกถึงความสุขในวัยเยาว์

ของดอง: หากคุณกําลังตั้งครรภ์และอยากรับประทานของดอง คุณอาจ กําลังโหยหาเกลือ และหากคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ก็อยากรับประทานของดอง เช่นกัน เหตุผลก็ไม่น่าจะต่างกัน (ของดองยังมีโพแทสเซียมในปริมาณมาก ด้วย)

เบคอน: ความอยากรับประทานเบคอนมักมาจากไขมันที่เป็นส่วนประกอบ ผู้ที่พยายามอดอาหารมักมีความเสี่ยงต่อการโหยหาของมันๆ แต่ข่าวร้ายคือ ไขมันอิ่มตัวไม่ได้เป็นข้อเสียเพียงอย่างเดียวของเบคอน แต่เบคอนยังมีสาร ก่อมะเร็งไนไตรด์ในปริมาณสูงมาก หากคุณปล่อยตัวปล่อยใจให้เบคอน คุณ ควรรับประทานวิตามินซี เอ ดี และอีให้มากพอ เพื่อไปต้านฤทธิ์ของไนไตรด์

ไข่: นอกจากโปรตีนที่ไข่สองฟองให้คุณได้มากถึง 13 กรัมแล้ว ไข่ยังให้ กํามะถัน กรดแอมิโน และซีลีเนียมกับคุณอีกด้วย คนรักไข่บางคนอาจอยาก รับประทานส่วนไขมันในไข่แดง หรือส่วนประกอบที่ทําหน้าที่ตรงข้ามคือโคลีน ซึ่งเป็นตัวช่วยลดคอเลสเตอรอลและไขมัน

แคนตาลูป: เพียงเพราะคุณชอบในรสของมัน อาจไม่ได้เป็นเหตุผลข้อเดียว ที่ทําให้คุณอยากรับประทานแคนตาลูป แคนตาลูปมีโพแทสเซียมและวิตามินเอสูง หนึ่งส่วนสี่ของผลไม้ตระกูลเมลอนหนึ่งลูก มีวิตามินเอถึง 3,400 ไอยู ทั้งยังมี วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ไบโอติน และอินอซิทอล อีกด้วย การโหยหาอยากรับประทานแคนตาลูปจึงไม่ใช่เรื่องเลวร้ายแต่อย่างใด ที่สําคัญ แคนตาลูปครึ่งลูกให้พลังงานเพียง 60 แคลอรี่เท่านั้น

มะกอก: ไม่ว่าคุณเกิดอาการอยากรับประทานมะกอกชนิดสีเขียวหรือสีดํา ก็ตาม ความน่าจะเป็นคือคุณกําลังโหยหาเกลือ คนที่ต่อมไทรอยด์ทํางานต่ำ มักมีอาการอยากรับประทานมัน

เกลือ: ไม่ต้องเดาเลยครับ สิ่งที่คุณโหยหาคือโซเดียม ผู้ที่โหยหาเกลือ อาจมีภาวะขาดไอโอดีนในต่อมไทรอยด์ หรือมีโซเดียมตําจากโรคแอดดิสัน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักโหยหาเกลือ แต่ไม่ควรเผลอรับประทานเป็นอย่างยิ่ง

หัวหอม: ความอยากรับประทานรสจัด อาจเป็นสัญญาณบ่งถึงปัญหา ในปอดหรือโพรงไซนัส

ช็อกโกแลต: แน่นอนว่าต้องเป็นหนึ่งในอาหารที่คนโหยหาอยากรับประทาน มากที่สุด หรือไม่ก็มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ที่ติดช็อกโกแลตมักติดทั้งกาเฟอีน และน้ำตาล (โกโก้หนึ่งถ้วยมีกาเฟอีนอยู่ 5- 10 มก.) หากคุณต้องการตัดใจ จากช็อกโกแลต ลองหันมารับประทานแคร็อบแทน (Carob มีอีกชื่อหนึ่งว่า ขนมปังของเซนต์จอห์น ทําจากส่วนฝักของต้นแคร็อบจากเมดิเตอร์เรเนียน)

นม: หากคุณเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ยังโหยหาอยากดื่มนมอยู่ คุณอาจต้องการ รับประทานแคลเซียมเสริม และเช่นเคย มันอาจเป็นสารอาหารตัวอื่นที่ร่างกายคุณต้องการ เช่น กรดแอมิโนอย่างทริปโตแฟน ลิวซีน และไลซีน คนที่ ตื่นตระหนกง่ายมักต้องการทริปโตแฟนจากนม เนื่องจากมันเป็นกรดแอมิโน ที่ช่วยให้ผ่อนคลายขึ้นได้

อาหารจีน: แน่นอนว่ามันอร่อย แต่บ่อยครั้งที่สิ่งที่คุณโหยหาคือผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูทาเมตในอาหาร ผู้ที่ขาดเกลือมักโหยหาอาหารจีนเป็น อย่างมาก (โมโนโซเดียมกลูทาเมต หรือ MSG อาจทําให้เกิดปฏิกิริยาหลัง ฮิสตามีนในบางคน ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะและร้อนวูบวาบได้ ร้านอาหารจีน ส่วนใหญ่สามารถทําอาหารโดยไม่ใส่ MSG ได้ หากคุณขอเป็นการเฉพาะ)

มายองเนส: เนื่องจากมันเป็นอาหารที่มีไขมันสูง จึงเป็นอาหารที่คนรับประทานมังสวิรัติและผู้ที่พยายามจํากัดไขมันในมื้ออาหาร อดไม่ได้ที่จะรู้สึก โหยหาอยากรับประทาน

ทาร์ตผลไม้: อาการโหยหาอยากรับประทานทาร์ตผลไม้ตลอดเวลา อาจ บ่งชี้ถึงปัญหาของถุงน้ำดีหรือตับได้

สีและฝุ่น: เด็กๆอาจมีแนวโน้มที่อยากรับประทานสีทาบ้านหรือฝุ่นผง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งว่ามีภาวะขาดแคลเซียมหรือวิตามินดีเกิดขึ้น จําเป็นอย่างยิ่ง ที่คุณควรประเมินการรับประทานอาหารของบุตรหลานเสียใหม่ และควรที่จะพบ กุมารแพทย์เพื่อตรวจรักษา อาการอยากรับประทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหารนี้ มีศัพท์ เรียกว่าไพกา (Pica) เป็นภาวะที่หญิงมีครรภ์ก็อาจมีได้ ซึ่งควรให้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจส่งผลถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
8 Ways to Treat a Loved One's Loss of Appetite. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-to-whet-an-appetite-1132085)
Loss of Appetite: Symptoms, Signs, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/loss_of_appetite/symptoms.htm)
Loss of appetite: Causes, other symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324011)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม