กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia) คืออะไร ลักษณะอาการ วิธีการรักษา และป้องกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 25 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องระมัดระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ การตรวจระดับเลือดเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในวันนี้ HonestDocs จะพาไปทำความรู้จักภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia) ลักษณะอาการ วิธีการรักษา และการป้องกันอย่างถูกต้อง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คืออะไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ Hypoglycaemia คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่าปกติ (น้อยกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)) ส่งผลให้ร่างกายไม่มีพลังงานเพียงพอสำหรับกิจกรรมต่างๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ยาฉีดอินซูลินมากเกินไป ไม่รับประทานอาหารตรงตามเวลา หรือออกกำลังกายมากเกินไป

ในกรณีที่พบได้น้อย สามารถพบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือเกิดจากโรคบางโรคเช่น โรค Addison's disease

ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ได้ ถ้าใช้ยารักษาไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะยาซัลโฟนิลยูเรีย เช่น ยา Glipizide (Glucotrol) ยา Glyburide (Micronase Glynase และ Diabeta) และยา Glimepiride (Amaryl) 

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

คนส่วนใหญ่ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีอาการเตือน ซึ่งจะช่วยให้รีบแก้ไขได้อย่างทันท่วงที โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

อาการระดับน้อย

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 mg/dL
  • เหงื่อออกมาก
  • สั่นหรือรู้สึกตื่นตระหนก
  • ปาก ริมฝีปากและลิ้นชา หรือมีรสขม
  • ชาตามปลายนิ้ว
  • หิว
  • หัวใจเต้นเร็ว

อาการระดับปานกลาง

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 55 mg/dL
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอน
  • มึนงงหรือไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
  • พูดลำบาก
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่นก้าวร้าว วิตกกังวล กระวนกระวาย หรือกลัว
  • มึนหัว ปวดหัว หรือตามัว
  • ซุ่มซ่าม สั่น หรือมีปัญหาในการทำงานร่วมกันของร่างกาย
  • เดินลำบาก
  • ซีด
  • รู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • เป็นอัมพาตครึ่งซีกร่างกาย

อาการระดับรุนแรง

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 40 mg/dL
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ
  • ชัก
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว

หมายเหตุ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถพบระหว่างการนอนหลับได้ ทำให้มีอาการเหงื่อออกมาก รบกวนการนอนหลับ รู้สึกอ่อนเพลีย และรู้สึกสับสนเมื่อตื่นนอน นอกจากนี้ ยาบางกลุ่ม เช่น Beta-blockers อาจบดบังอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำผลไม้ หรืออมลูกอมที่มีน้ำตาล เพื่อช่วยแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างรวดเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภายหลังจากที่รับประทานเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลักแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภทแป้งที่ย่อยช้ากว่า เช่น แซนด์วิช หรือ ขนมปังกรอบไม่กี่ชิ้น

ถ้าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำทำให้หมดสติ จะต้องฉีดฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีสติรู้ตัวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามยากลูคากอนมีเฉพาะชนิดฉีดเท่านั้น และผู้ที่จะมีติดบ้านจะต้องทราบวิธีการใช้ก่อนที่จะได้รับยาชนิดนี้กลับบ้าน

คุณควรโทรเรียกรถพยาบาลที่สายด่วน 1669 เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

  • ไม่มียาฉีดกลูคากอนอยู่ที่บ้าน
  • ไม่มีคนใกล้ตัวได้รับการฝึกอบรมวิธีฉีดยากลูคากอน
  • หลังฉีดยากลูคากอนแล้ว 10 นาที อาการไม่ดีขึ้น

อย่าพยายามที่จะป้อนอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าสู่ปากของคนที่ง่วงหรือหมดสติ เพราะจะทำให้สำลักได้

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

  • ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานที่ต้องรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน วิธีที่ปลอดภัยในการป้องกันไม่ให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือต้องตรวจเช็คระดับน้ำตาลเป็นประจำ ฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่ง ไม่เพิ่มหรือลดยาเอง (ยกเว้นกรณีแพทย์แนะนำให้ปรับยาเองได้)   และเรียนรู้วิธีสังเกตอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในระยะเริ่มแรก เพื่อที่จะได้แก้ไขทัน
  • การไม่รับประทานอาหาร ของว่าง หรือรับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าปริมาณที่วางแผนไว้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ 
  • ระมัดระวังระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นหลังจากดื่มไปแล้วหลายชั่วโมง
  • การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ถือเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตก่อนการออกกำลังกาย ถ้าออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรกินอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที เช่น นมพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ ขนมปัง แครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล เช่น ส้ม กล้วยน้ำว้า หรือ ผลไม้ใหญ่ ½ ผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วยหอม  ระหว่างหรือหลังออกกำลังกาย หากเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องวางแผนปรับขนาดยาฉีดอินซูลินให้เหมาะสม
  • คุณต้องแน่ใจว่าคุณมีการเปลี่ยนบริเวณของร่างกายที่ฉีดอินซูลินเป็นประจำ เนื่องจากปริมาณอินซูลินที่ร่างกายดูดซึมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่ฉีดยา
  • แนะนำให้พกลูกอมที่มีน้ำตาล หรือน้ำผลไม้ ติดตัวเสมอ เพื่อใช้ในกรณีที่มีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • คุณต้องแน่ใจว่าคนใกล้ตัวของคุณรู้ว่า คุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน และความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง นอกจากนี้ อาจต้องพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อให้คนอื่นๆ รู้เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้
  • หากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่โรคเบาหวาน จะต้องรักษาโรคนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในอนาคตอีก 

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าในผู้ป่วยเบาหวานสําหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ, Arissara Sukwatjanee PhD
Diabetes Association of Thailand. Diabetes Clinical Practice Guideline 2011. 2 nd ed. Bangkok: Srimeuang Publication; 2011.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม