อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder: BPD) จะส่งผลกระทบถึงร้อยละ 6 ของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะสุขภาพจิตรุนแรงไม่สามารถควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์รุนแรง แปรปรวน ประมาท มักมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ
อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD)
คำว่า "อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD)" เป็นคำเรียกจากความเข้าใจเบื้องต้นของนักวิทยาศาสตร์ตามอาการของโรค อาจเป็นคำเรียกที่ไม่ดีสักเท่าไรเพราะไม่สามารถอธิบายสาระสำคัญของอาการเจ็บป่วยนี้ได้ดี
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ป่วย BPD จะมีช่วงเวลาสั้นของการเกิดอาการโรคจิต (จากร่องรอยจริงของอาการ หลงผิด เห็นภาพหลอน) ดังนั้นอาการ BPD จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างการเจ็บป่วยทางจิต (เช่น โรคจิตเภท) และการเจ็บป่วยที่มีอาการทางประสาท Neurotic illnesses (เช่น ความวิตกกังวล) หรือก้ำกึ่งกับอาการป่วยทางจิตอื่น ๆ
ด้วยเหตุของคำว่า ก้ำกึง จึงมีบางคนชอบใช้คำอื่น ๆ แทน BPD เช่น emotional dysregulation (ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี)
ความชุกของโรค BPD
คาดการณ์ว่าจะพบผู้ที่เป็น BPD ประมาณ 1.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา แต่ในความเป็นจริงโรค BPD อาจมีความชุกสูงถึงร้อยละ 5.9 (14 ล้านคน) ตามข้อมูลของ National Alliance on Mental Illness (NAMI)
โดยยังมีหลักฐานที่อาจตกสำรวจ (under diagnostic) ถึงประมาณสามในสี่ของ BPD เกิดขึ้นในผู้หญิง แม้ว่าการวิจัยชี้ว่า มีผลกระทบเท่ากันทั้งสองเพศ และผู้ชายที่เป็น BPD ก็มักได้รับการวินิจฉัยผิดว่า เป็นความผิดปกติของความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าในอดีตที่ผ่านมา
ซึ่งพบ BPD ถึงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลจิตเวช และร้อยละ 10 ของผู้ป่วยนอกที่มารับรักษาสุขภาพจิต (การรักษา)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
เช่นเดียวกับปัญหาปกติของสุขภาพจิตอื่นๆ ที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าอาการ BPD เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การเจ็บป่วยของโรคนี้มีการพัฒนามาจากการรวมกันของปัจจัยหลายประการ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การศึกษาในฝาแฝดชี้ให้เห็นว่า BPD มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับทางพันธุกรรมอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็น BPD 5 เท่า หากมีญาติที่มีอาการ BPD
นอกจากนี้การวิจัยภาพสมอง (Brain imaging research) แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของสมองและกิจกรรมในสมองคนที่มีอาการ BPD จะแตกต่างจากคนทั่วไป
ยกตัวอย่างเช่น คนที่มี BPD พบว่า มีกิจกรรมในส่วนสมองที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์และการแสดงอารมณ์เพิ่มขึ้น (The amygdala and limbic)
รายงาน ค.ศ. 2016 ในวารสารทางชีวภาพจิตเวชพบว่า คนที่มี BPD มีกิจกรรมในต่อมทอนซิลด้านซ้ายมากขึ้น (The left amygdala) และกิจกรรมใน dorsolateral prefrontal cortex น้อยลง
ให้การประมวลผลอารมณ์เชิงลบเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้มี BPD และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอาการ BPD ความบาดเจ็บในวัยเด็ก (ถูกทำร้ายร่างกาย ล่วงเกินทางเพศหรือมีการใช้อารมณ์) การถูกละเลย และการสูญเสีย หรือพลัดพรากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาอาการ BPD
ภาวะแทรกซ้อนของอาการ BPD
การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ (emotional dysregulation) ของอาการ BPD จะมีผลต่อชีวิตในหลาย ๆ ด้านเช่น
- ยากลำบากในการอยู่กับสังคมโรงเรียน หรือภาวะมั่นคงในการทำงาน
- ปัญหาสถานะครอบครัวหรือความสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น การหย่าร้าง
- ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย
- มีอารมณ์รุนแรง และพฤติกรรมเสี่ยง (เช่นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน, โรคติดต่อทางเพศ ยาเสพติด ขับรถโดยประมาท หรือทะเลาะวิวาทกับคนอื่นๆ )
โดยคนที่มีอาการ BPD ยังมีความเสี่ยงอย่างอื่นได้อีก เช่น การทำร้ายตัวเอง (nonsuicidal self-harm)(กรีด, เผา ตัวเอง และการกระทำที่เป็นอันตรายอื่น ๆ) พยายามฆ่าตัวตาย และมีการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งร้อยละ 80 ของคนที่มีอาการ BPD จะแสดงอาการอยากฆ่าตัวตาย และอีก 4- 9 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอาการ BPD มีการฆ่าตัวตาย
ท้องอืดหบังทานอาหารต้องรักษาหรือพบแพทย์ทางไหนคะ