กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

การตดบอกอะไรได้บ้าง

ตดบ่อย ตดดัง ตดเหม็น สามารถบอกอะไรได้บ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การตดบอกอะไรได้บ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตดเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกายในการขับไล่ลม หรือแก๊สผ่านลำไส้ใหญ่ โดยปกติผู้ที่มีร่างกายอุดมสมบูรณ์และแข็งแรงจะตดประมาณ 14-23 ครั้งต่อวัน เมื่อใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดความเหมาะสม การตดมากกว่า 23 ครั้งภายใน 1 วันจึงถือว่า "ผิดปกติ"
  • การตดผิดปกติอาจเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สมากเกินไป เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส กะหล่ำปลี หัวหอม ถั่ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่อัดลม หรือแก๊ส สารให้ความหวานซอร์บิทอล (Sorbitol)
  • ภาวะ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการตดผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ การทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร การแพ้อาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส  ภาวะที่เกี่ยวของกับกระเพาะอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ โรคกรดไหลย้อน โรคมะเร็งรังไข่
  • หากตดมากขึ้นผิดปกติ และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด เช่น มีเลือดปนในอุจจาระ มีภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ น้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้ มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น ไข้ขึ้นสูง คลื่นไส้ อาเจียน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชาย

การผายลม หรือ การตด อาจเป็นเรื่องน่าอายและดูน่าขบขัน แต่ความจริงแล้ว การตดเป็นเพียงกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกายในการขับไล่ลม หรือแก๊สผ่านลำไส้ใหญ่เท่านั้น 

เพราะทุกครั้งที่คุณรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งในระหว่างที่พูดคุยกับผู้อื่น คุณจะกลืนอากาศเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การตดในชีวิตประจำวันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หลายคนอาจข้องใจว่า แล้วตดบ่อยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ปกติ แล้วตดดังและเหม็นเป็นสัญญาณอันตรายเกี่ยวกับสุขภาพหรือไม่ 

ตดบ่อยแค่ไหนเรียกว่า "ปกติ"

โดยปกติผู้ที่มีร่างกายอุดมสมบูรณ์และแข็งแรงจะตดประมาณ 14-23 ครั้งต่อวัน ซึ่งเมื่อใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดความเหมาะสม การตดมากกว่า 23 ครั้งภายใน 1 วันจึงถือว่า "ผิดปกติ" 

ความผิดปกติที่ว่านี้อาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่างภายในร่างกาย การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สในร่างกายมากเกินไป เช่น 

  • เนื้อสัตว์ 
  • ไข่ 
  • นม 
  • ถั่ว 
  • ชีส 
  • กะหล่ำปลี 
  • หัวหอม 
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • เครื่องดื่มที่อัดลม หรือแก๊ส
  • รำข้าว
  • สารให้ความหวานซอร์บิทอล (Sorbitol)

ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะและโรคที่เกี่ยวข้องกับการตด คุณจึงควรสังเกตจำนวนครั้งที่ตนเองตดในแต่ละวันบ้าง และตรวจว่าตนเองชอบรับประทานอาหารที่ทำให้ตดบ่อยหรือเปล่า 

หากคุณตดบ่อยครั้งเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือรู้สึกว่า จำนวนครั้งการตดของตนเองผิดปกติไปจากเดิม ควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อให้จำนวนแก๊สในร่างกายลดลง หรืออาจปรึกษานักโภชนาการ หรือแพทย์ว่า อาหารประเภทใดบ้างที่ไม่ทำให้ตดมากเกินไป

ภาวะ หรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับตด

การตดบ่อยเกินไปเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะสุขภาพภายในได้ โดยภาวะ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการตดมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • โรคมะเร็งลำไส้ (Colon Cancer)
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
  • การทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (Functional GI Disorders)
  • การแพ้อาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส (Lactose) เช่น นมวัว โยเกิร์ต
  • ภาวะที่เกี่ยวของกับกระเพาะอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
  • แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
  • โรคโครห์น (Crohn's Disease)
  • โรคเซลิแอค (Celiac Disease) หรือโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อโปรตีนกลูเตน
  • โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis)
  • โรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (Inflammatory Bowel Disease)
  • โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)
  • โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)

ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตด

ตดเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม หากตดมากขึ้นผิดปกติ และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และหาทางรักษาโดยเร็วที่สุด

ที่มาของเสียงและกลิ่นของตด

ตดที่มีเสียงดังนั้น เกิดมาจากแก๊สในร่างกายถูกขับออกมาด้วยแรงดันอากาศ หรือแรงเบ่งที่สูงมาก หรืออาจเกิดจากแก๊สที่แทรกตัวผ่านกล้ามเนื้อหูรูดของลำไส้ที่บีบตัวแน่น เสียงที่มาพร้อมกับตดจึงไม่ได้บ่งบอกถึงความผิดปกติใดๆ

ส่วนกลิ่นของตดจะขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานเข้าไป ส่วนมากแล้วอาหารจำพวกโปรตีนจะก่อให้เกิดแก๊สที่มีกลิ่นเหม็นมาก เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ชีส และนม ถั่วชนิดต่างๆ อีกทั้งแก๊สเหล่านี้ยังต้องเดินทางผ่านลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของอาหารและกากอาหารที่ถูกย่อยสลายแล้วอีก 

ดังนั้นการที่กลิ่นตดมีกลิ่นเหม็นจึงเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ถือว่าเป็นสัญญาณของความผิดปกติของสุขภาพแต่อย่างใด

วิธีป้องกันไม่ให้ตดมากเกินไป

หลายคนที่มีปัญหาตดบ่อยและไม่สามารถควบคุมได้คงอยากรู้ว่า มีวิธีแก้ปัญหาใดบ้างที่จะช่วยให้ตดน้อยลงได้ ซึ่งคุณอาจปฏิบัติตามเคล็ดลับต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่รู้ว่าจะทำให้ตดง่าย หากรู้ว่าอาหารอะไรที่ชอบรับประทานในชีวิตประจำวันแล้วทำให้ตดง่าย ให้ลองลดปริมาณการรับประทานอาหารเหล่านั้นให้น้อยลง
  • แบ่งมื้ออาหารย่อยในแต่ละวัน บางครั้งการรับประทานอาหารมื้อใหญ่มากเกินไปก็ทำให้ตดบ่อยขึ้นได้ ดังนั้นให้ลองแบ่งมื้ออาหารที่ต้องรับประทานให้แต่ละวันให้ถี่ขึ้นแต่ปริมาณน้อยลงดู แก๊สในลำไส้ใหญ่อาจน้อยลงและตดน้อยลงได้
  • บริโภคอาหารให้ช้าลง หลายคนมักจะเคี้ยวอาหารเร็วรวมถึงดื่มน้ำเร็วเกินไป ซึ่งวิธีการรับประทานแบบนี้จะเป็นการเพิ่มอากาศเข้าไปในร่างกายขณะกลืนอาหาร ดังนั้นการเคี้ยวอาหารให้ช้าลง ค่อยๆ ดื่มน้ำอย่างช้าๆและไม่รีบร้อนจนเกินไป จะสามารถทำให้คุณตดน้อยลงได้
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน วันละประมาณ 30 นาทีจะทำให้สุขภาพของคุณแข็งแรง และปริมาณแก๊สในร่างกายก็จะอยู่ในปริมาณเหมาะสมด้วย
  • อย่ารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาหารประเภทนี้จะทำให้การย่อยอาหารของกระเพาะอาหารช้าลง และทำให้เกิดปริมาณแก๊สมากเกินไป
  • รับประทานยาไซเมทิโคน (Simethicone) เพราะยากลุ่มนี้เป็นยาที่ถูกใช้เพื่อแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการจุกเสียดจากแก๊สที่มีปริมาณมากเกินไปด้วย
  • หยุดสูบบุหรี่และเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะพฤติกรรม 2 อย่างนี้จะทำให้ร่างกายได้รับแก๊สส่วนเกินเข้ามาในทางเดินอาหารมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มอัดลม เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำเกิดฟองแก๊สเพิ่มในทางเดินอาหาร

เรื่องผายลม หรือตด ไม่ใช่เรื่องตลก น่าขบขัน หรือชวนล้อเลียน แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าใครในโลกนี้ก็ตดกันทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือ ให้ลองหมั่นสังเกตตนเองดูว่า "คุณตดบ่อยเกินไป หรือไม่ หรือ "ตดมีกลิ่นเหม็นมาก หรือไม่" รวมทั้ง "มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นหรือไม่" 

เพราะหากตดบ่อยเกินไป หรือตดมีกลิ่นเหม็นมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะผิดปกติบางอย่างในร่างกายก็เป็นได้ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NHS, Flatulence (https://www.nhs.uk/conditions/flatulence/), 20 June 2020.
Erica Cirino, Why Do I Keep Farting (https://www.healthline.com/health/why-do-i-keep-farting), 9 August 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม