กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ซีสต์รังไข่ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

ซีสต์ในรังไข่ ความผิดปกติของรังไข่ที่ลุกลามกลายเป็นเชื้อมะเร็งได้
เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ซีสต์รังไข่ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ซีสต์ในรังไข่ เป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของประจำเดือนที่ไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน และคั่งสะสมจนร่างกายสร้างเนื้อเยื่อห่อหุ้มประจำเดือนเหล่านั้นเอาไว้ ซีสต์สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด และวิธีรักษาก็แตกต่างกัน
  • ช็อกโกแลตซีสต์ คือ หนึ่งในชนิดของซีสต์ที่หลายคนรู้จัก ทั้งยังทำให้เกิดอาการเจ็บปวดร้ายแรงได้ ควรรักษาโดยการผ่าตัดเอาออกจะดีที่สุด
  • โดยปกติซีสต์จะไม่มีอาการแสดงออกมาให้ผู้ป่วยรู้สึกผิดปกติ แต่ก็อาจสังเกตได้จากาอาการปวดท้องน้อย ท้องขยายใหญ่ ประจำเดือนมามาก หรือน้อยผิดปกติ
  • คุณสามารถรักษาอาการซีสต์ในรังไข่ได้โดยการรับประทานยาที่มีฮอร์โมน หรือผ่านการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง และตรวจภายในได้ที่นี่

“ซีสต์” เป็นอีกความผิดปกติหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศหญิง ซีสต์มีหลายประเภท มีทั้งชนิดที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย บางชนิดสามารถปล่อยเอาไว้ได้ และจะฝ่อหายไปเอง แต่บางชนิดก็มีโอกาสพัฒนาไปเป็นก้อนมะเร็งได้ 

ซีสต์สามารถเกิดได้ทั่วบริเวณของร่างกาย แต่จะเกิดได้มากที่สุดที่บริเวณรังไข่ของผู้หญิง ซึ่งส่วนมากจะทำให้เกิดอันตราย และอาการเจ็บปวดมากมายตามมา ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรรู้จักโรคซีสต์เอาไว้เพื่อจะได้รู้วิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความสำคัญของรังไข่

รังไข่ (Ovary) เป็นอวัยวะที่ตั้งอยู่บริเวณอุ้งเชิงกรานของมดลูกทั้ง 2 ข้าง เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการผลิต “ไข่” (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง โดยจะทำหน้าที่ตกไข่ในแต่ละรอบเดือน เพื่อให้พร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ 

นอกจากนี้ รังไข่ยังมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ทำให้ผู้หญิงมีรูปร่าง และลักษณะภายนอกที่บ่งบอกถึงความเป็นหญิงอย่างชัดเจน (Female secondary sex characteristics) เช่น 

  • มีเต้านม 
  • สะโพกผาย 
  • มีเสียงที่เล็ก 
  • ผิวพรรณดูเนียนละเอียดกว่าผู้ชาย 
  • มีประจำเดือน และเกิดการตั้งครรภ์ได้

แต่หากรังไข่มีสิ่งแปลกปลอม หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการป่วยตามมา ซึ่งรังไข่สามารถพบสิ่งผิดปกติได้หลากหลายประเภท โรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคมะเร็งรังไข่ โรคเนื้องอกในรังไข่ หรือซีสต์ที่รังไข่ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่พบมากที่สุด

ความหมายของซีสต์ 

ซีสต์ (Cyst) คือ สิ่งคล้ายถุงน้ำเป็นก้อนซึ่งภายในมักมีของเหลว ของแข็งกึ่งเหลว เซลล์เนื้อเยื่อที่เกิดผิดที่ หรืออาจแค่บรรจุอากาศเปล่าเอาไว้ก็ได้ ทำให้หลายคนมักเรียกซีสต์ว่า ”ถุงน้ำ” ด้วย ดังนั้น"ซีสต์ในรังไข่" กับ "ถุงน้ำในรังไข่" จึงเป็นโรคชนิดเดียวกัน แต่แค่ต่างชื่อเท่านั้น

ซีสต์มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และประเภทของมัน สามารถพบได้ทั้งภายในร่างกาย และภายนอกที่โผล่ให้เห็นตามผิวหนัง แต่บริเวณที่พบได้บ่อยจะเป็นรังไข่ของผู้หญิง

ที่มาของการเกิดซีสต์ในรังไข่นั้น มีต้นเหตุมาจากการตกไข่ที่เกิดการคั่งผิดปกติ หรือไข่ไม่ตกอย่างที่ควรจะเป็น จนเกิดเป็นถุงน้ำซึ่งก็คือซีสต์เกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ซีสต์ที่รังไข่มีกี่ประเภท

อวัยวะทุกอวัยวะภายในร่างกายของคนเรามีโอกาสจะเกิดซีสต์ได้ทั้งนั้น แต่หากพูดถึงเฉพาะ “ซีสต์ที่รังไข่” ก็ยังแบ่งออกได้อีกหลายประเภท บางประเภทเกิดแล้วสามารถฝ่อหายได้เอง บางประเภทก็ทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ 

ยิ่งหากซีสต์เกิดแตก และมีเลือดออก ก็จะไปรบกวนอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียงอื่นจนแสดงอาการเจ็บปวดออกมาให้เห็น และก็มีบางประเภทที่สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้

  • ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) เป็นซีสต์ที่พบได้บ่อยมากในเพศหญิง เกิดจากเวลามีประจำเดือน จะมีประจำเดือนบางส่วนไม่ไหลออกมา แต่กลับไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน และฝังตัวอยู่ตามที่ต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน จนทำให้ภายในร่างกายสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาหุ้มเอาไว้กลายเป็นถุงน้ำ

    ซึ่งประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงมีทุกเดือน จึงทำให้ประจำเดือนที่ไหลย้อนกลับเกิดการสะสมมากขึ้นทุกเดือน นานวันเข้าจึงมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดความเจ็บปวด ควรต้องได้รับการผ่าตัดออก

  • เดอร์มอยด์ ซีสต์ (Dermoid Cyst) ถุงน้ำชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มักจะพบเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายอยู่ภายใน เช่น เส้นผม ผิวหนัง หรือฟัน

    ถุงน้ำชนิดนี้มักจะไม่กลายเป็นเชื้อมะเร็ง แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอาจไปเบียดการทำงานของรังไข่ ทำให้รังไข่เกิดการบิดตัว หรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ

  • ฟังชั่นนัล ซีสต์ (Functional Cyst) เป็นถุงน้ำรังไข่ประเภทที่ไม่อันตราย เกิดขึ้นแล้วหายไปเอง มักขึ้นระหว่างการทำงานของรอบเดือนตามปกติ

  • ถุงน้ำเนื้องอกซีสตาดีโนมา (Cystadenomas) อาจพบได้ไม่บ่อยนักแต่ก็เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเนื้อเยื่อของรังไข่ มักขึ้นที่เนื้อเยื่อรังไข่และมีสารน้ำหรือเมือกอยู่ภายใน ถึงแม้จะไม่เป็นมะเร็งแต่มันสามารถโตจนมีขนาดใหญ่ได้

  • เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriomas) เป็นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญภายนอกมดลูก และเกาะติดตรงรังไข่ ทำให้พัฒนากลายมาเป็นซีสต์

สาเหตุการเกิดซีสต์ที่รังไข่ 

การเกิดซีสต์ที่รังไข่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซีสต์บางประเภทเกิดได้จากกรรมพันธุ์ และอีกหลายประเภทก็เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นมะเร็ง เช่น ไหม้เกรียม อาหารปนเปื้อนสารเคมี 

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย อยู่ในเขตอุตสาหกรรม มีปัญหาทางมลพิษ หรือบางคนมีปัญหาสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงก็อาจเกิดซีสต์ที่รังไข่ได้

อาการของการเป็นซีสต์ที่รังไข่

เมื่อซีสต์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงพบอาการที่แตกต่างกันตามไปด้วย บางประเภทเกิดขึ้นแล้วก็จะฝ่อหายไปได้เอง (Functional Cyst) บางชนิดมีโอกาสโตขึ้นเรื่อยๆ บางชนิดไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ จนกระทั่งซีสต์โต แต่บางชนิดก็ทำให้เจ็บปวดทรมานมาก 

อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่า ตนเองปวดท้องผิดปกติ ให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่า อาจจะเป็นซีสต์ที่รังไข่ก็ได้ อาการที่มักพบ คือ ปวดท้องแบบเจ็บลึก ปวดเป็นๆ หายๆ ปวดท้องคล้ายปวดไส้ติ่ง หรือกระเพาะอาหาร สามารถปวดได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะช่วงมีประจำเดือน หรือไม่มีก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการเมื่อเป็นซีสต์ในรังไข่ และวิธีวินิจฉัย

อาการเมื่อเกิดซีสต์ในรังไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิด และลักษณะของซีสต์ หรืออาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้ แต่โดยหลักๆ คุณสามารถสังเกตอาการได้ต่อไปนี้

  • ปวดท้อยน้อย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมาแบบกะปริดกะปรอย
  • อ้วนขึ้น
  • มีสิว
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องขยายใหญ่ขึ้นผิดปกติ

วิธีตรวจซีสต์ในรังไข่ที่ชัดเจนที่สุด คือ การทำอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน สามารถตรวจได้ 2 ที่ด้วยกัน ได้แก่ ทางหน้าท้อง และทางช่องคลอด  หรืออาจเป็นการส่องกล้องภายในช่องท้อง ทำร่วมกับตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาว่า ควรตรวจด้วยวิธีใด

วิธีรักษาซีสต์ในรังไข่

วิธีรักษาโรคซีสต์ในรังไข่แบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ 

  • วิธีรับประทานยา: ยาที่ใช้รับประทานเพื่อรักษาซีสต์ในรังไข่มักจะเป็นยากลุ่มที่มีฮอร์โมน หรืออาจไม่มีฮอร์โมนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยลักษณะซีสต์ที่เกิดขึ้น
  • วิธีผ่าตัด: ในปัจจุบันซีสต์สามารถรักษาได้ผ่านการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง เช่น แผลเล็ก ไม่ต้องพักฟื้นนาน โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมีต่ำ แต่มีข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างสูง

แต่ถึงแม้คุณจะรักษาซีสต์ในรังไข่จนหายดีแล้ว แต่ก็ยังต้องมาพบสูตนรีแพทย์อีกเป็นครั้งคราวเพื่อตรวจเช็กว่า มีซีสต์ในรังไข่เกิดขึ้นเพิ่มหรือไม่ 

วิธีป้องกันเป็นซีสต์ในรังไข่  

ซีสต์สามารถเกิดขึ้นได้กับร่างกายผู้หญิงทุกคน ทางที่ดีคุณควรหมั่นร่างกายร่างกายของตนเองว่า มีอาการคล้ายกับเป็นซรสต์หรือไม่

  • หากพบว่าปวดท้องรุนแรง ปวดบ่อย ปวดมากผิดปกติ หน้าท้องโตขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ พร้อมทั้งตรวจภายใน และตรวจอัลตร้าซาวนด์ด้วย เพื่อตรวจทั้งมะเร็งปากมดลูก เพราะหากร่างกายมีสิ่งผิดปกติก็จะสามารถพบได้จากการอัลตร้าซาวนด์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ หากเราออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทุกชนิด นอกจากนี้ น้ำหนักตัวที่พอดี ไม่มีภาวะอ้วน ยังลดความเสี่ยงทำให้ฮอร์โมนในรังไข่ทำงานผิดปกติด้วย
  • ดูแลสุจภาพจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมักมองข้าม แต่ความจริงแล้วเป็นบ่อเกิดแห่งโรคภัยมากมาย โดยเฉพาะคนที่มีความเครียดหรือกดดันมาก ๆ ต้องหาวิธีบริหารจิตใจบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากมายเลยทีเดียว 

ซีสต์ในรังไข่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และเป็นอุปสรรคในชีวิตประจำวัน หากคุณมีอาการคล้ายกับเป็นซีสต์ในรังไข่ อย่าลังเลที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้น เพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน อีกทั้งอาจลุกลามกลายเป็นเชื้อมะเร็งได้

ผู้หญิงทุกคนจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี เพราะยังมีโรคแทรกซ้อนมากมายที่เกิดขึ้นได้จากอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพียงแต่คุณแค่ไม่ทราบ และไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้เท่านั้นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจ PCOS ด้วยชุดตรวจถุงน้ำรังไข่หลายใบจาก Yesmom (Leevawell) | HDmall
รีวิว ตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ด้วยชุดตรวจฮอร์โมน Yesmom (Leevawell) | HDmall

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง และตรวจภาย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovarian Cysts (Functional Cyst on Ovary): Symptoms, Types, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/women/guide/ovarian-cysts)
Ovarian cysts: Symptoms, treatment, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/179031)
What Causes Ovarian Cysts? Symptoms, Treatment, Types & Ruptured. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/ovarian_cysts/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป