กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

บุคลิกภาพก้ำกึ่ง (Borderline Personalities) แบ่งเป็นกี่ประเภท?

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
บุคลิกภาพก้ำกึ่ง (Borderline Personalities) แบ่งเป็นกี่ประเภท?

ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder หรือ BPD) จะเชื่อมโยงกับความแตกต่างของอาการแสดง การวินิจฉัยว่าผู้ใดมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งจะต้องมีอาการแสดงอย่างน้อย 5 ข้อจากทั้งหมด 9 ข้อ ผู้มีภาวะผิดปกติชนิดก้ำกึ่งแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการสงสัยในหมู่ผู้เชี่ยวชาญว่าลักษณะบุคลิกภาพก้ำกึ่งสารถแบ่งตามอาการแสดงที่ชัดเจนเป็นกี่ประเภท?

การแบ่งชนิดย่อยของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

การแบ่งชนิดย่อยของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งเป็นหัวข้อที่นิยมนำเสนอในหนังสือจิตวิทยา มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงการแบ่งชนิดย่อยที่แตกต่างกันของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ตัวอย่างเช่น ในหนังสือของเจ้าแม่เรื่องบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ดร. คริสติน ลอว์สัน ได้แบ่งชนิดย่อยของมารดาที่มีบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • the Waif (ลักษณะเด็กกำพร้า คนไร้ถิ่นฐาน ไร้พ่อแม่)
  • the Hermitt (ลักษณะฤาษี กลัว หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า)
  • the Queen (ลักษณะราชินี ชอบควบคุมคนอื่น)
  • the Witch (ลักษณะแม่มด ชอบกระทำรุนแรงซาดิสต์)

ในคู่มือประจำบ้านของ Ronadi Kreger แบ่งคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ออกเป็น ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ/ประเภทธรรมดา (lower-functioning/conventional types) และ ประสิทธิภาพ การทำงานสูง/ประเภทที่มองไม่เห็น (higher-functioning/invisible types)

ชนิดธรรมดา (conventional types) จะมีพฤติกรรมทำลายตนเองสูงและต้องการการรักษาในโรงพยาบาล มีประสิทธิภาพทำงานต่ำไม่สามารถไปทำงานหรือไปโรงเรียน มีการเรียกพฤติกรรมทำลายตนเองว่า "การแสดงเข้าหาตนเอง" ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาการภายใน

ชนิดที่มองไม่เห็น (invisible types) จะมีประสิทธิภาพทำงานสูง มีพฤติกรรมชนิด "แสดงออกข้างนอก" เช่น พูดจาหยาบคาย วิจารณ์คนอื่นๆ และกลายเป็นความขัดแย้ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาการสู่ภายนอก

การแบ่งภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งข้างต้น มาจากความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เชี่ยวชาญนักวิจัยพยายามที่จะใช้วิธีเชิงปริมาณเพื่ออธิบายชนิดย่อยของบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ทำให้หัวข้อนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น

บุคลิกภาพก้ำกึ่งแบ่งเป็นกี่ประเภท?

การวิจัยเกี่ยวกับการแบ่งชนิดของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง มีการปนเปกันมาก บางการวิจัยชี้ว่า สามารถรักษาภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง โดยไม่ต้องแบ่งชนิดย่อยที่ชัดเจน ขณะที่การศึกษาอื่นๆ มีการแบ่งชนิดย่อยชองภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

มีการศึกษาอ้างอิงตาม ตำราการวินิจฉัยและสถิติของภาวะจิตผิดปกติ (the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ได้แบ่งตามกลุ่มอาการแสดงของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • Cluster A มีความคิดหวาดระแวงและพฤติกรรมแปลกๆ
  • Cluster B มีบุคลิกที่น่าทึ่ง ยิ่งยโส
  • Cluster C มีบุคลิกที่น่ากลัว

อีกการศึกษา วิจัยภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงวัยรุ่นพบว่า มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิงที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมีแนวโน้มที่มีลักษณะการทำงานประสิทธิภาพสูง มีอาการภายใน ซึมเศร้า เรียกร้องความสนใจ และแสดงอาการภายนอก คือ โกรธง่าย

การศึกษาที่สาม แบ่งภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งออกเป็น 3 ลักษณะย่อย คือ เก็บตัว (withdrawal-internalizing) วุ่นวาย (disturbed-internalizing) และกังวล (anxious-externalizing)

ที่น่าสนใจคือสองการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอาการภายใน (internalizing) กับอาการภายนอก (externalizing) และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในอาการบ่งชี้ของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งและอาจเป็นประเด็นสำหรับประเมินผลงานของนักจิตวิทยาในหัวข้อนี้ แต่เนื่องจากหลายๆ งานวิจัยมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกัน การศึกษาที่มากขึ้นเป็นจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ผลกระทบของการรักษา

มีการศึกษาพบว่า ผู้มีอาการแตกต่างกันของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งอาจตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน ด้วยชนิดที่ชอบวุ่นวายมากจะไม่ตอบสนองเชิงบวกในการรักษา ขณะที่ผู้ชนิดมีความกังวลมีการตอบสนองเชิงบวก การพยากรณ์โรคสำหรับผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาการแสดงของแต่ละบุคคล ควรมีการวิจัยมากขึ้นก่อนจะสรุปชัดเจนเกี่ยวกับการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5)

อ่านเพิ่ม
คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน?
คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน?

บุคลิกภาพและความถนัดของแต่ละคนเกี่ยวข้องกับสมองฝั่งซ้าย หรือขวา จริงหรือไม่ เรามีคำตอบ

อ่านเพิ่ม