ยา Levofloxacin

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยา Levofloxacin

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Levofloxacin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Cravit, Cravit IV, Lefloxin, Levoflox GPO, Levores, Loxof, Olfovel, Veflox, Vocin, Voflox, Xalecin, Levocin

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Levofloxacin

เลโวฟลอกซาซิน (levofloxacin) เป็นยากลุ่ม ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ด มี 2 ขนาด ประกอบด้วยเลโวฟลอกซาซิน ขนาด 250 และขนาด 500 มิลลิกรัม ยาฉีด ประกอบด้วยเลโวฟลอกซาซิน ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัมต่อ 50 มิลลิลิตร และยาหยอดตา ประกอบด้วยเลโวฟลอกซาซิน ความเข้มข้น 0.5%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Levofloxacin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เลโวฟลอกซาซินเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (fluoroquinolone) ตัวยามีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ DNA ผ่านกระบวนการยับยั้งเอนไซม์ดีเอ็นเอ ไจเรส (DNA gyrase) และเอนไซม์โทพอยโซเมอเรส 4 (topoisomerase IV) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในแบคทีเรียที่จำเป็นในการเกิดกระบวนการจำลองตัวของ DNA การถอดรหัส การซ่อมแซม และการ recombination เลโวฟลอกซาซินมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อที่กว้าง (broad-spectrum) ทั้งต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และแบคทีเรียแกรมลบ

ข้อบ่งใช้ของยา Levofloxacin

ยาเลโวฟลอกซาซิน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ ไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดเฉียบพลัน ขนาดการยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 10-14 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคปอดบวม ชนิด CAP (community acquired pneumonia; CAP) และการติดเชื้อที่ผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันและรักษาการติดเชื้อแอนแทรกซ์จากการสูดดม ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษากรวยไตอักเสบ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 28 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาหลอดลมอักเสบกำเริบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดเฉียบพลัน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดเรื้อรัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 28 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ชนิดมีภาวะแทรกซ้อน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 500 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 250 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการมึนงง และวิงเวียนศีรษะได้ จึงไม่ควรขับรถหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรหลังจากรับประทานยา ผู้ป่วยอาจไวต่อแสงมากยิ่งขึ้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดจ้า

ยาเลโวฟลอกซาซิน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาเยื่อบุตาอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาหยอดตา ความเข้มข้น 0.5% วันแรกและวันที่สอง หยดยา 1-2 หยดลงบนตาที่มีการติดเชื้อ ทุกสองชั่วโมงขณะที่ตื่น สามารถหยดได้ถึง 8 ครั้งต่อวัน วันที่ 3-7 ให้ปรับการหยดยาเป็นทุก 4 ชั่วโมง สามารถหยดได้ถึง 4 ครั้งต่อวัน

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Levofloxacin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อควรระวังของการใช้ยา Levofloxacin

  • ไม่ใช้ยาผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือมีการแพ้ยาในกลุ่มควิโนโลน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วย myasthenia gravis
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยเอ็นอักเสบ หรือมีประวัติเอ็นเสียหายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาควิโนโลน
  • ระวังการใช้ยาผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัญหาการเต้นของหัวใจ แบบ QT interval prolongation
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมต่ำ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง หรือมีปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดการชัก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วย G6PD
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายไต ปอด หัวใจ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Levofloxacin

อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ มึนงง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ aortic aneurysm cardiac arrest ภาวะ QT prolongation Torsades de pointes หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว ผื่นแพ้ Steven-Johnson syndrome ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ โลหิตจาง ตับอักเสบ ตับวาย anaphylactoid การกำเริบของ myasthenia gravis เอ็นอักเสบ ไตวายเฉียบพลัน

ข้อมูลการใช้ยา Levofloxacin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Levofloxacin

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด ยาฉีดควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส 


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amoxicillin vs. Levaquin: Which Is Stronger and More Effective?. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/amoxicillin_vs_levaquin/article.htm)
Levofloxacin | Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/levofloxacin-oral-tablet)
Levofloxacin Uses, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mtm/levofloxacin.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม