ลูกไหน ก็คือลูกพรุน เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดน้ำหนักได้ผล

ไม่ว่าจะเป็นลูกไหน ลูกพรุน หรือลูกพลัม ก็ล้วนแต่เป็นผลไม้ชนิดเดียวกันที่อุดมไปด้วยประโยชน์หลากหลายต่อร่างกาย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ลูกไหน ก็คือลูกพรุน เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดน้ำหนักได้ผล

 หากพูดถึง ลูกไหน หลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่ามันเป็นผลไม้ชนิดใดกันแน่ แต่หากพูดถึง “ลูกพรุน” คนส่วนใหญ่จะต้องรู้จักอย่างแน่นอน ความจริงแล้วไม่ว่าจะลูกไหน หรือลูกพรุน ก็ล้วนเป็นผลไม้ชนิดเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มคนรักสุขภาพ เนื่องจากอุดมไปด้วยประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย โดยเฉพาะตัวช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และยังเชื่อว่าเป็นผลไม้ช่วยลดความอ้วน จัดอยู่ในกลุ่มของซุปเปอร์ฟู้ดที่มีรูปร่างและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ทำความรู้จักกับลูกไหน

  • ลูกไหน หรือลูกพรุน จริงๆ ก็คือ "ลูกพลัม (Plum)” ผลไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับลูกท้อ บ๊วย และเชอรี่ ด้วยประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณบำรุงร่างกาย จึงช่วยให้ผลไม้ชนิดนี้กลายเป็นตัวช่วยลดน้ำหนักอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย
  • ลักษณะของลูกไหน เป็นไม้ผลที่ออกผลเป็นเมล็ดเดียว มีความแข็ง จัดอยู่ในสกุลพรุน (Prunus) เป็นไม้ยืนต้นที่ชอบอากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมจึงอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไปเท่านั้น
  • เปลือกด้านนอกจะมีหลายสี เช่น น้ำเงิน เขียว เหลือง แดงเข้ม และดำ เป็นต้น เช่นเดียวกันกับสีเนื้อด้านที่แตกต่างกันออกไปด้วย บางลูกเป็นสีครีม บ้างสีแดงเข้ม บ้างสีม่วง หรือสีเขียวอ่อน เป็นต้น ลักษณะเฉพาะเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่แยกย่อยกันออกไป
  • รสชาติของลูกไหนตอนยังดิบจะมีรสฝาด แต่เมื่อสุกเต็มที่แล้วจะมีรสชาติหวานอร่อย กินสดๆ ได้ หากเปลือกมีสีม่วงดำ และผลนิ่ม ถือว่าอยู่ในช่วงแก่จัดจะมีรสชาติหวานเต็มที่
  • หน่อของต้นจะมีตายอดและตาเพียงข้างเดียว ออกดอกเป็นกลุ่มประมาณ 1-5 ดอกอยู่บนก้านสั้นๆ ที่ยื่นออกมา ผลจะมีร่องยาวอยู่ด้านข้าง เมล็ดด้านในมีผิวเรียบ 

สรุปแล้วลูกไหนก็คือลูกพลัม และเมื่อผลแห้งจะถูกเรียกว่า "ลูกพรุน" ตามชื่อสกุลของผลไม้ชนิดนี้ โดยลูกไหนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ ลูกพลัมที่สามารถกินสดได้ บางครั้งเรียกว่า "ลูกพรุนสด" และลูกพลัมแปรรูป ซึ่งมักจะนำมาทำเป็นน้ำลูกพลัม แยม หรือแช่อิ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางโภชนาการของลูกไหน

ลูกไหน 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

ประโยชน์ของลูกไหนต่อสุขภาพ

สรรพคุณของลูกไหน จะแบ่งตามลักษณะการแปรรูปดังต่อไปนี้

1. ลูกไหนหรือลูกพลัมสด

ลูกไหนที่แก่จัด สามารถนำมารับประทานได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการอื่นๆ ในลูกพลัมสดจะให้ประโยชน์ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลากหลาย เช่น สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่พบได้ในผลไม้สีม่วงหรือสีแดง มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ อีกทั้งยังมีวิตามินซีในปริมาณสูง ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (Collagen) ที่ใต้ชั้นผิว เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก เนื้อเยื่อ ข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีวิตามินเอที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อ และทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

2. ลูกไหนแห้งหรือลูกพรุน

เป็นการนำเอาลูกไหนมาแปรรูปให้แห้ง ซึ่งจะสามารถเก็บไว้ได้นาน แม้จะถูกแปรรูปแล้วแต่ก็ยังมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายไม่แพ้ไปกว่าลูกไหนสด โดยเฉพาะโพแทสเซียม (Potassium) และธาตุเหล็ก ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและการสร้างเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังพบวิตามินเอซึ่งช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ 

จากการศึกษาของ Florida State University พบว่าการบริโภคลูกพรุนวันละ 100 กรัม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ และจากความหวานธรรมชาติของลูกพรุนที่ประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโทส และกลูโคส เป็นหลักทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ยังพบเส้นใยอาหารทั้งชนิดละลายน้ำได้ และไม่ละลายน้ำ ช่วยเข้าไปกระตุ้นระบบขับถ่าย การทำงานของลำไส้ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูก ทดแทนการใช้ยาถ่ายที่มีผลข้างเคียง และแน่นอนว่าลูกพรุนจะให้ผลที่ปลอดภัยกว่าหลายเท่า

ลูกไหนกับทางเลือกของการลดน้ำหนัก

คนส่วนใหญ่เชื่อว่าลูกไหนมีส่วนช่วยลดน้ำหนักมานานแล้ว เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล มีส่วนประกอบของกากใยอาหารในปริมาณสูง เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้รู้สึกอิ่มนาน ลดปริมาณการรับประทานข้าวในแต่ละมื้ออาหาร

ความหวานของลูกพรุนยังถือว่ามีแคลอรี่ที่ไม่มากจนเกินไป หากรับประทานในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะเป็นตัวช่วยสำหรับการลดน้ำหนักที่ดี และยังกระตุ้นระบบขับถ่ายไปในตัว ทำให้น้ำหนักลดลงได้ตามต้องการ

ข้อควรระวังในการกินลูกไหนที่ควรรู้

  1. เนื่องจากลูกไหนที่ถูกแปรรูปให้กลายเป็นลูกพรุนแห้ง หรือน้ำลูกพรุน มักจะมีความเข้มข้นสูง และมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ข้อควรระวังคือการดื่มในแต่ละครั้งไม่ควรดื่มครั้งละมากๆ เพราะอาจเปลี่ยนฤทธิ์จากยาระบายอ่อนๆ ให้กลายเป็นยาถ่ายจนท้องเสียขึ้นมาได้
  2. กรณีคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ถ่ายเหลว มีปัญหาลำไส้ผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการกินลูกพรุน เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อาการรุนแรงมากขึ้น
  3. หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กดื่มน้ำลูกพรุนเข้มข้นอย่างเด็ดขาด นอกจากว่าจะเกิดอาการท้องผูกขึ้นมาจริงๆ เท่านั้น โดยใช้วิธีผสมน้ำลูกพรุนกับน้ำต้มสุกในอัตราส่วน 1:1 และป้อนเพียงแค่ 1 ช้อนชา เพื่อช่วยระบาย (สำหรับเด็กที่มีอายุ 5 เดือนขึ้นไป)
  4. ควรหลีกเลี่ยงการกินลูกพรุนในคนที่เป็นโรคไต เนื่องจากมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ร่างกายไม่สามารถขับออกได้ จะทำให้มีโพแทสเซียมสะสมอยู่ในเลือดส่งผลให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

แม้ว่าลูกไหนจะเป็นผลไม้มากประโยชน์และให้คุณค่าทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ต้องรับประทานให้พอดี ไม่มากจนเกินไป เพราะประโยชน์ก็อาจกลายเป็นโทษต่อร่างกายได้นั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Summer Fanous and Ana Gotter, The Top Health Benefits of Prunes and Prune Juice (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/top-benefits-of-prunes-prune-juice), 1 November 2018
7 Benefits Of Prunes: The Dry Fruit You've Ignored For Too Long (https://food.ndtv.com/health/7-amazing-prunes-benefits-1404766), 23 August 2018
Nicola Shubrook, The health benefits of prunes (https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/health-benefits-prunes), 20 November 2018)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป