กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาโรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์รักษาอย่างไร มีกี่วิธีบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การรักษาโรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) เป็นโรคทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยจะมีอาการแปรปรวนทางอารมณ์ 2 ด้านคือ อารมณ์ซึมเศร้า (Major depressive episode) และอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania หรือ Hypomania) ซึ่งจะเกิดขึ้นสลับกันไปอย่างคาดเดาไม่ได้ แต่พฤติกรรมของผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ

ซึ่งจากความแปรปรวนทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไบไพลาร์ต้องเผชิญกับผลกระทบที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของคนรอบตัว เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • รู้สึกว่าตนเองแปลกแยก ไร้ค่า และอาจรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน หรือการทำงาน
  • นอนหลับพักผ่อนได้น้อยลง หรือนอนมากเกินไป
  • มีปัญหาด้านการเข้าสังคม หรืออาจทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว
  • มีพฤติกรรมหมกมุ่นเรื่องเพศมากเกินไป
  • ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตนเองได้ เช่น ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ติดการพนัน ใช้เงินมากเกินไป
  • ไม่สามารถสื่อสารหรือพูดคุยกับผู้อื่นได้อย่างปกติ

ดังนั้น โรคไบโพลาร์จึงจัดเป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไว้ให้อาการลุกลามรุนแรงมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ป่วยได้อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติและมีความสุข

การรักษาโรคไบโพลาร์

การรักษาโรคไบโพลาร์สามารถแบ่งออกได้หลักๆ เป็น 2 แบบคือ การรักษาโดยใช้ยา และการรักษาโดยทำจิตบำบัด

1. การรักษาโรคไบโพลาร์โดยการใช้ยา

ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาเพื่อปรับอารมณ์ให้คงที่ทันทีหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์แล้ว โดยแพทย์อาจสั่งยาให้มากกว่า 1 ประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคไบโพลาร์และอาการที่เกิดขึ้น เช่น

  • ยาปรับอารมณ์ (Mood stabilizers) ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ส่วนมากจำเป็นต้องได้รับยาปรับอารมณ์เพื่อควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะอาการในช่วงอารมณ์ดีผิดปกติหรือช่วงอารมณ์ดีผิดปกติชนิดอ่อน (Manic or hypomanic episodes) สำหรับตัวอย่างยาที่ใช้จะได้แก่
    • คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine) 
    • ไดวาลโปรเอ็กซ์ โซเดียม (Divalproex sodium) 
    • ลาโมไตรจีน (Lamotrigine) 
    • ลิเทียม (Lithium) 
    • กรดวาลโปรอิก (Valproic acid)
  • ยาต้านโรคจิต (Antipsychotics) เป็นยาที่จะออกฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาทโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้เราทุกคนรู้สึกมีความสุข ตื่นตัวและกระฉับกระเฉงมากยิ่งขึ้น 

แต่หากสารนี้มีการหลั่งมากเกินปริมาณที่จำเป็น ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของคนเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น หุนหันพลันแล่นมากขึ้น อยู่นิ่งไม่ได้ ก้าวร้าว พูดเร็ว หรือคิดเร็วเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้ และอาจลุกลามไปถึงเกิดอาการบ้าคลั่ง และหวาดระแวงด้วย

ยาต้านโรคจิตจะช่วยรักษาโรคไบโพลาร์ในส่วนของการควบคุมอาการอารมณ์ดีผิดปกติ หรืออาการซึมเศร้าของผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิด (Delusions) หรืออาการประสาทหลอน (Hallucinations) ร่วมด้วย เช่น

  • ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) เป็นยาสำหรับควบคุมอาการซึมเศร้า ช่วยเสริมฤทธิ์ยาปรับอารมณ์และยาต้านโรคจิต
  • ยาคลายกังวล (Antianxiety medications) แพทย์อาจสั่งใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) ซึ่งเป็นยาคลายกังวลที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกิดอาการวอกแวกหรือหวาดระแวง รวมถึงช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

แต่ในขณะเดียวกัน ยาคลายกังวลก็อาจมีผลข้างเคียงกับพฤติกรรมของผู้ป่วยบ้าง เช่น เกิดอาการซึม นอนหลับมากเกินไป มีอาการติดยาหรือดื้อยาเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรรับประทานยาคลายกังวลตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น และไม่ควรซื้อยาชนิดนี้มารับประทานเองเด็ดขาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคไบโพลาร์

ยารักษาโรคไบโพลาร์สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากมาย และบางผลข้างเคียงก็อาจร้ายแรงมาก ซึ่งหากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติของตนเอง หรือกับคนใกล้ชิดที่เป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ อย่าหยุดยาเองเป็นอันขาด แต่ให้รีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะการหยุดยาเองอาจทำให้อาการของโรคกำเนิบ หรือเกิดอาการถอนยาได้

นอกจากเรื่องผลข้างเคียงของยาแล้ว การใช้ยารักษาโรคไบโพลาร์ร่วมกับยากำเนิดก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาและนำไปสู่ผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งในผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนว่าจะตั้งครรภ์อยู่

ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยาคุมกำเนิด กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มใช้ยาสำหรับรักษาโรคไบโพลาร์

คำแนะนำหากรักษาโรคไบโพลาร์ด้วยยาไม่ได้ผล

ยาเป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคไบโพลาร์ แต่หากยาที่รับประทานอยู่ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น หรือมีผลข้างเคียงมากเกินไป ควรรีบแจ้งแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไข โดยยาที่ใช้รักษาโรคไบโพลาร์นั้นมีให้เลือกใช้หลากหลายชนิด แพทย์อาจจ่ายยาชนิดใหม่ให้กับผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

2. การรักษาโรคไบโพลาร์โดยการทำจิตบำบัด

นอกเหนือจากการใช้ยา แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้าร่วมการทำจิตบำบัด หรือรับคำปรึกาในรูปแบบอื่นๆ เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกับโรคอย่างเหมาะสม และวิธีจิตบำบัดนี้ยังครอบคลึมการรักษาภาวะติดยา หรือภาวะติดแอลกอฮอล์ด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องยาเสพติด

สำหรับวิธีทำจิตบำบัดที่ได้รับความนิยมใช้กันในการรักษาโรคไบโพลาร์ จะได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • "การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT)" เป็นการทำจิตบำบัดที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยหาว่า อะไรเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการของโรคไบโพลาร์ จากนั้นจะช่วยหาแนวทางแก้ไข และหาวิธีรับมือกับความเครียด พร้อมส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีกับผู้ป่วยเพื่อให้ควบคุมกับอาการของโรคได้
  • “การทำจิตบำบัดรายบุคคลโดยครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมด้วย (Family-Focused Therapy: FFT)” เป็นการทำจิตบำบัดกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย หรืออาจรวมถึงผู้ที่อยู่ใกล้ชิดด้วย
    สำหรับเป้าหมายของการทำจิตบำบัดแบบนี้คือ เพื่อขัดขวางและป้องกันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือกับคนรอบข้าง เพื่อลดความเครียดและวิตกกังวลของผู้ป่วย รวมถึงทำให้ผู้ใกล้ชิดปรับตัวเข้ากับปัญหา และอาการของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการช่วยรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น
  • “การทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย (Interpersonal and Social Rhythm Therapy: IPSRT)” เป็นการทำจิตบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์ของคนรอบข้างดียิ่งขึ้น มีความเข้าใจในอาการของโรคที่ตนเองเป็นอยู่ รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีบทบาทในสังคมได้เหมือนเดิม

สัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนการรักษา

จากวิธีการรักษาและรับประทานยาที่กล่าวไปข้างต้น หากคุณยังคงมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเปลี่ยนวิธีการรักษาหรือไม่

  • รู้สึกมีพลังงานมากกว่าปกติ คึกคักผิดปกติ
  • มีพลังงานลดลง รู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง
  • มีอารมณ์เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วหลายครั้งในแต่ละวัน อาจมีความสุขหรือมีพลังเป็นบางช่วง แล้วเปลี่ยนเป็นรู้สึกหม่นหมองหรือซึมเศร้าในช่วงเวลาต่อมา
  • สงสัยว่ามีใครบางคนกำลังจ้องมองหรือพยายามจะเข้ามาทำร้าย
  • รู้สึกผิดหวังในตนเองมากโดยไม่มีเหตุผล
  • นอนไม่หลับหรือตื่นเช้ามากผิดปกติ
  • มีปัญหากับการทำงานให้เสร็จตามกำหนดหรือตามที่ตั้งใจไว้
  • ทำเรื่องสุ่มเสี่ยงหรือทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คิด
  • มีปัญหากับเพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทะเลาะหรือมีเรื่องกับคนอื่นบ่อยกว่าปกติ
  • มีอาการผิดปกติทางกายภาพ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือด

ขั้นตอนการเปลี่ยนการรักษา

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากสังเกตว่า ยาที่รับประทานอยู่ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น หรือรู้สึกว่าอาการแย่ลงกว่าเดิม รวมถึงหากพบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงบางอย่าง อยากทำร้ายตัวเอง หรือปวดบริเวณกึ่งกลางของร่างกายมาก

หลังจากนั้น แพทย์จะสอบถาม และอาจแนะนำให้คุณรับการทดสอบบางอย่าง เช่น การตรวจเลือดเพื่อดูว่ายามีผลต่อร่างกายอย่างไร หากยาที่ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป แพทย์อาจให้คุณค่อยๆ ลดปริมาณยาที่ใช้จนหยุดรับประทานยาไป ก่อนจะเปลี่ยนให้ลองใช้ยาตัวอื่นแทน

การหยุดยาอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือ ห้ามคุณหยุดรับประทานยาเองเด็ดขาดโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะการหยุดใช้ยารักษาโรคไบโพลาร์ในทันทีนั้นสามารถส่งผลต่ออารมณ์ได้

นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณรักษาโดยใช้วิธี "การกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT)" ซึ่งเป็นการรักษาโดยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังสมองหลังจากคนไข้ได้รับยาสลบแล้ว การรักษาวิธีนี้จะสามารถช่วยให้อาการของโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ดีขึ้นได้

นอกจากนี้ การรักษาด้วยวิธี ECT ยังให้ผลเร็วกว่าการรับประทานยาด้วย แต่ผลลัพธ์ของการรักษาวิธีนี้จะอยู่ได้ไม่นาน และหากคุณต้องการป้องกันไม่ให้เกิดอาการเดิมซ้ำอีกครั้ง คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยาหรือรักษาโดยใช้ ECT แบบระยะยาว

ทางเลือกในการรักษาอื่นๆ สำหรับโรคไบโพลาร์

มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการรักษาโรคไบโพลาร์ด้วยสมุนไพรหรืออาหารเสริมอยู่บ้าง แต่ก็มีหลักฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่จำกัดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวอ้างว่าอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคไบโพลาร์ได้ ได้แก่

ทั้งนี้ กรดอะมิโนที่แนะนำ เช่น แซมอี (S-adenosyl-L-methionine: SAMe) และสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ตอาจมีผลต่อยาต้านซึมเศร้า หรืออาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการอารมณ์ดีผิดปกติหรืออารมณ์ดีผิดปกติชนิดอ่อนได้

นอกจากนี้ หลายคนยังเชื่อว่าการฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีนอาจช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่ทราบประสิทธิภาพที่แน่นอนสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ด้วยวิธีนี้

เราจะเห็นได้ว่าการรักษาโรคไบโพลาร์นั้นมีทางเลือกที่หลากหลายมาก และยังมีส่วนช่วยให้คนในครอบครัว และผู้ใกล้ชิดของคุณเข้าใจถึงปัญหาของโรคได้ 

ดังนั้นหากคุณได้รับการวินิจฉัย หรือมีผู้ใกล้ชิดถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์แล้ว อย่าอายที่จะขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณและผู้ป่วยสามารถหาวิธีรับมือกับความผิดปกติทางอารมณ์นี้ได้ และสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ตามปกติ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศิริลักษณ์ ศุภปิติพร, การรักษาด้วยยาและจิตบำบัดในจิตเวชปฏิบัติยุคปัจจุบัน (http://clmjournal.org/_fileupload/journal/34-2.pdf), March-April 2012.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), ยาคลายเครียด เรื่องซีเรียสที่ควรระวัง (https://www.hsri.or.th/sites/default/files/attachment/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94-3-02.png).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน

เรียนรู้เพิ่มจากอีกตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

อ่านเพิ่ม
สุขภาพ ความเครียด และความยากจน
สุขภาพ ความเครียด และความยากจน

ความเครียดจากความยากจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้อย่างไร?

อ่านเพิ่ม