กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 ความเข้าใจผิดในการลดน้ำหนัก ที่จะทำให้คุณอ้วนขึ้น!

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 ความเข้าใจผิดในการลดน้ำหนัก ที่จะทำให้คุณอ้วนขึ้น!

 การลดน้ำหนักนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างในการทำให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย แม้กระทั่งการพักผ่อนก็มีส่วนสำคัญต่อการลดน้ำหนักเช่นกัน ในปัจจุบันมีวิธีการลดน้ำหนักมากมายที่เผยแพร่อยู่ในอินเตอร์เน็ต และที่สำคัญนั้นคือเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าวิธีการแบบใดที่จะสามารถทำให้เราลดน้ำหนักได้สำเร็จจริงๆ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่วิธีการที่ถูกหรือผิด แต่อยู่ที่ความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นระหว่างที่เราลดน้ำหนัก ที่หลายๆคนมักจะตกลงไปโดยไม่รู้ตัว แล้วอะไรบ้างที่เป็นหลุมพรางต่อการลดน้ำหนักของคุณ

อาหารรสจัด ช่วยในการลดน้ำหนัก จริงหรือ ?

เป็นเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง การรับประทานทานอาหารรสจัด(เผ็ด)ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่การรับประทานอาหารรสจัดก็สร้างปัญหาให้กับการลดน้ำหนักโดยที่เราไม่รู้ตัว คือ เมื่อเรารับประทานอาหารรสจัดเข้าไป เราจะเผลอทานข้าวเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเวลาที่ทานอาหารอีสาน เรามักจะกินข้าวเหนียวมากขึ้นถ้าเรามีอาการเผ็ด ทำให้การเผลาผลาญที่มากขึ้นนั้นไม่เพียงพอต่อข้าวที่ทานเพิ่มเข้าไป ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการอดอาหาร หรือวิธีการอื่นที่ทำให้เราโหยแป้งจนสุดท้าย เราก็ล้มเหลว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวเลขบนตราชั่งลด = ลดน้ำหนักสำเร็จ ?

บางคนคิดว่าการที่เราพยายามทำทุกอย่าง(ลดน้ำหนัก)นั้น เพื่อทำให้เลขบนตราชั่งที่เราเหยียบนั้นลดลง จนลืมมององค์ประกอบอื่นๆ เช่นสัดส่วน หรือจุดประสงค์ของการลดปริมาณไขมันในร่างกาย การที่เราโฟกัสแต่เพียงตัวเลขบนตราชั่ง มักจะทำให้เราท้อและล้มเลิกก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ลองเปลี่ยนมาโฟกัสที่ความรู้สึกเช่นคล่องแคล่วขึ้นไหม หรือรู้สึกดูดีขึ้นไหม มีกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นไหม อาจจะทำให้คุณอยู่กับการลดน้ำหนักได้นานพอจนถึงเป้าหมาย

5 ความเข้าใจผิดในการลดน้ำหนัก ที่จะทำให้คุณอ้วนขึ้น!

ทำตามวิธีของคนที่เคยลดน้ำหนัก

ไม่มีวิธีการใดเลยที่จะเหมาะกับคนได้ทั้งโลก วิธีการลดน้ำหนักก็เช่นกัน บางคนแค่คุมอาหารก็ลดแล้ว บางคนออกกำลังกายนิดหน่อยก็ลดแล้ว แต่ร่างกายของมนุษย์ที่คนมีความแตกต่างกัน วิธีการกิน หรือออกกำลังกายที่เราอ่านจากอินเตอร์เน็ต หรือตำราต่าง จึงเป็นแค่ทางเลือกที่อาจจะถูก ไม่ใช่สูตรสำเร็จแต่อย่างใด ดังนั้นการทำความเข้าใจกับร่างกาย และวิถีชีวิตของเรา แล้วค่อยๆปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสม จะให้ผลที่ดีกว่าการไปทำตามตำราอย่างเต็มที่แน่นอน เช่นบางท่านทานน้อยอยู่แล้ว แต่กลับอ้วน แสดงว่าร่างกายขาดการออกกำลังกาย หรือเผาผลาญพลังงานน้อย กลับไปลดอาหารอีกนอกจากจะไม่ผอมแล้ว มันก็ทำให้ร่างกายแย่ลงไปอีก

ความตั้งใจสำคัญที่สุดจริงหรือ ?

จริงๆแล้วความตั่งใจถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการลดน้ำหนัก แต่บางครั้งก็กลายเป็นหลุมที่ทำให้เราทำไม่สำเร็จ บางคนลดน้ำหนักจนเครียด สุดท้ายก็ล้มเลิกไป แน่นอนว่าเราควรจะตั้งใจในการลดน้ำหนัก อะไรที่เราทำได้ก็ควรทำ แต่ไม่ใช่ว่าทนทั้งๆที่ไม่มีความสุข สุดท้ายเราก็จะเบื่อจนเลิกไปเสียก่อนที่จะทำได้สำเร็จ อะไรเล็กๆน้อยที่เราทำแล้วมีความสุข เราสามารถทำได้บ้าง (แต่อย่าบ่อย) เช่นการทานของหวานเล็กน้อย เพราะบางคนตั่งใจมากจนถึงขั้นเสพติดกลายเป็นโรคทางจิตก็มีให้เห็น ดังนั้นอย่าให้ความตั่งใจที่ดีของเรามาทำร้ายเรา อย่าลืมนะครับว่าความเครียดก็ทำให้เราไม่สามารถลดน้ำหนักได้เช่นกัน

ลดน้ำหนักถึงเป้าหมาย …ก็พอแล้ว

ความเข้าใจผิดสุดท้าย คือพอแล้ว บางท่านลดน้ำหนักมาจนจะถึงเป้าหมาย หรือถึงแล้ว ก็กลับไปใช่ชีวิตเหมือนเดิม แบบทันที จนสุดท้ายกลับมาอ้วนเหมือนเดิม ดังนั้นเราควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับรักษาสุขภาพ(ไม่ให้อ้วน) และทำจนเป็นกิจวัตรมากกว่า เพราะการลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้เหมาะสมนั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 weight loss myths. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/ten-weight-loss-myths/)
How to gain weight quickly and safely. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321982)
6 Vegetarian Diet Myths, Debunked. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/diet/vegetarian-diet-myths-debunked/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป