ผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องกันเป็นเวลานานมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
การแพ้ท้องเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ระหว่างการตั้งครรภ์ถึง 70-80 เปอร์เซนต์ในหญิงตั้งครรภ์จากข้อมูลของ American Pregnancy Association (APA) แต่หากการแพ้ท้องนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง อาเจียน และน้ำหนักลดระหว่างการตั้งครรภ์ก็อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (hyperemesis gravidarum)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ข้อมูลจากมูลนิธิ Hyperemesis Education & Research (HER) พบว่า อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงมักดำเนินต่อไปหลังไตรมาสแรกและอาจหยุดในสัปดาห์ที่ 21 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็อาจดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่เคยประสบอาการเหล่านี้มาก่อน จากการศึกษาของ APA ในแต่ละปี จะมีผู้เข้ารับการรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงนี้ราว 60,000 รายตามโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา แต่ตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงขึ้นเนื่องจากผู้หญิงบางคนอาจได้รับการรักษาที่บ้านหรือตามคลินิค
สาเหตุของโรค
ปัจจุบัน สาเหตุของอาการแพ้ท้องรุนแรงยังไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยัน แต่ก็มีทฤษฎีใหม่ ๆ มากมายเกิดขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว สาเหตุและปัจจัยก่อโรคที่เป็นไปได้ ได้แก่
- ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น เช่น human chorionic gonadotropin (HCG), estrogen และ progesterone ในระยะแรกของการตั้งครรภ์
- ระดับ thyroxine ในเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ถึง 70% ของผู้ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงจากรายงานของมูลนิธิ HER
- ครรภ์แฝด (แฝดสอง แฝดสาม หรืออื่น ๆ)
- มีการเจริญของเนื้อเยื่อมดลูกผิดปกติ เรียกว่า ครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform mole)
- การสำรอกของสิ่งที่อยู่ภายในลำไส้เล็กส่วน duodenum กลับไปยังกระเพาะอาหาร
- การบีบตัวที่ผิดปกติของทางเดินอาหาร
- มีความผิดปกติที่ตับ
- ไขมันในเลือดผิดปกติ
- มีปัญหาที่หูชั้นใน
- มีการติดเชื้อ Helicobacter pylori หรือ H. Pylori (เชื้อที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร)
- ขาดสารอาหารจำพวก pyridoxine และ zinc
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงอาจแสดงอาการต่อไปนี้
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
- วิงเวียนศีรษะ มึนงง และเป็นลม
- มีน้ำลายมากขึ้น
- โลหิตจาง
- ปวดหัว
- สับสน
- ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน)
- ความดันเลือดต่ำ
- หัวใจเต้นเร็ว
- ไทรอยด์หรือพาราไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
- มีอาการขาดน้ำหรือสร้างคีโตน (บางครั้งอาจมีลมหายใจกลิ่นผลไม้)
- ขาดสารอาหาร
- ความผิดปกติทางเมตาโบลิซึม
- การรับกลิ่นดีขึ้น
- การรับรสผิดปกติ
- ผิวหนังเสียความยืดหยุ่น
- น้ำหนักลดมากกว่า 5 เปอร์เซนต์ และมักจะมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์
- มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- มีปัญหาจิตใจ ผู้หญิงหลายคนที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลง วิตกกังวล หรือหงุดหงิดง่ายร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงของอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
ปัจจัยต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
- เคยมีประวัติแพ้ท้องอย่างรุนแรงในอดีต
- น้ำหนักตัวเกิน
- ตั้งครรภ์แฝด
- ตั้งครรภ์แรก
- มีโรคของ trophoblast (การเจริญเติบโตของมดลูกผิดปกติ)
- มีประวัติคนในครอบครัวมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
การรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
ผู้ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คลินิค หรือที่บ้าน แม้ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป แต่แพทย์จะให้คำแนะนำในลักษณะเดียวกัน ดังนี้
- มาตรการป้องกันด้วยการกินวิตามิน B6, ขิง, เปเปอร์มินต์ หรือสายรัดข้อมือกดจุด เพื่อลดอาการคลื่นไส้
- กินอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ ซึ่งอาหารจะประกอบไปด้วยอาหารแห้ง ๆจืด ๆ เช่น ขนมปังกรุบกรอบ
- การฉีดสารเข้าเข็มช่วยไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
- ในกรณีที่อาการรุนแรงอาจให้สารอาหารผ่านทางเส้นเลือดแทนการกินอาหาร
- ยากันคลื่นไส้ เช่น Phenergan (promethazine), Antivert (meclizine) หรือ Inapsine (droperidol), doxylamine-pyridoxine(Diclegis) หรือ metoclopramide (Reglan) ในรูปยาทาน, ยาให้ทางเส้นเลือด หรือยาเหน็บ
- การบำบัดเสริมอื่น ๆ เช่น นวด, ฝังเข็ม, กดจุด หรือสะกดจิต
ภาวะแทรกซ้อน
ความเสี่ยงหลักในผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คือ ภาวะขาดน้ำและสมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ มูลนิธิ HER พบว่า ผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่อตัวเด็กอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา หรือคุณแม่ไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้เพียงพอตามมาตรฐานในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายแต่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่