ภาวะช็อกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (septic shock)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะช็อกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (septic shock)

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตต่ำ ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญๆ ไม่เพียงพอ เช่น สมอง ตับ ไต ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้อวัยวะทำงานล้มเหลวและถึงแก่ชีวิตได้

บทนำ

ภาวะช็อกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเรียกว่า ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (septic shock) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตต่ำลงในระดับที่เป็นอันตรายภายหลังการติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แบคทีเรียชนิดใดๆ ก็สามารถเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ เชื้อรา เช่น แคนดิดา (candida) และเชื้อไวรัส ก็สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า

ตอนเริ่มต้นที่มีการติดเชื้อในร่างกาย สามารถนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย หนาวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และหายใจเร็ว

หากไม่ได้รับการรักษา สารพิษ (toxins) ที่ผลิตโดยเชื้อแบคทีเรียจะไปทำให้เส้นเลือดขนาดเล็กได้รับความเสียหาย ทำให้น้ำในหลอดเลือดรั่วไหลออกมาสู่เนื้อเยื่อรอบๆ

ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง และนั่นหมายความว่า เลือดจะไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น สมองและตับ

ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่าคนทั่วไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งได้แก่

อาการของภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (septic shock)

อาการของภาวะนี้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะขณะลุกขึ้นยืน
  • มีการเปลี่ยนแปลงสติสัมปชัญญะ เช่น สับสน มึนงง
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ตัวเย็น ผิวหนังชื้น ผิวหนังสีซีด

ภาวะช็อกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดภาวะนี้ขึ้น ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลที่สายด่วน 1669 ทันที หากคุณคิดว่าตัวคุณหรือผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของคุณกำลังมีภาวะช็อกนี้

การรักษา

โดยทั่วไปคุณจะได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในห้องไอซียู (หอผู้ป่วยวิกฤต) เนื่องจากต้องรักษาการติดเชื้อไปพร้อมกับการดูแลสนับสนุนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายไปพร้อมๆ กัน ในบางกรณีการรักษาอาจต้องเริ่มที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลก่อนส่งไปรักษาต่อที่ห้องไอซียู

การรักษาอาจประกอบไปด้วย:

  • การให้ออกซิเจน
  • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  • การให้ยาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การให้ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ)
  • การผ่าตัด (ในผู้ป่วยบางราย)

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะนี้

โอกาสของการรอดชีวิตจากภาวะช็อกนี้จะขึ้นอยู่กับ:

  • สาเหตุของการติดเชื้อ
  • จำนวนอวัยวะที่ล้มเหลวจากภาวะนี้
  • เริ่มต้นการรักษาเร็วเพียงใด

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะช็อกนี้ได้แก่:

  • ระบบหายใจล้มเหลว คือ ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้อย่างที่ควรจะเป็น
  • หัวใจล้มเหลว คือ หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • ไตวาย หรือไตได้รับความเสียหาย
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรีบรักษาทันที เพราะสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาภาวะช็อกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด คือภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน

ผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าวจะมีแนวโน้มสูงที่ต้องรักษาตัวในห้องไอซียูของโรงพยาบาลเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วนและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และในบางกรณีผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาตั้งแต่อยู่ในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล

การให้ออกซิเจน

เพื่อช่วยให้คุณสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น คุณจะได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากากครอบ (face mask) หรือผ่านทางท่อสอดทางรูจมูก หรือได้รับผ่านท่อช่วยหายใจ ซึ่งจะใส่เข้าทางปากของคุณ หากคุณมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบากอย่างรุนแรง คุณอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การเพิ่มการไหลเวียนเลือด

คุณจะได้รับสารน้ำโดยตรงทางหลอดเลือดดำ ทำให้มีปริมาณน้ำในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับความดันโลหิตให้กับคุณ

ในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่อวัยวะสำคัญๆ ของร่างกาย เช่น สมอง, ตับ, ไต และหัวใจ คุณอาจได้รับการสั่งยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ  (inotropic medicines) หรือยาหดหลอดเลือด (vasopressors)

ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ  (inotropic medicines)

ยาในกลุ่มนี้ เช่น โดบูทามีน (dobutamine) ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ เพื่อนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย

ยาหดหลอดเลือด (vasopressors)

ยาหดหลอดเลือด ได้แก่

ยาเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิต และการไหลเวียนเลือดไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อวัยวะสำคัญๆ ทำงานได้อย่างเหมาะสม

ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ)

ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย การเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะจะเลือกจากชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ผู้ป่วยกำลังติดเชื้ออยู่ และร่วมกับพิจารณาถึงบริเวณเริ่มต้นของร่างกายที่มีการติดเชื้อ

คุณอาจได้รับยาปฏิชีวนะทันที เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต โดยในช่วงแรกแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ 2 หรือ 3 ชนิดให้กับคุณ หากสามารถตรวจพบได้ว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดใดคือสาเหตุของการติดเชื้อในครั้งนี้ แพทย์จะปรับลดยาปฏิชีวนะลงอาจจะเหลือเพียง 1 ชนิด ที่จำเพาะกับเชื้อที่ผู้ป่วยติดอยู่

การผ่าตัด

ในผู้ที่มีอาการรุนแรงของการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จะทำให้ความดันโลหิตต่ำลงอย่างมาก และเลือดจะไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลงมาก ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ตายได้ หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น อาจจำเป็นต้องผ่าตัดนำเอาเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกจากร่างกาย

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/septic-shock#introduction

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/septic-shock#treatment


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Septic shock: Prevention, treatment, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/311549)
Sepsis and septic shock. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5538252/)
Septic Shock: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/septic-shock)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)