โรคที่อาจทำให้คุณหิวตลอดเวลา?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคที่อาจทำให้คุณหิวตลอดเวลา?

โรคซึมเศร้า

การกินนั้นเป็นกลไกในการรักษาตัวเองวิธีหนึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เนื่องจากว่าผู้ป่วยนั้นอาจมีการขาดฮอร์โมน serotonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดี และการรับประทานอาหารที่เคยชินหรือชื่นชอบนั้นก็จะช่วยทำให้ฮอร์โมนดังกล่าวนั้นเพิ่มขึ้นได้ 

ความเครียด

ในช่วงที่ร่างกายอยู่ในภาวะต่อสู้หรือหนีนั้น ฮอร์โมน cortisol จะถูกหลั่งออกมามากขึ้นซึ่งจะกระตุ้นให้คุณกิน แม้ว่าร่างกายจะไม่ได้ต้องการพลังงานเพิ่มเติมก็ตามจากการที่ cortisol บอกสมองว่าคุณนั้นยังไม่อิ่ม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ความเครียดทำให้คนกินเยอะกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง

หากคุณรู้สึกหิวตลอดเวลาและกินเยอะกว่าปกติ แต่น้ำหนักกลับลด อาจเกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ของคุณนั้นหลั่งฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายสลายสารต่างๆ มากกว่าปกติ ทำให้คุณกินจุขึ้น แต่กลับอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย เล็บเปราะ หรือผมร่วง

โรคอ้วน

การรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นนั้นอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ แต่ในขณะเดียวกัน โรคอ้วนก็ทำให้คุณหิวได้บ่อยขึ้นเช่นกัน ไขมันส่วนเกินที่รับประทานเข้าไปนั้นจะกระตุ้นให้ระดับอินซูลินในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นตามมา นอกจากนั้น เซลล์ไขมันยังทำให้ร่งากายไวต่อฮอร์โมนที่ทำให้อิ่มลดลงอีกด้วย

ภาวะน้ำตาลต่ำ

ภาวะน้ำตาลต่ำนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นอดอาหารไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดผลอย่างเดียวกันนั้นก็คือทำให้ร่างกายหิว เพื่อให้มีการรับประทานอาหารและเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้สูงเพียงพอที่จะสามารถเข้าสู่เซลล์ไปเป็นพลังงานได้

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 นั้นล้วนแต่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งจะทำให้เกิดวงจรของความหิวเวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ก่อนที่จะกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารตามมา แต่การที่รับประทานอาหารมากเกินไปนั้นจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ดังนั้นจึงควรพยายามรับประทานอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลนั้นอยู่ในภาวะปกติโดยการหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หรืออาหารแปรรูป

การมีประจำเดือน

ในช่วงที่มีประจำเดือนนั้นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนซึ่งอาจทำให้คุณรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งร่างกายของคุณก็จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่ต้องใช้ในช่วงที่มีประจำเดือนเช่นกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงมักจะรู้สึกเหนื่อย หรือขาดน้ำได้มากกว่าปกติในช่วงที่มีประจำเดือน

ยาบางชนิด

ยาบางชนิดเช่นยาในกลุ่ม SSRT สำหรับรักษาโรคซึมเศร้า, สเตียรอยด์ที่ใช้รักษาโรคภูมิแพ้หรือโรคลูปัส และยากันชักอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคืออยากอาหารเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อลองปรับยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง

ภาวะขาดน้ำ

อาการหิวที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดน้ำได้ โดยเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ร่างกายมักจะเกิดอาการหิวก่อนที่จะหิวน้ำ คนทั่วไปควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วต่อวัน พร้อมกับพกน้ำขวดติดตัวไปด้วยตลอดเวลาเพื่อให้ดื่มน้ำได้รวม 1.5-2.5 ลิตรต่อวัน และควรเลือกดื่มน้ำเปล่ามากกว่าน้ำอัดลม

อาการนอนไม่หลับ

หากร่างกายได้นอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง ร่างกายจะควบคุมระดับฮอรโมนที่ทำงานควบคุมความหิวเวลาตื่นได้ยากกว่าปกติ ฮอร์โมนความหิว ghrelin นั้นจะสูงขึ้น ทำให้คุณอยากอาหารแม้ว่าร่างกายอาจจะไม่ต้องการพลังงานก็ตาม 


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Always Hungry? You Just Might Have One Of These Conditions. Drugs.com. (https://www.drugs.com/slideshow/always-hungry-1163)
Why am I always hungry? 17 reasons for hunger even after eating. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324523)
14 Reasons Why You're Always Hungry. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/14-reasons-always-hungry#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด และประสิทธิภาพ

ตารางเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดในรูปแบบต่างๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างไร ราคาเท่าไหร่ ใช้งานง่ายหรือยาก อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม