การอบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมายาวนานเพราะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น บรรเทาอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติของร่างกาย อีกทั้งยังไม่เสี่ยง ไม่เจ็บตัว และไม่ใช้สารเคมี
ที่สำคัญยังสามารถเลือกชนิดสมุนไพรเพื่อแก้อาการ หรือเสริมสุขภาพตามความต้องการได้
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มาตรฐานห้องอบสมุนไพร
อย่างไรก็ตาม ห้องสมุนไพรที่ใช้ในการอบนี้ ควรมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ
- ขนาดห้อง ควรมีขนาดกว้าง 1.5 เมตร x ยาว 2 เมตร x สูง 3 เมตร เพื่อไม่ให้คับแคบเกินไปสามารถให้บริการได้ครั้งละ 3-4 คน
- พื้นและฝาผนัง ควรเป็นพื้นปูนขัดหน้าเรียบ ช่วยให้ง่ายต่อการทำความสะอาด หรืออาจบุด้วยกระเบื้องเคลือบ ช่วยให้สวยงามและทำความสะอาดได้ง่ายเช่นกัน
- ประตูห้อง ควรปิดมิดชิดแต่ไม่มีการล็อคกลอนจากด้านใน อาจเจาะเป็นช่องกระจำที่สามารถมองจากภายนอกเห็นภายในห้องได้
- จำนวนห้อง ควรมีอย่างน้อย 2 ห้อง เพื่อยกให้บริการสำหรับเพศชายและหญิง
- เครื่องใช้สำหรับห้องอบ ได้แก่
- ม้านั่งยาว 1-2 ตัว
- เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิภายในห้องอบ อุณหภูมิ 42-45°C ซึ่งสามารถตรวจสอบอุณหภูมิได้ที่ภายนอกห้อง
- นาฬิกาจับเวลาซึ่งสามารถตั้งเวลาได้
- เครื่องชั่งน้ำหนัก
- เครื่องวัดความดันโลหิต
- ปรอทวัดไข้
- หม้อต้มน้ำไฟฟ้าที่มีซึ้ง ตะแกรงเติมและเปลี่ยนถ่ายสมุนไพรได้สะดวก
- มีเครื่องชัดวัดระดับน้ำภายในหม้อต้มและสามารถควบคุมการปล่อยไอน้ำที่ต่อท่อไปยังห้องอบได้ตามความเหมาะสม
- พัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยการระบายอากาศภายในห้องอบหลังการใช้ห้องอบ
สมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพร
อาจใช้สมุนไพรสด หรือสมุนไพรแห้ง ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการหาได้ในแต่ละท้องถิ่น แต่สมุนไพรสดจะมีคุณภาพดีกว่าสมุนไพรแห้ง เพราะคุณภาพสมุนไพรสดจะลดน้อยลงขณะทำให้แห้ง และการซื้อสมุนไพรแห้งอาจเก่าและเสื่อมคุณภาพ
การใช้สมุนไพรสดมักไม่จำกัดชนิด อาจเพิ่ม หรือลดชนิดตามความต้องการในการใช้ประโยชน์ และยากง่ายในการจัดหา แต่ถือหลักว่า ควรมีสมุนไพรครบทั้ง 4 กลุ่มได้แก่
- สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม กลุ่มนี้มีสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคผิวหนัง ปวดเมื่อย หวัดคัดจมูก ตัวอย่างเช่น ไพล ขมิ้นชัน การใช้สมุนไพรสดควรเปลี่ยนถ่ายทุกวัน มิฉะนั้นอาจเน่า เกิดกลิ่นเหม็นแต่สมุนไพรแห้งอาจใช้ต่อเนื่องได้ 3-5 วัน
- สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว กลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งช่วยชะล้างสิ่งสกปรก และเพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนังตัวอย่างเช่น ใบมะขาม ใบและฝักส้มป่อย
- สารประกอบที่ระเหิดได้และมีกลิ่นหอม เมื่อถูกความร้อน เช่น การบูร พิมเสน
- สมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรค เช่น ต้องการรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้เหงือกปลาหมอ
ตัวอย่างสมุนไพรสด ที่ใช้ในการอบ
- ไพล : แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
- ขมิ้นชัน : แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
- กระชาย : แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ใจสั่น
- ตะไคร้ : ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
- ใบมะขาม : แก้อาการคันตามร่างกาย
- ใบเปล้าใหญ่ : ช่วยถอนพิษผิดสำแดง บำรุงผิวพรรณ
- ใบ-ลูกมะกรูด : แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
- ใบหนาด : แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย
- ใบส้มป่อย : แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
- ว่านน้ำ : ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
- พิมเสน การบูร : แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง
ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง ที่ใช้ในการอบ
- ไพล : แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
- ขมิ้นชัน : แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
- ตะไคร้ : ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
- ใบ-ผิวมะกรูด : แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
- ใบหนาด : แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย
- ว่านน้ำ : ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
- ใบส้มป่อย : แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
- เหงือกปลาหมอ : แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย
- ชะลูด : แก้ร้อนในกระสับกระส่าย ดีพิการ
- กระวาน : แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว
- เกสรทั้ง 5 : แต่งกลิ่น ช่วยระบบการหายใจ
- สมุลแว้ง : แต่งกลิ่น
- พิมเสน การบูร : แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง
โรค หรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
- โรคภูมิแพ้
- โรคหอบหืด ในระยะที่ไม่มีอาการรุนแรง
- เป็นหวัด น้ำมูกไหนแต่ไม่มีการแห้งตันของน้ำมูก
- โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่ หรือเป็นเฉพาะที่มีแต่หลายตำแหน่ง เช่น อัมพาต ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- โรคหรืออาการบางอย่าง เช่น ยอก โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ อาจต้องใช้การอบสมุนไพร ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม เช่น หัตถเวชกรรม ประคมสมุนไพร
- การส่งเสริมสุขภาพ และมารดาหลังคลอดบุตร
ข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร
- ขณะมีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เพราะอาจมีการการติดเชื้อโรคต่าง ๆ
- โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด
- มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ในรายที่มีความดันโลหิตสูงไม่เกิน 180 อาจให้อบได้ตามดุลยพินิจของแพทย์แต่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
- สตรีขณะมีประจำเดือน ร่วมกับมีอาการไข้ และปวดศีรษะร่วมด้วย
- มีการอักเสบจากบาดแผลต่าง ๆ
- อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่
- ปวดศีรษะชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้
การอบสมุนไพรแม้จะมีประโยชน์ แต่ควรเลือกอบสมุนไพรในสถานที่ที่มีมาตรฐาน สะอาด เพื่อความปลอดภัย และหากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้าอบสมุนไพรทุกครั้ง
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายและผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android