คุณผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับอาการต่างๆ ที่มาพร้อมกับรอบเดือน ไม่ว่าจะเป็นอาการไม่สบายตัวก่อนมีประจำเดือน ปวดท้องน้อย หรือปวดศีรษะ อาการเหล่านี้ไม่ได้รุนแรงมากจนต้องเป็นกังวลแต่อย่างใด ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณสังเกตตัวเองว่าอาการแบบไหนปกติและอาการแบบไหนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
อาการปวดต่างๆ มักมาพร้อมกับรอบเดือน และสาวๆ เราต้องเผชิญกับอาการไม่สบายตัวก่อนการมีรอบเดือน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะตลอดช่วงเวลามีรอบเดือน ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ตามปกติและไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณสังเกตตัวเองว่าอาการแบบไหนปกติและอาการแบบไหนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
อาการ PMS คืออะไร
อาการก่อนการมีประจำเดือน หรือ PMS คือ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทางร่างกายหรือทางอารมณ์ที่สาวๆ หลายคนเป็นก่อนรอบเดือนจะมา หากคุณเคยมีอาการ PMS คุณอาจเคยเป็นเช่นนี้
- เป็นสิว
- ท้องอืด
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- ปวดหลัง
- ปวดคัดเต้านม
- ปวดศีรษะ
- ท้องผูก
- ท้องเสีย
- อยากอาหารมาก หิวตลอดเวลา
- รู้สึกซึมเศร้า
- มีอารมณ์หงุดหงิด
- อารมณ์แปรปรวน
- ไม่มีสมาธิ
- ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้
- รู้สึกเครียดและวิตกกังวล
- นอนไม่หลับ
อาการ PMS มักเกิดขึ้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนการมีรอบเดือนและอาการต่างๆ จะหายไปเมื่อรอบเดือนมา
เหตุใดสาวๆ หลายคนมีอาการ PMS
ยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจนจากแพทย์เกี่ยวกับสาเหตุของอาการ PMS แต่แพทย์เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างที่สาวๆ มีประจำเดือน และฮอร์โมนดังกล่าวจะลดต่ำลง 1 สัปดาห์ก่อนรอบเดือนจะเริ่ม อันเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้เกิดอาการ PMS นั่นเอง
ไม่มีคำตอบชัดเจนว่าทำไมผู้หญิงบางคนมีอาการ PMS ในขณะที่ผู้หญิงบางคนไม่มี อาจเป็นไปได้ว่าสาวๆ ที่มีอาการ PMS นั้น ร่างกายของพวกเธออ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหรืออาจเป็นเพราะอาหารที่ทานเข้าไปส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะเมื่อทาน 1-2 สัปดาห์ก่อนการมีประจำเดือน
สาวๆ สามารถใช้วิธีการเหล่านี้เพื่อเลี่ยงอาการ PMS – ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นและลดของทอดหรืออาหารมัน เช่น มันฝรั่งทอด หรือขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้ ควรลดอาหารที่มีรสเค็มหรือมีส่วนประกอบของโซเดียมสูง เนื่องจากเกลือหรือโซเดียมจะดูดซับน้ำในร่างกายและทำให้เกิดอาการท้องอืด ดังนั้นคุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ควรลดปริมาณการดื่มคาเฟอีนลง เนื่องจากคาเฟอีนจะทำให้คุณรู้สึกตื่นและวิตกกังวล ดังนั้น คุณควรพักผ่อนให้เพียงพอและทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินมากขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายหรือการนั่งสมาธิยังสามารถลดอาการ PMS ได้ด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เมื่อเกิดอาการ การรักษาด้วยยาสามารถช่วยได้ สาวๆ หลายคนใช้ยาแก้ปวด อย่าง Ibuprofen เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังหรือปวดศีรษะ แต่หากอาการเกิดขึ้นรุนแรง คุณควรปรึกษาแพทย์โดยตรง เนื่องจากแพทย์จะวินิจฉัยอาการปวดและสั่งยาให้ตรงกับอาการที่เกิดขึ้น และคุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการหดหู่หรือซึมเศร้าร่วมด้วย เพราะอาการเหล่านี้อาจทำให้คุณรู้สึกอยากทำร้ายตัวเองได้
ทำไมสาวๆ จึงมีอาการปวดท้องขณะมีรอบเดือน
สาวๆ จำนวนไม่น้อยมักมีอาการปวดท้องน้อยในช่วง 1-2 วันแรกที่มีรอบเดือน โดยอาการปวดเกิดจากสารเคมีโปรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีตามธรรมชาติในร่างกายที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว แต่อาการปวดจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันเท่านั้น แต่หากอาการปวดไม่หายไปตลอดช่วงระยะเวลาที่มีประจำเดือน คุณสามารถทานยา Ibuprofen เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดได้
นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น เนื่องจากเป็นการปลดปล่อยสารเอ็นดอร์ฟีนซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติในร่างกายทำให้คุณรู้สึกดีและมีความสุข การแช่ในอ่างน้ำอุ่นหรือการประคบถุงร้อนบริเวณหน้าท้องอาจไม่ได้ช่วยให้อาการปวดหายไปซะทีเดียวแต่วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ผ่อนคลายได้
หากคุณมีอาการปวดรุนแรงจนลุกไปทำกิจกรรมต่างๆ ไปโรงเรียน หรือแม้แต่ไปทำงานไม่ได้ และเมื่อทานยาแก้ปวดแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
เหตุใดรอบเดือนจึงมาไม่ตรงเวลาและขาดหายไปในบางเดือน
เด็กสาวที่เริ่มมีประจำเดือนอาจต้องใช้เวลา 1-2 ปี กว่าที่ประจำเดือนของพวกเธอจะมาเป็นประจำและตรงตามเวลา และถึงแม้จะมาเป็นประจำแล้ว รอบของการมีประจำเดือนอาจแตกต่างกันไปที่ 21-45 วัน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ช่วงห่างของการมีประจำเดือนสั้นลง เช่น ประจำเดือนมาก่อนกำหนด 2-3 วัน และอาจเลื่อนออกไป 7 วันในรอบเดือนถัดไป เป็นต้น นอกจากนี้ รอบเดือนของเด็กสาวๆ อาจขาดหายไปบางเดือน หรืออาจมีรอบเดือน 2 ครั้งติดต่อกัน อาจมีประจำเดือนปริมาณมาก หรือรอบเดือนถัดไปประจำเดือนมากะปริดกะปรอยมาก เป็นต้น หากคุณมีเพศสัมพันธ์แล้วพบว่าประจำเดือนขาดหายไป แนะนำให้รีบพบแพทย์เพราะคุณอาจกำลังตั้งครรภ์ก็เป็นได้
การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติดังที่กล่าวมาอาจทำให้คุณยุ่งยากไปบ้าง แนะนำให้คุณสังเกตและจดบันทึกวันเริ่มมีประจำเดือนของทุกๆ เดือนไว้ หากนับไปอีก 4 สัปดาห์ ประจำเดือนรอบถัดไปควรต้องมา หากสาวๆ กำลังกังวลว่าประจำเดือนอาจมาแบบกระทันหันในวันที่ใส่ชุดสวย แนะนำให้พกผ้าอนามัยไว้ในกระเป๋าเพื่อเตรียมพร้อมหรือใส่แผ่นอนามัยไว้เพื่อรับมือกับรอบเดือนที่อาจมากระทันหัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เมื่อสาวๆ มีประจำเดือน ทุกคนจะมีช่วงเวลารอบเดือนของตัวเองและจะเริ่มเป็นปกติและตรงเวลามากขึ้น หากผ่านไปแล้ว 3 ปี รอบเดือนยังมาไม่ปกติหรือประจำเดือนยังขาดหายไปในบางเดือนหรือบางครั้งหายไปหลายๆ เดือน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของคุณอาจกำลังมีอะไรผิดปกติอยู่ก็เป็นได้
ทำไมรอบเดือนยังไม่มาสักที
สาวๆ ทุกคนต้องผ่านวัยแรกรุ่นมาด้วยการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน เด็กสาวบางคนเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 8 หรือ 9 ขวบ ในขณะที่บางคนเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุ 15 ปี ความแตกต่างที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะระดับฮอร์โมนที่สร้างขึ้นมาในแต่ละคนและพันธุกรรมจากคนในครอบครัว
หากคุณอยากรู้ว่าประจำเดือนของคุณจะเริ่มเมื่อไหร่ ลองสอบถามคนในครอบครัวของคุณดู ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ คุณยาย หรือคุณย่า ว่าพวกเขาเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุเท่าไหร่ เพราะเมื่อคุณเริ่มเป็นหนุ่มสาว การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นมักเชื่อมโยงกับพันธุกรรมทางครอบครัวด้วย หรือหากการเปลี่ยนแปลงของคุณแตกต่างไปจากพวกเขา คุณอาจลองปรึกษาญาติเพราะพวกเขาอาจให้คำแนะนำคุณได้
สิ่งที่จะช่วยให้วัยเจริญพันธ์และประจำเดือนของคุณเริ่มต้นตามปกติ ได้แก่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง เต้นบัลเล่ เล่นกีฬา รวมถึงการทานอาหารให้ครบหมู่ ทานอาหารที่ให้พลังงาน มีส่วนประกอบของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย จะช่วยให้ร่างกายของคุณเจริญเติบโตตามวัย
อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายอย่างหนักและเข้มงวดเกินไปอาจส่งผลให้การเริ่มมีประจำเดือนเลื่อนออกไปได้ แต่ไม่ต้องกังวล หากประจำเดือนของคุณยังไม่มาในขณะที่คุณอายุ 15 ปีแล้ว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย โดยการตรวจภายในและตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ
แม้อาการต่างๆ ที่มากับการเริ่มมีประจำเดือนอาจทำให้เด็กสาวรู้สึกแปลกไปบ้าง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากอาการที่เกิดขึ้นรุนแรงและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก คุณควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ภาวะไม่มีประจำเดือน
ภาวะไม่มีประจำเดือน เป็นอาการที่เด็กสาวไม่มีประจำเดือน ซึ่งเด็กสาวที่มีอายุ 15 ปีแล้วแต่ยังไม่มีประจำเดือนเรียกได้ว่าอยู่ในภาวะดังกล่าว ภาวะนี้มีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลหรือพัฒนาการทางด้านร่างกายผิดปกติ
นอกจากนี้ ยังมีภาวะที่เรียกว่าภาวะขาดระดู กล่าวคือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อนมีภาวะขาดระดูไปนานอย่างน้อย 3 เดือน มีสาเหตุมาจากการที่ระดับฮอร์โมนจีเอ็นอาร์เอช (GnRH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่คอยควบคุมการตกไข่และรอบของการมีประจำเดือนลดต่ำลงส่งผลให้เกิดภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ความเครียด ภาวะเบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การหยุดใช้ยาคุมกำเนิด อาการไทรอยด์ และอาการซีสต์ที่รังไข่ อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณสาวๆ ได้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมน หากการใช้ยารักษาโรคส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอที่ไม่หักโหมจนเกินไปและการทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ จะช่วยให้ภาวะขาดประจำเดือนดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรขอคำแนะนำจากแพทย์ด้วยเช่นกัน
ภาวะประจำเดือนมามากกว่าปกติ
ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (AUB) เป็นภาวะที่มีประจำเดือนมาปริมาณมากๆ และมาในระยะเวลานานหลายวัน กล่าวคือมีประจำเดือนออกมามากกว่าปกตินานกว่า 1-2 วัน ทำให้สาวๆ ที่มีภาวะเช่นนี้ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมงหรือเพียงไม่กี่ชั่วโมง ร่วมกับอาการมีลิ่มเลือดและประจำเดือนมานานกว่า 7 วัน ซึ่งอาจทำให้พวกเธอต้องใช้ทั้งผ้าอนามัยธรรมดาและผ้าอนามัยแบบสอดพร้อมกันเพื่อป้องกันไม่ให้ประจำเดือนไหลซึมผ่านเสื้อผ้าออกมา
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะประจำเดือนมามากกว่าปกติ คือ ความไม่สมดุลระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ด้วยความไม่สมดุลนี้เองทำให้เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ และเมื่อร่างกายมีการกำจัดเยื่อบุมดลูกออกไปในช่วงที่มีประจำเดือนจึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะมีประจำเดือนออกมากผิดปกติ
เด็กสาวหลายคนมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งพวกเธอจะมีภาวะประจำเดือนมามากกว่าปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากโรคไทรอยด์ ภาวะเลือดออกผิดปกติ เกิดการอักเสบ หรือการติดเชื้อในช่องคลอดหรือปากมดลูก
เพื่อตรวจหาสาเหตุของการมีประจำเดือนมากผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจภายใน ตรวจแปปสเมียร์ ตรวจเลือด หรือตรวจอัลตร้าซาวด์ และหากพบสาเหตุแล้วแพทย์จะทำการรักษาโดยพิจารณาจากต้นเหตุของอาการเป็นหลัก
อาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง
อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ใช้กับอาการปวดที่เกิดจากการมีประจำเดือน ซึ่งอาการปวดประจำเดือนขั้นปฐมภูมิไม่ได้เกิดจากโรคหรืออาการป่วยใดๆ และเป็นปกติที่สาวๆ จะมีอาการปวดประจำเดือนขั้นปฐมภูมิมากกว่ามีอาการปวดประจำเดือนขั้นทุติยภูมิที่อาจเกิดจากโรคหรืออาการป่วยร่วมด้วย
สาเหตุของการปวดประจำเดือนขั้นปฐมภูมิคือโปรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่อยู่ในร่างกายทำให้เกิดอากาการปวดเกร็ง บางครั้งอาจทำให้มีอาการอื่นๆ ด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดหลัง ท้องเสีย และปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงเมื่อเป็นประจำเดือน
โชคดีที่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น โดยแพทย์มักจะสั่งยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนขั้นปฐมภูมิให้ นอกจากนี้ แพทย์จะแนะนำให้คุณใช้วิธีการบรรเทาอาการปวดอื่นๆ ด้วย เช่น การออกกำลังกายเบาๆ การใช้ถุงน้ำร้อนประคบที่หน้าท้อง หรือการทานยาคุมกำเนิด
ส่วนสาเหตุของอาการปวดประจำเดือนขั้นทุติยภูมิ ดังนี้
- เยื่อบุโพรงมดลูก (endometriosis) ที่โดยปกติแล้วจะเจริญเติบโตบริเวณมดลูกเท่านั้น แต่หากเจริญเติบโตผิดที่หรือเจริญเติบโตนอกมดลูกจะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง
- มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (PID) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- มีเนื้องอกบริเวณนอกมดลูก ภายในมดลูก หรือในผนังมดลูก
หากมีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง คุณจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุเพื่อการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
จะทำอย่างไรหากกำลังมีอาการข้างเคียงต่างๆ จากการมีรอบเดือน
หากสาวๆ มีคำถามเกี่ยวกับรอบเดือนหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อคุณพบว่ารอบเดือนของคุณมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม แม้ว่าอาการที่เกิดจากการมีประจำเดือนไม่ได้รุนแรงมากนักแต่การสังเกตและใส่ใจตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น จึงควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้
- รู้สึกหดหู่ซึมเศร้าหรืออาจคิดอยากทำร้ายตัวเอง เนื่องจากอาการ PMS ที่รุนแรง ซึ่งคุณต้องการความช่วยเหลืออย่างด่วนที่สุด
- เมื่ออายุ 15 ปีแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มา ให้พบแพทย์และแพทย์จะทำการประเมินหาสาเหตุของอาการ
- เกิดภาวะขาดระดู โดยขาดการมีประจำเดือนไปหลายรอบเดือนจากที่เคยมาอยู่เป็นปกติและเป็นประจำ ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังมีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลหรืออาจมีภาวะการขาดสารอาหาร
- เมื่อมีประจำเดือนมาในปริมาณมากและยาวนานผิดปกติ หรือมาติดๆ กันภายใน 1 รอบเดือน ถือว่าเป็นอันตราย เนื่องจากการขาดเลือดอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจาง นอกจากนี้ ยังทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าด้วย
- มีอาการปวดประจำเดือนมาก เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดและรักษาให้อาการปวดบรรเทาลง
จริงๆ แล้วอาการปวดประจำเดือนและอาการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลมากนัก แต่เมื่อคุณสังเกตเห็นความผิดปกติแล้ว การได้รับการรักษาดูแลอย่างทันท่วงทีจะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและอาการปวดต่างๆ ลงได้
ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens...