การมีระดับความรู้สึกตัวลดลง คืออะไร เกิดขึ้นได้จากสาเหตุใดบ้าง สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ หากไม่ได้ควรปฏิบัติอย่างไร?
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อความรู้สึกตัว ในการทำงานของสมองจะต้องใช้ทั้งออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคส เพื่อให้สมองสามารถสั่งการได้ตามความเหมาสม โดยความรู้สึกตัวประกอบไปด้วยลักษณะที่สำคัญสองอย่าง ได้แก่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ความตื่นตัว : การรับรู้ถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมทั้งความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้
- การรับรู้ได้ : ถึงวัน เวลา และสถานที่ สามารถบอกได้ว่าตนเองเป็นใคร ขณะนี้อยู่ที่ใด รวมถึงวันและเวลาในปัจจุบัน
หากร่างกายได้รับสารบางอย่างที่มีผลต่อสมอง อาจทำให้ความรู้สึกตัวเพิ่มขึ้นหรือลดระดับลงก็ได้ เช่น คาเฟอีนสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองให้มากขึ้น แต่ยาแก้ปวด หรือยาระงับประสาทจะออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง ทำให้มีอาการซึมลงได้ ซึ่งถือเป็นการลดระดับความรู้สึกตัวอย่างหนึ่ง
การมีระดับความรู้สึกตัวลดลงในทางการแพทย์ สามารถแบ่งได้เป็นหลายระดับ ดังนี้
- ระดับสับสน (Confusion) : ภาวะที่เริ่มเกิดอาการสับสนมึนงง การรับรู้สิ่งต่างๆ การตัดสินใจ และความคิด มีความผิดปกติเล็กน้อย
- ระดับเลอะเลือน (Disorientation) : ภาวะที่เริ่มสูญเสียความสามารถในการรับรู้วัน เวลา สถานที่ และบุคคล โดยในระยะแรกจะเริ่มจากการรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ลดลง เช่น ไม่ทราบว่าเหตุใดตนเองจึงมาอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นต้น อาการรุนแรงสุด คือไม่สามารถรู้ว่าตัวเองเป็นใคร
- ระดับเพ้อคลั่ง (Delirium) : ภาวะสับสน ไม่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ ส่วนมากจะมีอาการเลอะเลือนร่วมด้วย และอาจแสดงอาการทางอารมณ์ออกมาได้ เช่น อารมณ์กลัว โกรธ หรือตื่นตระหนกกว่าปกติ
- ระดับเซื่องซึม (Lethargy) : ภาวะที่ความรู้สึกตัวลดลงโดยมีลักษณะคล้ายอาการง่วงซึม ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวลดลง
- ระดับกึ่งหมดสติ (Stupor) : ภาวะที่ระดับความรู้สึกตัวลดลงอย่างมาก มักไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว ยกเว้นการกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดที่ยังทำให้ตอบสนองได้บ้าง
- ระดับโคม่า (Coma) : ภาวะที่มีความรู้สึกตัวลดลงอย่างมากที่สุด มักไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นใดๆ เลย รวมทั้งการกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดด้วย
อาการของผู้ที่มีความรู้สึกตัวลดลง
หากความรู้สึกตัวลดลงไปจากเดิม จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้
- เกิดภาวะชัก
- สูญเสียการควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ทำให้มีปัสสาวะหรืออุจจาระราด
- มีการทรงตัวผิดปกติ ทำให้หกล้ม หรือเดินลำบากกว่าเดิม
- เป็นลม วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกเยอะ
- ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ความดันโลหิตต่ำ
- มีไข้
- แขนขาอ่อนแรง หรือปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
สาเหตุของการมีระดับความรู้สึกตัวลดลง
สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่
- การใช้ยาบางชนิด รวมถึงยาเสพติด
- การดื่มแอลกอฮอล์
- โรคลมชัก (Epilepsy)
- ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ภาวะสมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia)
ส่วนสาเหตุที่พบได้บ้างเป็นบางครั้ง ได้แก่
- เลือดออกในสมอง (Cerebral Hemorrhage)
- โรคบางโรค เช่น อัลไซเมอร์ (Alzheimer)
- อุบัติเหตุทางสมอง
- เนื้องอกในสมอง (Brain Tumours)
- โรคหัวใจ (Heart Disease)
- โรคลมแดด (Heat stroke)
- โรคตับ (Liver Disease)
- ภาวะไตวายเรื้อรังที่เกิดของเสียคั่งในร่างกาย (Chronic renal failure (CRF))
- ภาวะช็อก (Shock)
การวินิจฉัยภาวะความรู้สึกตัวลดลง
การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะความรู้สึกตัวลดลง จะเริ่มจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท โรคประจำตัว และประวัติการใช้ยาต่างๆ ด้วย เพื่อให้วินิจฉัยสาเหตุได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว แพทย์จะส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count (CBC)) : เพื่อดูความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด ใช้ในการประเมินภาวะซีด หรือ ภาวะการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในสมอง เป็นต้น
- ตรวจหาสารพิษ (Toxicology Screen) : เพื่อหาสารต่างๆ ในเลือด เช่น ยา สารเสพติด หรือสารพิษต่างๆ
- ตรวจระดับเกลือแร่ (Electrolyte Panel) : เพื่อวัดระดับความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต
- การตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Tests) : เพื่อวัดระดับโปรตีน เอนไซม์ตับ และบิลิรูบินในเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram (EEG)) : เพื่อหาความผิดปกติในการทำงานของสมอง
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (EKG)) : เพื่อหาความผิดปกติในการทำงานของหัวใจดูอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจ
- การเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-Ray) : ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องอก เช่น หัวใจ และปอด
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan) : เพื่อดูความผิดปกติทางโครงสร้างของสมอง
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI) : เพื่อดูความผิดปกติทางโครงสร้างของสมองอย่างละเอียด
การรักษาภาวะระดับความรู้สึกตัวลดลง
การรักษาภาวะระดับความรู้สึกตัวลดลง จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิด เช่น หากเกิดจากการใช้ยา ก็จะปรับวิธีใช้ยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นแทน ใหากเกิดจากภาวะเลือดออกในสมอง ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม อาจมีบางสาเหตุที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น ภาวะที่ความรู้สึกตัวลดลงจากโรคอัลไซเมอร์ แนวทางการรักษา คือการประคับประคองไม่ให้อาการแย่ลง รวมไปถึงการดูแลด้านอื่นๆ ให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มาของข้อมูล
Verneda Lights, Decreased Consciousness (https://www.healthline.com/health/consciousness-decreased), November 2017