ยาคลายกล้ามเนื้อ

แม้จะหาซื้อง่าย แต่ต้องใช้ให้ถูกโรค ถูกอาการ และใช้เท่าที่จำเป็น จึงปลอดภัยและไม่มีโทษ
เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ยาคลายกล้ามเนื้อ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือที่นิยมเรียกกันโดยรวมว่า "ยาคลายกล้ามเนื้อ" ยานี้ประกอบด้วยยา 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่  พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant)
  • ยาพาราเซตามอลสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้แอสไพริน หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ป่วยที่มีโรคในระบบทางเดินอาหารเนื่องจากยาไม่เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่แพ้ยาไอบูโพรเฟน ผู้ป่วยหอบหืด ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโรคไต และผู้หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ยาคลายกล้ามเนื้อจะใช้เป็นยาเสริมร่วมกับการใช้ยาหลัก นิยมใช้ในกรณีเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน หากไม่มีอาการปวดสามารถหยุดยาได้ ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • นอกจากการใช้ยา 3 กลุ่มนี้แล้ว อาจลองรักษาด้วยการประคบอุ่น การยืด เหยียด การทำกายภาพบำบัด การปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกต้องเหมาะสม และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
  • ดูแพ็กเกจทำกายภาพบำบัดได้ที่นี่

ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือที่นิยมเรียกกันโดยรวมว่า "ยาคลายกล้ามเนื้อ" เป็นยาอีกชนิดที่หลายคนคุ้นเคย ไม่ว่าจะปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเข่า  ปวดเมื่อยอะไรมาก็เลือกใช้ยานี้ เช้ามารับรองสบาย หายปวด  

แท้จริงแล้ว พฤติกรรมการใช้ยาเช่นนี้มีอันตรายหลายอย่างและอาจเสี่ยงเป็นโรคไตได้ในอนาคต ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ยากล้ามเนื้อ ลองถามตัวเองดูว่า "เรารู้จักยาคลายกล้ามเนื้อกันดีพอหรือยัง" 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แล้วรู้ไหมว่า "ควรเลือกใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออย่างไรจึงจะถูกโรค  ถูกอาการ  ปลอดภัย และไร้ผลข้างเคียง หรือลดผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด"   

กลุ่มของยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

ยา 3 กลุ่มใหญ่ๆ ที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ได้แก่ พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant) 

แต่ละกลุ่มมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มที่ 1 พาราเซตามอล (Paracetamol) หรืออะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen)

กลไกที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาการปวดคือ มีฤทธิ์อ่อนในการยับยั้งเอนไซม์พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด 

ขนาดรับประทาน: สำหรับบรรเทาอาการปวด 325-650 มิลลิกรัม ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง และห้ามรับประทานเกิน 4000 มิลลิกรัมใน 1 วัน เนื่องจากยามีพิษต่อตับหากรับประทานเกิน หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน 

เหมาะสำหรับ: สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้แอสไพริน หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ป่วยที่มีโรคในระบบทางเดินอาหารเนื่องจากยาไม่เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่เหมาะสำหรับ: ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ยา ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยจากภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (glucoes-6phosphate dehydrogenenase)  ผู้ป่วยโรคไต  ผู้ป่วยโรคตับ ยากลุ่มนี้อยู่ใน category B ตามการจัดแบ่งของ US FDA  ค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง  เนื่องจากคนส่วนมากมักคิดว่ายาไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่การใช้ขนาดยาที่สูงจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้เช่นเดียวกัน

กลุ่มที่ 2 ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)

กลไกที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาอาการอักเสบคือ ยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (cyclooxygenase) โดยเอนไซม์นี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนกรดอะราคิโดนิค (arachidonic acid) เป็นพรอสตาแกลนดิน ที่เป็นสารสื่อกลางตอบสนองการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด 

ยาในกลุ่มนี้ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen

ขนาดรับประทาน: สำหรับยาไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวด คือ 400 ถึง 800 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง แต่ไม่รับประทานเกินวันละ 3,200 มิลลิกรัม และไม่ใช้ยาต่อเนื่องกันเกิน 10 วัน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา: ระคายเคืองกระเพาะอาหารจึงควรรับประทานยาหลังอาหารเพื่อป้องกันผลข้างเคียงดังกล่าว 

ไม่เหมาะสำหรับ: ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่แพ้ยาไอบูโพรเฟน ผู้ป่วยหอบหืด ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโรคไต และผู้หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยากลุ่มนี้อยู่ใน category C ตามการจัดแบ่งของ US FDA ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับการใช้ยาในกรณีตั้งครรภ์ และอยู่ใน category D หากใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สาม หรือใกล้คลอด จึงไม่ควรใช้ยาในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ หรือใกล้คลอด

นอกจากไอบูโพรเฟนจะมีชนิดรับประทานแล้วยังมีในรูปแบบใช้กับผิวหนังด้วย ได้แก่ รูปแบบครีม เจล และรูปแบบสเปรย์ วิธีการใช้คือ ทายาลงไปบริเวณที่มีอาการโดยตรง

ยากลุ่ม NSAID อื่นนอกเหนือจากไอบูโพรเฟนที่นิยมใช้ได้แก่ แอสไพริน (aspirin) ไดโคลฟิแนค (diclofenac) อินโดเมธาซิน (indomethacin) คีโตโปรเฟน (ketoprofen) นาพรอกเซน (naproxen)  

ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่และขนาดใช้สูงสุดต่อวัน

ยาแต่ละตัวมีขนาดสูงสุดและปริมาณที่กินแต่ละครั้งแตกต่างกัน ดังนี้

  • Aspirin ร่างกายสามารถรับได้สูงสุดวันละ 5,000 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 500-1,000 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • Diclofenac ร่างกายสามารถรับได้สูงสุดวันละ 150 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 25-50 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง
  • Indomethacin ร่างกายสามารถรับได้สูงสุดวันละ 100 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 25-50 มิลลิกรัม ทุก 8-12 ชั่วโมง
  • Ketoprofen ร่างกายสามารถรับได้สูงสุดวันละ 300 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 100-200 มิลลิกรัม ทุก 8-12 ชั่วโมง
  • Naproxen ร่างกายสามารถรับได้สูงสุดวันละ 1,250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง

ปัจจุบันนอกเหนือจากยารับประทานแล้วยังมีในกลุ่มยาทา เช่น ยาทาแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพริก 

มีข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการปวด ขนาดใช้คือ ทาบริเวณที่ปวดโดยไม่ต้องถูนวดจำนวน 2-3 ครั้งต่อวัน ซึ่งตัวยาค่อนข้างมีความปลอดภัยมากกว่ายารับประทานเนื่องจากเป็นยาใช้เฉพาะที่ 

เว้นแต่หลังการใช้ยาทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการนำมือที่สัมผัสยามาสัมผัสกับเนื้อเยื่ออื่นที่อาจก่อให้เกิดการแสบร้อน

กลุ่มที่ 3 ยาคลายกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง กล่อมประสาท และมีคุณสมบัติช่วยคลายกล้ามเนื้อ 

คุณสมบัติของยาคลายกล้ามเนื้อ ได้แก่

  • ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลาย
  • บรรเทาอาการปวด
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด

ส่วนมากมักใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในระยะสั้น มีเพียงส่วนน้อยที่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในการรักษาอาการปวดเรื้อรังที่มากกว่า 3 เดือน

ยาคลายกล้ามเนื้อไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาใดกลุ่มยาหนึ่งจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างทางเคมีที่เหมือนกัน หรือมีกลไกในการออกฤทธิ์ที่เหมือนกันในสมอง ยาคลายกล้ามเนื้อใช้สำหรับยาที่มีผลในการกล่อมประสาท

ตัวอย่างยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่มที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่ Chlorzoxazone, Methocarbamol, Orphenadrine, Tolperisone และ Esperisone

ขนาดรับประทานตามเอกสารกำกับยา

  • Chlorzoxazone    รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3-4 ครั้งต่อวัน (และลดขนาดลงเมื่ออาการดีขึ้น)
  • Methocarbamol รับประทานครั้งละ 1.5 กรัม 4 ครั้งต่อวัน (และลดขนาดลงเมื่ออาการดีขึ้น)
  • Orphenadrine     รับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
  • Tolperisone         รับประทานครั้งละ 50-150 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน
  • Esperisone          รับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

ข้อบ่งใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

จะไม่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่มนี้เป็นยาหลักแต่จะใช้เป็นยาเสริมร่วมกับการใช้ยาหลักเท่านั้น

  • ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในกรณีสำหรับอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลันเท่านั้น หากไม่มีอาการปวดสามารถหยุดยาได้ ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อ  
  • ไม่มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในการรักษาอาการปวดแบบเรื้อรัง
  • หากลืมรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ  สามารถรับประทานได้ทันทีที่นึกขึ้นได้โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา
  • ควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคร่วม หรือผู้สูงอายุ
  • ห้ามใช้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับเครื่องดื่มแอลกฮอล์
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ  

ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ

ข้อควรระวังการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร หรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และผู้ทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูง ควรระมัดระวังหากต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพราะอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้

นอกจากยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อในสามกลุ่มนี้แล้ว ผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้ออาจพิจารณายาทางเลือกอื่น เช่น ใช้ยาทาที่มาจากสารสกัดอื่น เช่น เมนทอล วินเทอร์กรีนออยล์ น้ำมันระกำ

รวมทั้งใช้การประคบอุ่น การทำกายภาพบำบัด การยืด เหยียด ให้ถูกวิธี เพื่อช่วยคลายอาการปวดเมื่อย หรือปฏิบัติตามท่าแก้อาการที่ถูกต้อง ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมทั้งพยายามหาต้นเหตุความปวดเมื่อยให้เจอแล้วหาวิธีแก้ไข 

เช่น ปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกต้องเหมาะสม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด หากทำได้อยางนี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้อย่างยั่งยืน โดยอาจไม่ต้องพึ่งพายาคลายกล้ามเนื้อชนิดใดๆ อีกเลย  

ดูแพ็กเกจทำกายภาพบำบัด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sharon See and Regina Ginzburg. St. John's University College of Pharmacy and Allied Health Professions, Jamaica, New York, Choosing a Skeletal Muscle Relaxant (https://www.aafp.org/afp/2008/0801/p365.html), 1 August 2008
Kathee de Falla, Pharm.D., Muscle Relaxants: List of Common Muscle Relaxers (https://www.spine-health.com/treatment/pain-medication/muscle-relaxants), 27 March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)