หอบหืด (Asthma) คือภาวะสุขภาพระยะยาวที่พบได้มากที่ทำให้เกิดอาการไอ เสียงวี้ด แน่นหน้าอก และหายใจไม่ออก
ความรุนแรงของอาการเหล่านี้จะแตกต่างกันออกไปตามบุคคล ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถควบคุมหอบหืดได้ดี แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่ประสบกับปัญหาต่าง ๆ แบบเรื้อรัง
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
บางครั้งอาการของหอบหืดก็ทรุดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรืออย่างกะทันหันก็ได้ ซึ่งภาวะที่ทรุดลงกะทันหันเช่นนี้เรียกว่า “หอบหืดกำเริบ” หรือ “การจับหืดเฉียบพลัน”
ภาวะหอบหืดที่กำเริบขึ้นมากะทันหันอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยากก็ตามที
อะไรเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด?
หอบหืดเกิดมาจากการอักเสบของท่ออากาศขนาดเล็กที่เรียกว่าหลอดลม (bronchi) ที่มีหน้าที่ขนส่งอากาศเข้าและออกปอด หากคุณเป็นโรคหอบหืด หลอดลมจะอักเสบและอ่อนไหวมากกว่าคนทั่วไป
เมื่อคุณต้องกับบางสิ่งที่ก่อความระคายเคืองปอดของคุณ หลอดลมของคุณจะตีบแคบ กล้ามเนื้อโดยรอบหลอดลมจะรัดตัว และทำให้กระบวนการผลิตเสมหะมีมากขึ้น
สิ่งเร้าทั่วไปให้เกิดหอบหืดมีดังนี้: ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสร ควันบุหรี่ การออกกำลังกาย การติดเชื้อไวรัส
หอบหืดอาจกระตุ้นขึ้นมาจากสารก่อภูมิแพ้หรือสารเคมีต่าง ๆ ในขณะที่ทำงานได้ ควรปรึกษาแพทย์หากว่าอาการหอบหืดของคุณทรุดลงระหว่างที่ทำงานและดีขึ้นในช่วงวันหยุด
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุที่บางคนป่วยเป็นหอบหืดยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าคุณจะมีความเสี่ยงต่อหอบหืดสูงขึ้นหากสมาชิกในครอบครัวของคุณเป็นโรคนี้
หอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย รวมไปถึงเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
ใครได้รับผลกระทบจากโรคนี้บ้าง?
จากข้อมูลของประเทศอังกฤษ มีผู้คนประมาณ 5.4 ล้านคนกำลังเข้ารับการรักษาหอบหืดอยู่ ซึ่งนั่นเท่ากับผู้ใหญ่ 1 คนจากทุก ๆ 12 คน และเด็ก 1 คนจากทุก ๆ 11 คน หอบหืดในผู้ใหญ่จะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
หอบหืดรักษาได้อย่างไร?
ณ ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคหอบหืด มีเพียงการรักษาควบคุมภาวะเท่านั้น
การรักษามีวัตถุประสงค์สองประการคือ: เพื่อบรรเทาอาการ เพื่อป้องกันการกลับมาของอาการและการกำเริบในอนาคต
สำหรับผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นการใช้ยาบางครั้งบางคราว ซึ่งยาที่ใช้มักจะเป็นยาสูด (ยาพ่น) อีกทั้งการมองหาและเลี่ยงสิ่งเร้าก็เป็นวิธีป้องกันที่สำคัญอีกหนึ่งเช่นกัน
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณควรจัดทำแผนรับมือกับหอบหืดร่วมกับแพทย์หรือพยาบาลที่สามารถให้ข้อมูลยาที่คุณจำต้องใช้ และเพื่อเรียนรู้วิธีสังเกตอาการที่ทรุดลง และขั้นตอนการจัดการกับอาการต่าง ๆ
ความคาดหวังที่มีต่อโรคหอบหืด
หอบหืดจะเป็นโรคเรื้อรังระยะยาวกับผู้ป่วยส่วนมากโดยเฉพาะหากโรคนี้เริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่เป็นต้นไป
อาการของโรคหอบหืดมักจะสามารถควบคุมไว้ได้ด้วยการรักษา แม้ว่าผู้ป่วยหอบหืดระยะยาวบางรายอาจประสบกับภาวะหลอดลมตีบถาวรกับปัญหาต่าง ๆ เรื้อรังได้ก็ตาม
สำหรับเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นหอบหืดจะประสบทั้งช่วงที่ภาวะดีขึ้นหรือหายไปในช่วงวัยรุ่นปีแรก ๆ แต่ภาวะนี้มักจะกลับมาอีกครั้งเมื่อพวกเขาเริ่มมีอายุมากขึ้น ยิ่งภาวะหอบหืดช่วงวัยเด็กมีความรุนแรงปานกลางหรือรุนแรงมากจะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นหอบหืดอีกครั้งในช่วงที่โตแล้ว
อาการของโรคหอบหืด
อาการของโรคหอบหืดจะมีความแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยส่วนมากจะประสบกับอาการเป็นครั้งคราว และผู้ป่วยบางรายอาจประสบกับอาการต่าง ๆ เป็นเวลามากกว่าผู้อื่น
อาการของโรคหอบหืดมีดังนี้: หายใจมีเสียงหวีดสูง หายใจติดขัด แน่นหน้าอก (อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรมารัดที่หน้าอก) ไอ
อาการเหล่านี้มักจะทรุดลงในช่วงกลางคืนและช่วงเช้าตรู่ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยไม่ควบคุมภาวะให้ดี ผู้ป่วยอาจประสบกับอาการที่แย่ลงได้เมื่อต้องกับสิ่งเร้าบางอย่าง เช่นการออกกำลังกาย หรือการสูดดมเกสรดอกไม้ เป็นต้น
ให้ปรึกษาแพทย์หากคุณคาดว่าคุณหรือลูกของคุณอาจเป็นโรคหอบหืด อีกทั้งควรพูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาลโรคหอบหืดหากว่าคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดและคาดว่าตนเองควบคุมอาการของโรคได้ยาก
หอบหืดเฉียบพลัน
หากอาการของโรคหอบหืดทรุดลงอย่างมาก จะเรียกเหตุการณ์เช่นนี้ว่าภาวะหอบหืดกำเริบ หรือภาวะหอบหืดเฉียบพลัน
ภาวะนี้มักจะค่อย ๆ เริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในบางครั้งอาจใช้เวลานานสองถึงสามวันหรือมากกว่านั้นก่อนที่จะกลายเป็นภาวะร้ายแรง กระนั้นผู้ป่วยบางคนก็อาจประสบกับภาวะนี้อย่างกะทันหันก็ได้ อีกทั้งการใช้ยาสูดก็มักไม่ได้ผลกับภาวะกะทันหันเช่นนี้
คุณอาจถูกจัดให้แพทย์สอดส่องโรคหอบหืดด้วยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า peak flow meter ที่จะแสดงให้เห็นค่าที่ลดลงในช่วงที่เกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลันขึ้น
สัญญาณของภาวะหอบหืดเฉียบพลันรุนแรงมีดังนี้: ยาสูดบรรเทาอาการหอบหืดใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่ได้เลย อาการหายใจหวีด ไอ และแน่นหน้าอกรุนแรงและเรื้อรังมากขึ้น หายใจเร็วขึ้น หายใจระหว่างรับประทานอาหาร พูดคุย หรือนอนหลับได้ยากขึ้น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกง่วงนอน เหนื่อย หรือวิงเวียน ริมฝีปากหรือนิ้วมือของคุณเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลทันทีที่คุณหรือคนใกล้ชิดเริ่มมีอาการของภาวะหอบหืดกำเริบรุนแรง
สาเหตุของโรคหอบหืด
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดขึ้น แต่ก็เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน
หนึ่งในนั้นคือพันธุกรรม แต่ก็คาดกันว่ามีปัจจัยทางสภาพแวดล้อมหลายประการที่เป็นตัวการหลักของโรคหอบหืด ซึ่งเป็นได้ทั้งมลพิษในอากาศ สารคลอรีนในสระว่ายน้ำ และมาตรฐานการรักษาสุขอนามัย
กระนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรค แต่ก็มีสิ่งเร้ามากมายที่ทำให้เกิดอาการขึ้น เช่นฝุ่นละออง อากาศเย็น และควัน
ใครมีความเสี่ยงมากที่สุด?
แม้ว่าสาเหตุของโรคหอบหืดยังเป็นปริศนา แต่ก็มีหลายสิ่งที่จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคขึ้น ดังนี้:
ประวัติครอบครัว ว่ามีสมาชิกในสายครอบครัวที่เป็นหอบหืดหรือภาวะภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เช่นโรคผิวหนังอักเสบ โรคแพ้อาหาร หรือไข้ละอองฟาง
กำลังป่วยเป็นภาวะภูมิแพ้อื่น ๆ
เคยป่วยเป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบ (ภาวะติดเชื้อที่ปอดที่พบได้บ่อยกับเด็ก)
เป็นเด็กที่เคยต้องกับควันบุหรี่มาก่อน โดยเฉพาะหากมารดาสูบบุหรี่ระหว่างที่ตั้งครรภ์
เป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และจะมีโอกาสมากขึ้นหากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจพยุงการหายใจหลังคลอด
มีน้ำหนักร่างกายหลังกำเนิดน้อยที่เป็นผลมาจากการเติบโตภายในมดลูกที่น้อยกว่าปกติ
ผู้ป่วยบางคนอาจป่วยเป็นหอบหืดจากงานที่ต้องรับผิดชอบอยู่
สิ่งเร้าหอบหืด
ผู้ป่วยหอบหืดจะมีหลอดลมที่ใช้ขนส่งอากาศเข้าและออกปอดอักเสบจนมีความอ่อนไหวมากกว่าปกติ ซึ่งหมายความว่าการต้องกับสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองที่ปอดจะทำให้หลอดลมตีบจะทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบบีบรัดตัวและมีการผลิตเสมหะออกมามากขึ้น
อาการของโรคหอบหืดจะแสดงออกมาแตกต่างกันออกไปตามสิ่งเร้า เช่น:
การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ: โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ส่งผลกับหลอดลมส่วนบนอย่างเช่นไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่
สารก่อภูมิแพ้: อย่างเช่นเกสร ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรือขนนก
สารก่อความระคายเคืองในอากาศ: เช่นควันบุหรี่ น้ำหอมเคมี และมลพิษในอากาศ
ยา: โดยเฉพาะยาในกลุ่มยาแก้ปวดที่เรียกว่ายาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ที่มีทั้งแอสไพริน และอิบูโพรเฟน บางครั้งก็อาจเกิดจากยากลุ่ม beta-blockers ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจบางประเภท
อารมณ์: รวมไปถึงความเครียดและการหัวเราะ
อาหารที่มีซัลไฟท์: สารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารและเครื่องดื่มบางประเภท เช่นน้ำผลไม้เข้มข้น กุ้ง และอาหารสำเร็จต่าง ๆ
สภาพอากาศ: รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน อากาศเย็น ลมแรง พายุ คุณภาพอากาศที่ไม่ดี ความร้อน หรือความชื้น
สภาพในอาคาร: รวมไปถึงในห้อง ไรฝุ่น สารเคมีตกค้างบนพรมหรือเสื้อผ้า
การออกกำลังกาย
ภาวะแพ้อาหาร: รวมไปถึงภูมิแพ้ถั่วหรืออาหารประเภทอื่น ๆ
เมื่อคุณพบสิ่งเร้าหอบหืดของคุณ คุณก็สามารถควบคุมภาวะของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยการเลี่ยงไม่สัมผัสหรือต้องกับสิ่งเร้านั้น ๆ (หากเป็นไปได้)
โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ
ในบางกรณี โรคหอบหืดก็เกิดขึ้นจากการต้องสารที่ก่อให้เกิดโรคที่อยู่ระหว่างการทำงาน ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ”
มีรายงานว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหอบหืดจากการประกอบอาชีพมีดังนี้: ไอโซไซยาเนต (สารเคมีที่มักพบในสีสเปรย์) ฝุ่นแป้งและธัญพืช ยางสน ยาง สัตว์ ฝุ่นไม้
คุณอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นถ้าคุณต้องกับสารข้างต้นระหว่างการทำงานเป็นประจำ
ภาวะนี้มักพบในอาชีพอย่างช่างพ่นสี คนอบขนม ช่างเคมี คนเลี้ยงสัตว์ ช่างเชื่อมโลหะ พนักงานโรงงานอาหารแปรรูป และช่างไม้
การวินิจฉัยโรคหอบหืด
ถ้าคุณเป็นโรคหอบหืดชนิดปรกติ แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างง่ายดาย
แพทย์จะสอบถามว่าอาการต่าง ๆ เริ่มเมื่อไร บ่อยแค่ไหน และสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการ (ถ้าสังเกตพบ)
แพทย์อาจทำการสอบถามภาวะภูมิแพ้ของคุณ อย่างเช่นโรคผิวหนังอักเสบ และไข้ละอองฟาง ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นร่วมกับหอบหืด
จะมีการทดสอบมากมายเพื่อยืนยันข้อวินิจฉัย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:
สำหรับเด็ก การวินิจฉัยโรคหอบหืดทำได้ยากเพราะว่ามีภาวะอื่น ๆ มากมายที่ก่อให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันในทารก การทดสอบที่จะกล่าวต่อไปนี้จึงไม่เหมาะสมกับการทดสอบในเด็กเสมอไป
ดังนั้นแพทย์อาจแนะนำให้ลูกของคุณใช้ยาสูดหอบหืดเป็นการรักษาทดลองก่อน หากอาการของลูกของคุณดีขึ้น แพทย์จะสันนิษฐานว่าลูกของคุณป่วยเป็นหอบหืดจริง
สไปโรเมธรีย์
การทดสอบการหายใจที่เรียกว่าสไปโรเมธรีย์ (Spirometry) มีไว้เพื่อประเมินการทำงานของปอดคน โดยกระบวนการจะมีการหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ผ่านที่ปิดปากที่เชื่อมไปยังเครื่องสไปโรเมเทอร์
เครื่องสไปโรเมเทอร์จะใช้วิธีการวัดค่าสองอย่าง หนึ่งคือปริมาณอากาศที่คุณสามารถหายใจออกภายในช่วงหนึ่งวินาทีแรกของการหายใจออก (FEV1) และสองคือปริมาณอากาศรวมที่คุณหายใจออกทั้งหมด (FVC)
แพทย์อาจขอให้คุณหายใจเข้าไปยังเครื่องสไปโรเมเทอร์หลายครั้งเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด โดยค่าที่ได้จะนำไปคำนวณกับค่าวัดมาตรฐานของคนที่มีเพศ ความสูง และอายุเทียบเท่ากับคุณ ซึ่งจะสามารถแสดงให้เห็นว่าหลอดลมของคุณถูกปิดกั้นหรือไม่
บางกรณี หลังมีการเก็บค่าข้างต้นแล้ว คุณจะได้รับยาที่ช่วยคลายหลอดลมของคุณเพื่อทำการเก็บค่าการหายใจของคุณอีกครั้งเพื่อดูว่าค่าที่ได้จะดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่
วิธีการนี้เรียกว่า reversibility testing ซึ่งสามารถจำแนกโรคหอบหืดออกจากภาวะปอดอื่น ๆ อย่างโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease - COPD) ได้
Peak expiratory flow test การทดสอบ peak flow meter (peak expiratory flow - PEF) จะมีการใช้อุปกรณ์ขนาดพกพาที่เรียกว่า peak flow meter เพื่อวัดความเร็วในการเบาลมออกจากปอดของคุณภายในหนึ่งครั้ง
การทดสอบนี้ต้องใช้การฝึกฝนเล็กน้อยกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด ดังนั้นแพทย์หรือพยาบาลจะแสดงวิธีการทดสอบให้คุณเห็น และอาจจัดการทดลองฝึกฝนสองหรือสามครั้งก่อน
คุณอาจได้รับ peak flow meter ไปฝึกเองที่บ้าน และทำการจดบันทึกค่าที่ได้ภายในช่วงเวลาหลาย ๆ สัปดาห์ เพราะว่าโรคหอบหืดนั้นมีความผันแปรตลอดเวลา และทำให้การทำงานของปอดคุณเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อภายในหนึ่งวัน
บันทึกของคุณอาจมีช่องว่างไว้จดอาการที่คุณประสบ ข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยหอบหืดและใช้ในการสังเกตว่าเมื่อไรที่อาการของคุณทรุดลงบ้าง อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังช่วยให้แพทย์กำหนดวิธีการรักษาต่อไปอีกด้วย
เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคหอบหืดที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ แพทย์ผู้ดูแลอาจขอให้คุณวัดค่า peak expiratory flow ทั้งระหว่างอยู่ที่ทำงาน กับเมื่อคุณหยุดหรือเลิกงานแล้ว โดยแพทย์อาจทำการส่งคุณไปพบกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป
การทดสอบอื่น ๆ
ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการทดสอบเฉพาะทางอื่น ๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคหอบหืด หรือเพื่อวินิจฉัยให้พบภาวะอื่น ๆ ข้อมูลที่ได้มาจึงมีเพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวางแผนการรักษาคุณตามความเหมาะสม
การตอบสนองของหลอดลม
ในบางครั้งก็มีการทดสอบนี้ขึ้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคหอบหืดหากว่าการวินิจฉัยที่ผ่านมาไม่ชัดเจน โดยการทดสอบนี้มีเพื่อชี้วัดว่าหลอดลมของคุณตอบสนองอย่างไรเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า
แพทย์จะให้คุณสูดหายใจนำยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองหรือจำกัดหลอดลมของคุณเล็กน้อยในกรณีที่คุณป่วยเป็นหอบหืด ซึ่งจะทำให้ค่า FEV1 ที่ได้จากการใช้สไปโรคเมธรีย์ลดลงและอาจกระตุ้นให้เกิดอาการของหอบหืดขึ้นมาเล็กน้อย หากคุณไม่ได้เป็นโรคหอบหืด หลอดลมของคุณจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
การทดสอบมักกำหนดให้คุณต้องสูดยาเข้าไปต่อเนื่อง โดยมีปริมาณยาที่ได้รับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยระหว่างนั้นจะมีการวัดสไปโรคเมธรีย์เพื่อให้ได้ค่า FEV1 เพื่อดูว่าค่านี้ลดลงต่ำกว่าค่ากำหนดหรือไม่ ในบางกรณีอาจต้องให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเป็นสิ่งเร้าก็ได้
การทดสอบการอักเสบของหลอดลม
การทดสอบนี้อาจมีประโยชน์ในบางกรณี โดยเป็นการทดสอบเพื่อตรวจหาการอักเสบของหลอดลมของคุณ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการสองวิธี:
การตรวจตัวอย่างมูก: แพทย์จะเก็บตัวอย่างมูก (เสมหะ) เพื่อตรวจหาร่องรอยของการอักเสบภายในหลอดลม
การวัดค่าไนตริกออกไซด์: ขณะที่คุณหายใจออก จะมีการวัดระดับไนตริกออกไซด์ในลมหายใจของคุณด้วยการใช้อุปกรณ์ชนิดพิเศษ หากพบว่ามีระดับไนตริกออกไซด์สูง นี่อาจเป็นสัญญาณของการอักเสบภายในหลอดลมก็เป็นได้
การทดสอบภูมิแพ้
การทดสอบผิวหนังหรือการตรวจเลือดสามารถใช้เพื่อยืนยันว่าโรคหอบหืดของคุณนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะภูมิแพ้หรือไม่ เช่นแพ้ไรฝุ่น แพ้ละอองเกสร หรือแพ้อาหาร เป็นต้น
การทดสอบเหล่านี้ยังสามารถดำเนินการเพื่อดูว่าคุณแพ้หรืออ่อนไหวต่อสิ่งเร้าจากที่ทำงานหรือไม่ (หอบหืดจากการประกอบอาชีพ)
การรักษาโรคหอบหืด
ยาสูดบรรเทาอาการ
ยาสูดบรรเทาอาการ (มักเป็นสีน้ำเงิน) สามารถบรรเทาอาการของโรคหอบหืดได้อย่างรวดเร็ว ตัวยาสูดมักจะประกอบด้วยยาที่เรียกว่า short-acting beta2-agonist ที่สามารถออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อที่ทำให้หลอดลมตีบลง ทำให้หลอดลมขยายออกจนทำให้หายใจได้สะดวกขึ้นอีกครั้ง
ยาสูดบรรเทาอาการหอบหืดไม่สามารถลดการอักเสบของหลอดลมได้ ดังนั้นยาตัวนี้จึงไม่ได้ทำให้โรคหอบหืดหายไปในระยะยาว กล่าวได้แค่ว่าเป็นยาที่มีไว้ลดความรุนแรงของอาการลงเท่านั้น
ตัวอย่างยาที่ใช้บรรเทาอาการของโรคหอบหืดมีทั้งยาซัลบูทามอลกับเทอร์บูทาลิน (salbutamol กับ terbutaline) ยาเหล่านี้มักจะเป็นยาปลอดภัยที่มีผลข้างเคียงไม่กี่อย่างนอกจากว่าจะใช้มากเกินไป
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเกิดได้ยากมาก และหากจำเป็นคุณควรใช้ยาเหล่านี้สองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น
ผู้ป่วยหอบหืดทุกรายควรจะมียาบรรเทาอาการติดตัวไว้
ยาสูดป้องกันอาการ
ยาสูดป้องกัน (มักเป็นสีน้ำตาล แดง หรือส้ม) มีฤทธิ์ลดปริมาณการอักเสบและความอ่อนไหวของหลอดลมลง และช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอาการของโรคหอบหืดขึ้น
ยาเหล่านี้ถูกกำหนดให้ใช้ทุกวัน (มักเป็นสองหรือหนึ่งครั้งต่อวัน) และออกฤทธิ์ควบคุมอาการของหอบหืดได้อย่างไม่แน่นอน
คุณจำต้องใช้ยาสูดป้องกันอาการหอบทุกวันเป็นเวลาต่อเนื่องสักระยะก่อนที่คุณจะสังเกตเห็นประโยชน์ของยาชนิดนี้ คุณอาจยังคงต้องใช้ยาสูดบรรเทาอาการสีน้ำเงินไปก่อนบ้าง ซึ่งแพทย์จะเป็นคนตรวจสอบว่าคุณควรใช้ยาเหล่านี้บ่อยขนาดไหนอีกที
ยาสูดป้องกันมักประกอบด้วยยาที่เรียกว่าคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดพ่น ตัวอย่างยาประเภทนี้คือยาเบโคลเมทาโซล บูเดโซไนด์ ฟลูทิคาโซน ไซเซลโซไนด์ และโมเมทาโซน (beclometasone, budesonide, fluticasone, ciclesonide และ mometasone)
การรักษาด้วยยาสูดควรต้องดำเนินการเป็นประจำหากว่าคุณมีอาการหอบหืดบ่อยครั้ง และจำต้องใช้หากคุณมีความรู้สึกอยากจะใช้ยาสูดบรรเทาอาการมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์
ยาสูดคอร์ติโคสเตียรอยด์บางตัวสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากและลำคอชนิดไม่รุนแรงได้ ดังนั้นคุณต้องบ้วนปากให้สะอาดหลังการใช้ยาชนิดนี้ทุกครั้ง ซึ่งการใช้อุปกรณ์ spacer สามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้
การรักษาโรคหอบหืดอื่น ๆ และการบำบัดเพิ่มเติม
ยาสูดบรรเทาอาการชนิดออกฤทธิ์ยาว
หากหอบหืดของคุณไม่ตอบสนองต่อการรักษาแรก แพทย์จะแนะนำให้คุณเพิ่มขนาดยาสูดป้องกันอาการ
หากขนาดยาใหม่ที่กำหนดยังไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหอบหืดได้ คุณจะได้รับยาสูดที่ประกอบด้วยยาที่เรียกว่า long-acting bronchodilator/long-acting beta2-agonist หรือ LABA มาใช้ร่วมกับยาตัวแรก
ยาเหล่านี้จะทำงานเหมือนกับยาบรรเทาชนิดออกฤทธิ์สั้น แต่อาจจะใช้เวลาออกฤทธิ์นานกว่า ผลของยาสามารถคงอยู่ได้นานกว่า 12 ชั่วโมง หมายความว่าหากคุณใช้ยานี้วันละสองครั้งต่อวัน ยาจะออกฤทธิ์ครอบคลุมนานถึง 24 ชั่วโมง
การใช้ยาบรรเทาอาการออกฤทธิ์ยาวเป็นประจำจะช่วยลดขนาดยาป้องกันโรคหอบหืดลง ยกตัวอย่างยากลุ่มยาบรรเทาอาการออกฤทธิ์ยาวเช่นยาฟอร์โมเทโรล กับซาลเมเทโรล (formoterol และ salmeterol) และเมื่อไม่นานมานี้ก็มียาวิลานเทโรล (vilanterol) ที่สามารถออกฤทธิ์ได้นานกว่า 24 ชั่วโมงออกมาใหม่
แต่เช่นเดียวกับยาบรรเทาระยะสั้น ยาบรรเทาอาการออกฤทธิ์ยาวจะไม่ช่วยลดการอักเสบของหลอดลมได้ หากใช้ยาตัวนี้เดี่ยว ๆ (ไม่ได้ใช้ร่วมกับยาป้องกัน) จะทำให้อาการของโรคทรุดลงจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหอบหืดกะทันหัน และอาจรุนแรงจนถึงชีวิตได้
ด้วยเหตุนี้เองทำให้ยาบรรเทาอาการออกฤทธิ์ยาวถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาสูด “ผสม” ซึ่งประกอบทั้งยาสูดสเตียรอยด์ (เป็นตัวป้องกัน) และ long-acting bronchodilator ในตัวเดียวกัน
ตัวอย่างของยาสูดผสมมีทั้งเซเรไทด์ ซิมบิคอร์ท ฟอสเทียร์ ฟลูทิโฟม และเรลวาร์ (Seretide, Symbicort, Fostair , Flutiform และ Relvar) ซึ่งอาจจะเป็นยาสีม่วง แดง ขาว หรือน้ำตาลออกแดง (ไม่เสมอไป)
ยาป้องกันอื่น ๆ
หากการรักษาที่เป็นการผสมกันของยาป้องกันและยาบรรเทาออกฤทธิ์ยาวยังไม่ได้ผลในการควบคุมอาการของโรคหอบหืด จะมีการใช้ยาเพิ่มเติมในการรักษาสองทางเลือกดังนี้:
leukotriene receptor antagonist: ยาเม็ด (ยาทาน) ที่ใช้ปิดกั้นปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดอาการบวมของหลอดลม
theophyllines: ยาเม็ดที่ช่วยขยายหลอดลมด้วยการคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลม และยังเป็นยาต้านการอักเสบแบบอ่อนเช่นกัน
ยาสเตียรอยด์แบบทาน
หากไม่สามารถควบคุมอาการของหอบหืดได้ แพทย์จะจ่ายยาเม็ดสเตียรอยด์มาให้แก่คุณ การรักษานี้ต้องถูกสอดส่องโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจไปตลอด
ยาสเตียรอยด์ชนิดทานเป็นยาป้องกันการอักเสบที่แรงมาก และมักจะใช้สองวิธี:
เพื่อควบคุมอาการของโรคหอบหืดเมื่อมีอาการเป็นครั้งคราว: ยกตัวอย่างเช่นมีอาการในช่วงที่เว้นการใช้ยาตามกำหนด หรือเกิดการติดเชื้อในอกโดยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ในกรณีเช่นนี้ ยาที่ใช้มักใช้นานหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก่อนจะหยุดลง
เมื่อการควบคุมอาการระยะยาวยังคงมีปัญหาอยู่แม้จะใช้ยาสูดหรือยาอื่น ๆ ในขนาดยาที่สูงที่สุดแล้ว: ในกรณีนี้จะมีการใช้ยาสเตียรอยด์แบบทานในระยะเวลานานขึ้น และอาจจะไม่มีกำหนดหยุดยา โดยคงการใช้ยาสูดในขนาดที่สูงที่สุดอยู่เพื่อเพิ่มโอกาสหยุดการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทานในอนาคต
การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทานระยะยาวจะทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ทำให้ยานี้กลายเป็นตัวเลือกการรักษาสุดท้ายเมื่อการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล และต้องมีการอภิปรายความเสี่ยงกับผลที่จะได้รับกับผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นในทีมรักษาเสียก่อน
Omalizumab (Xolair) Omalizumab หรือยา Xolair เป็นยากลุ่มใหม่ที่ผูกเข้ากับโปรตีนหนึ่งชนิดที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของภูมิต้านทานและลดระดับในเลือดลง ซึ่งช่วยลดโอกาสการเกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดกำเริบขึ้น
ยานี้ถูกจดทะเบียนว่าใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่าสองปีที่เป็นโรคหอบหืด
ทางสถาบันเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการดูแล (NICE) แนะนำว่ายา Omalizumab สามารถใช้กับผู้ที่เป็นหอบหืดที่เกี่ยวพันกับภูมิแพ้ที่ต้องรับการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบทานต่อเนื่องหรือใช้บ่อย ๆ ได้
Omalizumab เป็นยาฉีดที่ต้องใช้ทุก ๆ สองถึงสี่สัปดาห์ ยานี้ควรถูกจัดจ่ายจากศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น หากยาOmalizumab ยังไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหอบหืดได้ภายใน 16 สัปดาห์การรักษาด้วยยาตัวนี้จะยุติลง
การจี้หลอดลมด้วยความร้อน
การจี้หลอดลมด้วยความร้อน (Bronchial thermoplasty) เป็นกระบวนการรักษาโรคหอบหืดรุนแรงที่ค่อนข้างใหม่ กระบวนการนี้จะเข้าไปทำลายกล้ามเนื้อบางส่วนรอบหลอดลมภายในปอด ซึ่งช่วยลดความสามารถในการตีบของกล้ามเนื้อลง
กระบวนการนี้ต้องดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบหรือยากล่อมประสาทกับคนไข้เสียก่อน และจะมีการใช้bronchoscope (ท่อยืดหยุ่นขนาดเล็กและยาว) สอดผ่านช่องปากหรือจมูกเข้าในปอดเพื่อให้ปลายสัมผัสกับหลอดลม
ปลายของท่อจะมีเครื่องมือเฉพาะขนาดเล็กติดอยู่ ซึ่งสามารถปล่อยความร้อนออกไปทำลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมได้ กระบวนการนี้มีการรักษาสามครั้งด้วยกัน แต่ละครั้งจะมีระยะห่างกันอย่างน้อยสามสัปดาห์
มีหลักฐานว่ากระบวนการนี้ช่วยลดการเกิดหอบหืดกำเริบและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดรุนแรงได้จริง กระนั้นรายงานด้านความเสี่ยงกับผลประโยชน์ระยะยาวยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอีกด้วย
คุณควรทำความเข้าใจกระบวนการนี้ให้ถ่องแท้กับแพทย์ผู้ดูแลก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษานี้
ผลข้างเคียงของการรักษา
ผลข้างเคียงของยาบรรเทาและยาป้องกันหอบหืด
ยาบรรเทาเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมาก ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงน้อยมากตราบใดที่คุณไม่ใช้ยานี้มากเกินไป ผลข้างเคียงหลักคือทำให้เกิดอาการมือสั่น ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย โดยผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาสูดบรรเทาในปริมาณที่สูงและมักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
ยาป้องกันจะมีความปลอดภัยมากเมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำไว้ กระนั้นยากลุ่มนี้ก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายประการหากใช้ยาขนาดสูง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้ในระยะยาว
ผลข้างเคียงหลักของยาสูดป้องกันคือภาวะติดเชื้อราในปากหรือลำคอ คุณอาจมีอาการเสียงแหบและเจ็บคอร่วมด้วย
การใช้ spacer จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงเหล่านี้ได้เช่นเดียวกับการบ้วนปากหรือทำความสะอาดฟันหลังการใช้ยาสูดป้องกันหอบหืด
แพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลสามารถให้คำปรึกษาเพื่อปรับสมดุลการควบคุมอาการของโรคหอบหืดให้มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงน้อยที่สุดได้
ผลข้างเคียงของการรักษาเพิ่มเติม
การใช้ยาบรรเทาออกฤทธิ์นานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคล้ายกับยาบรรเทาอาการระยะสั้น คุณควรสังเกตอาการของตนเองตั้งแต่ช่วยเริ่มการรักษาและหลังจากนั้นเป็นประจำ หากคุณพบว่าการใช้ยาบรรเทาออกฤทธิ์นานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ให้หยุดการรักษานี้ในทันที
ยาเม็ด Theophylline ก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ใช้บางราย ซึ่งมีทั้งอาการคลื่นไส้ อาเจียน และหัวใจเต้นแรงจนสังเกตได้ ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเลี่ยงได้ด้วยการปรับขนาดยาที่ใช้ให้เป็นไปตามความเข้มข้นของ Theophylline ในเลือด
ผลข้างเคียงของ leukotriene receptor agonists มีทั้งปวดท้อง และปวดศีรษะ
ผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์ชนิดทาน
ยาสเตียรอยด์ชนิดทานจะก่อความเสี่ยงหากใช้ยานานกว่าสามเดือน หรือใช้ยาบ่อยเกินไป (มากกว่าสามหรือสี่คอร์สต่อปี) ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้มีดังนี้: กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ต้อกระจกและต้อหิน ผิวบาง ฟกช้ำง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อย เว้นแต่ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นที่ผู้ใช้ยาแทบทุกคนจะประสบเจอ
อย่างไรก็ตามคุณก็ควรสอดส่องอาการของตนเองเป็นประจำ โดยเฉพาะผลข้างเคียงที่อาจสังเกตไม่ได้ทันที เช่นความดันโลหิตสูง กระดูกบาง เบาหวาน หรือต้อหิน ทำให้คุณควรต้องเข้าตรวจร่างกายกับแพทย์บ่อยขึ้น
หอบหืดเฉียบพลัน
แผนการรับมือหอบหืดส่วนบุคคล ( personal asthma action plan) จะช่วยให้คุณจดจำอาการแรกเริ่มของการเกิดหอบหืดเฉียบพลันได้ ทำให้คุณสามารถรู้ว่าควรรับมือกับอาการอย่างไร และควรไปพบแพทย์หรือไม่
กรณีส่วนมากจะเป็นการรับมือจัดการดังนี้:
พ่นยาสูดบรรเทาอาการ (มักเป็นสีน้ำเงิน) สองครั้งทันที
นั่งลงและพยายามหายใจช้า ๆ อย่างคงที่
หากคุณยังรู้สึกไม่ดีขึ้น ให้ใช้ยาสูดบรรเทาอาการอีกสองครั้ง (หนึ่งครั้งทุก ๆ สองนาที โดยคุณสามารถพ่นได้สูงสุด 10 ครั้ง) หากคุณใช้ spacer จะทำให้คุณใช้ยานี้ได้ง่ายขึ้น
หากคุณยังรู้สึกไม่ดีขึ้นหลังการพ่นยาไปแล้วและเริ่มเป็นกังวล ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
หากรถพยาบาลไม่มาภายใน 10 นาทีและคุณยังคงรู้สึกไม่ดี ให้ทำขั้นตอนที่สามซ้ำอีกครั้ง
หากอาการของคุณดีขึ้น และไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์อีกแล้ว คุณก็ควรต้องไปพบแพทย์หรือพยาบาลโรคหอบหืดภายใน 24 ชั่วโมงอยู่ดี
หากคุณกำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล คุณจะได้ทั้งออกซิเจน ยาบรรเทา และยาป้องกันเพื่อควบคุมอาการหอบหืดไว้
จะมีการตรวจสอบแผนรับมือหอบหืดของคุณอีกครั้งหลังประสบกับภาวะหอบหืดเฉียบพลันเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเพื่อให้คุณสามารถเลี่ยงการเกิดปัญหานี้อีกในอนาคต
แผนรับมือหอบหืดส่วนบุคคล
แพทย์แนะนำให้คุณร่างแผนการรับมืออาการหอบหืดส่วนตัวออกมาเพื่อใช้ประกอบการประเมินขั้นต้น
หากคุณต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเนื่องจากประสบกับภาวะหอบหืดเฉียบพลัน คุณควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้จัดทำแผนรับมือโรคหอบหืดก่อนกลับบ้าน (หรือเป็นโอกาสตรวจทานแผนรับมือที่มีอยู่ก่อนแล้ว)
แผนรับมือควรมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้กับโรคหอบหืดของคุณ และช่วยให้คุณจดจำขั้นตอนการรับมือกับอาการของโรคที่ทรุดลง อีกทั้งคุณควรจะจดข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถทำเมื่อมีอาการของหอบหืดเฉียบพลัน
แผนรับมือหอบหืดส่วนตัวของคุณจะถูกตรวจสอบโดยแพทย์หรือพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี หรืออาจจะบ่อยกว่านั้นหากคุณประสบกับอาการทรุดลงหลายครั้ง
คุณอาจจะได้รับ peak flow meter พร้อมกับแผนรับมือหอบหืด ซึ่งเป็นอีกตัวช่วยในการสอดส่องอาการของโรคหอบหืดแทนการสังเกตอาการ ดังนั้นคุณจะสามารถตรวจพบภาวะหอบหืดได้เร็วขึ้น และทำให้สามารถดำเนินการรับมือการอาการได้ดีกว่า
การดูแลหอบหืดที่ดีเป็นอย่างไร?
แพทย์หรือพยาบาลจะจัดเตรียมแผนการรักษาหอบหืดให้ตรงกับอาการของคุณ บางครั้งคุณอาจต้องใช้ยาในระดับที่สูงกว่าผู้ป่วยอื่นก็ได้ โดยคุณจะยังได้รับการดูแลดังนี้: การดูแลจากแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกับโรคหอบหืด ข้อมูลโดยรวมของภาวะและวิธีควบคุมโรคของคุณ การมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาของคุณ การตรวจสอบภาวะหอบหืดว่าอยู่ภายใต้การควบคุมดีหรือไม่ และการรักษาที่ดำเนินการนั้นเหมาะสมหรือไม่ (ควรเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี) แผนการรับมือหอบหืดตามที่ตกลงกับแพทย์และพยาบาล
แพทย์หรือเภสัชกรควรสอนวิธีการใช้ยาสูดที่ถูกต้องแก่คุณ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดที่สำคัญมาก
โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ
หากแพทย์คาดว่าคุณป่วยเป็นโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ คุณจะถูกส่งตัวไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบหายใจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยอีกครั้ง
คุณควรแจ้งผู้ว่าจ้างถ้ามีบริการสำหรับลูกจ้างที่เป็นโรคหอบหืดจากการงาน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพและความปลอดภัยของที่ทำงาน
ผู้ว่าจ้างมีความรับผิดชอบที่ต้องปกป้องลูกจ้างจากสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดขึ้น โดยหากจำเป็นอาจต้องทำการสับเปลี่ยนหรือกำจัดต้นตอที่ทำให้เกิดโรคออกไปจากสถานที่ทำงานของคุณ ต้องทำการตรวจสอบแผนการและบทบาทภายในองค์กรใหม่ หรือจัดให้มีอุปกรณ์เพื่อป้องกันการหายใจ
การบำบัดรักษาทางเลือก
มีการบำบัดรักษาโรคหอบหืดทางเลือกมากมาย ดังนี้: การออกกำลังการหายใจ ยาสมุนไพรจีน การกดจุด ไอโอไนเซอร์: อุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าที่โมเลกุลของอากาศ การบำบัดด้วยมือ: เช่นไคโนแพคทิก การสะกดจิต การรักษากระตุ้นภูมิคุ้มกัน (homoeopathy) การทานอาหารเสริมโภชนาการ
กระนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานว่าวิธีการรักษาข้างต้นได้ผลจริง (ยกเว้นการออกกำลังการหายใจ)
อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าการออกกำลังการหายใจสามารถช่วยบรรเทาอาการและลดความจำเป็นในการใช้ยาสูดบรรเทาอาการได้จริง ๆ สำหรับผู้ป่วยบางราย การออกกำลังประเภทนี้รวมไปถึงการออกกำลังตามที่นักกายภาพบำบัดฝึกสอน โยคะ และการหายใจแบบ Buteyko (เทคนิคควบคุมการหายใจอย่างช้า ๆ )
การใช้ชีวิตร่วมกับโรคหอบหืด
ชีวิตประจำวัน
หากคุณได้รับการรักษาและการจัดการอาการอย่างถูกต้อง โรคหอบหืดจะไม่มารบกวนกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ (รวมไปถึงการนอนหลับเช่นกัน) ดังนั้นคุณควรให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลด้านสุขภาพทุกคนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้
การนอนหลับ
อาการต่าง ๆ ของโรคหอบหืดมักจะทรุดในช่วงกลางคืน หมายความว่าอาการอาจทำให้คุณสะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึกในบางวัน เช่นอาการไอ หรืออาการแน่นหน้าอก เป็นต้น
หากลูกของคุณป่วยเป็นหอบหืดจะทำให้การนอนหลับของพวกเขาไม่ดี และส่งผลต่อสมาธิและพฤติกรรมของพวกเขา รวมไปถึงความสามารถในการเรียนรู้อีกด้วย
การควบคุมโรคหอบหืดที่มีประสิทธิภาพที่แพทย์และพยาบาลแนะนำจะช่วยบรรเทาอาการของโรค และทำให้คุณและลูกของคุณนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
การออกกำลังกาย
ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอาการของโรคกำเริบระหว่างการออกกำลังกายเท่านั้น อย่างไรก็ตามนี่อาจเป็นเพียงสัญญาณที่บอกว่าภาวะหอบหืดนั้นสามารถควบคุมได้
หากคุณหรือลูกของคุณมีอาการหอบหืดระหว่างหรือหลังการออกกำลังกาย ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเพื่อให้พวกเขาตรวจสอบอาการโดยรวมและแผนรับมือหอบหืดส่วนบุคคลเพื่อจัดการควบคุมอาการของโรค
แพทย์และแพทย์ยังแนะนำว่า: ควรชี้แจงผู้ดูแลการออกกำลังกายหรือผู้ร่วมออกกำลังว่าคุณเป็นโรคหอบหืด ควรค่อย ๆ เพิ่มระดับการใช้พละกำลังของตนเองอย่างช้า ๆ ควรพกยาสูดบรรเทาอาการ (สีน้ำเงิน) ไว้กับตัวขณะที่ออกกำลังกาย ใช้ยาสูดบรรเทาอาการก่อนวอร์มร่างกายทันที พยายามวอร์มร่างกายทุกส่วนอย่างพอดี หากคุณมีอาการในขณะที่ออกกำลังกาย ให้หยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ทันที ใช้ยาสูดบรรเทาอาการ และรอจนกว่าคุณรู้สึกดีขึ้นก่อนเริ่มออกกำลังกายต่อ
อาหาร
ผู้ป่วยโรคหอบหืดส่วนมากสามารถทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้เหมือนปกติ ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดจากภาวะภูมิแพ้อาหารบางประเภทที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการของโรค เช่นนม ไข่ ปลา หอย ขนมปัง ถั่ว และอาหารแต่งกลิ่นกับอาหารดอง กระนั้นภาวะนี้ก็ยังเกิดขึ้นจากอาหารได้ไม่บ่อยนัก
เสาะหาตัวกระตุ้นของคุณ
สิ่งสำคัญคือการระบุถึงตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคหอบหืดสำหรับกรณีของคุณให้ได้ด้วยการจดบรรทุกว่าอาการที่ทรุดลงนั้นเป็นเพราะเหตุการณ์อะไร หรือใช้ peak flow meter ระหว่างที่คุณสัมผัสกับสถานการณ์ต้องสงสัย
ตัวกระตุ้นบางสิ่ง อย่างมลพิษในอากาศ การเจ็บป่วย และสภาพอากาศอาจทำการเลี่ยงได้ยาก แต่สำหรับตัวกระตุ้นอย่างไรฝุ่น สปอร์ ขนสัตว์ และยาบางประเภทอาจทำการเลี่ยงได้ง่ายกว่า
คุณต้องแจ้งทีมรักษาเกี่ยวกับการเสาะหาสิ่งเร้าที่คุณพบ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหอบหืด
คุณภาพชีวิต
โรคหอบหืดที่ไม่ได้รับการควบคุมจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของคุณอย่างมาก ภาวะนี้ทำให้เกิด: ความเหน็ดเหนื่อยรุนแรง การขาดงานหรือการลาเรียนบ่อยครั้ง ปัญหาด้านจิตเวช เช่นความเครียด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การใช้ชีวิตถูกจัดจังหวะด้วยการต้องเข้าพบแพทย์กะทันหัน สำหรับเด็ก พัฒนาการเติบโตของร่างกายและวัยล่าช้า
เด็กอาจรู้สึกแตกต่างจากเพื่อนที่โรงเรียนหากว่าพวกเขาต้องขาดกิจกรรมต่าง ๆ บ่อยครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนด้านระบบทางเดินหายใจ
กรณีหายาก โรคหอบหืดสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ระบบหายใจได้ เช่น: ปอดบวม ปอดล้มเหลวบางส่วนหรือทั้งหมด ระบบหายใจล้มเหลว: ที่ซึ่งระดับออกซิเจนในเลือดตกลงอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย หรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงจนอันตราย หอบหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนข้างต้นต่างก็เป็นอันตรายถึงชีวิต และต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที
เสียชีวิต
แม้ว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดส่วนมากสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดี แต่โรคหอบหืดก็ยังนับว่าเป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตอยู่ดี
บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดเสียชีวิตที่บ้านของพวกเขาเนื่องจากพวกเขาไม่ได้สังเกตว่าภาวะนี้ทรุดลง หรือปล่อยให้เกิดอาการโดยไม่ทำการจัดการนานเกินไป
เหตุการณ์เช่นนี้สามารถเลี่ยงได้ง่าย ๆ ด้วยการจดจำสัญญาณการทรุดลงของโรคและขั้นตอนการรับมือ คุณต้องจัดการกับภาวะนี้ทันที ห้ามเพิกเฉยต่อภาวะหอบหืดเป็นอันขาด
หอบหืดและการตั้งครรภ์
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์หลายคนสังเกตเห็นว่าอาการหอบหืดของพวกเธอเปลี่ยนไป บ้างพบว่าโรคนี้ดีขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ บ้างก็รู้สึกว่าหอบหืดทรุดลงกว่าเดิม และบ้างก็ไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
กรณีที่มีอาการหอบหืดรุนแรงระหว่างการตั้งครรภ์มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีอายุครรภ์ 24 และ 36 สัปดาห์ จากนั้นอาการต่าง ๆ จะลดระดับความรุนแรงลงอย่างมากระหว่างช่วงเดือนสุดท้าย
มีผู้หญิงมีครรภ์เพียง 10% เท่านั้นที่ประสบกับอาการหอบหืดระหว่างการคลอดบุตร และอาการเหล่านี้ก็สามารถควบคุมได้ตามปรกติด้วยยาบรรเทาทั่วไป
สิ่งสำคัญคือการควบคุมอาการของโรคให้ดีไปตลอดการตั้งครรภ์ เพราะโรคหอบหืดที่ไม่ได้ดูแลควบคุมนั้นสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่นภาวะครรภ์เป็นพิษ (pre-eclampsia) การคลอดก่อนกำหนด และไปจำกัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อีกทั้งการควบคุมหอบหืดที่ดีจะสามารถลดโอกาสที่จะประสบกับปัญหาระหว่างการคลอดได้
คุณควรรับมือกับโรคหอบหืดด้วยวิธีเดียวกับที่ดำเนินการก่อนตั้งครรภ์ ยาที่ใช้สำหรับหอบหืด โดยเฉพาะยาสูดมีความปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างการตั้งครรภ์หรือแม้แต่ช่วงให้น้ำนมบุตร
มีข้อยกเว้นอยู่หนึ่งอย่างคือ leukotriene receptor antagonists ที่แม้จะไม่มีอันตรายใด ๆ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยากลุ่มนี้ระหว่างการตั้งครรภ์จะส่งผลอย่างไรกับแม่และเด็ก
อย่างไรก็ตามหากคุณจำต้องใช้ leukotriene receptor antagonists ในการควบคุมหอบหืด คุณอาจตัดสินใจ (ร่วมกับแพทย์ผู้ดูแลโรคหอบหืดกับแพทย์ผดุงครรภ์) ใช้ยานี้ต่อไปก็ได้ หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าความเสี่ยงที่คุณและลูกของคุณจะประสบกับโรคหอบหืดที่ไม่ได้รับการควบคุมร้ายแรงกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาตัวนี้
หอบหืดที่โรงเรียน
เด็กส่วนมากที่ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีจะสามารถเข้าเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนได้โดยปราศจากความติดขัดใด ๆ
อย่างไรก็ตามคุณควรแจ้งให้โรงเรียนคอยติดตามข้อมูลการใช้ยาจัดการกับโรคหอบหืด ซึ่งรวมไปถึงปริมาณยาที่ใช้ และเวลาที่ต้องใช้ยาของพวกเขา
คุณควรจัดเตรียมยาสูดสำรองสำหรับลูกของคุณเผื่อกรณีที่พวกเขามีอาการระหว่างที่อยู่โรงเรียน
บุคลากรที่โรงเรียนควรสังเกตเห็นว่าอาการหอบหืดของพวกเขาทรุดลงหรือไม่ และทราบดีว่าควรปฏิบัติช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร โดยเฉพาะบุคลากรที่ดูแลด้านกิจกรรมทางร่างกายหรือกีฬา
โรงเรียนแต่ละแห่งควรมีนโยบายสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด ซึ่งคุณควรสอบถามกับทางโรงเรียนหากมีข้อสงสัยใด ๆ