ช็อคโกแลตซีสต์

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ช็อคโกแลตซีสต์

“อาการปวดท้อง” เป็นอาการเตือนที่ชัดเจนกรณีที่จะเกิดช็อกโกแลตซีสต์ โรคนี้เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ปัจจุบันนี้พบว่ามีคนที่เป็นช๊อคโกแลตซีสต์เยอะขึ้น คนใกล้ตัวเป็นกันเยอะขึ้น ฉะนั้นอย่าชะล่าใจ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ต้องทำความรู้จักเอาไว้อย่างด่วน

ช็อกโกแลคซีสต์ คืออะไร?

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) เป็นอาการที่เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติภายในเยื่อบุโพรงมดลูก สาเหตุส่วนใญ่เกิดจากประจำเดือนที่ไหลออกมาไม่หมด หรือทางการแพทย์บางท่านเรียกว่าประจำเดือนไหลย้อนกลับ คือแทนที่เลือดจะไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ แต่กลับมีประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่น ๆ จนทำให้เกิดเป็นพังผืด หรือถ้าไหลไปที่รังไข่ ก็จะเกิดเป็นถุงน้ำและสามารถโตได้เรื่อย ๆ จนแตกได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ช็อกโกแลตซีสต์ มีอีกหลายชื่อเรียก เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือถุงน้ำช็อกโกแล็ต เหตุที่เรียกว่าช๊อกโกแลตนี้เนื่องจาก สีของเลือดประจำเดือนตกค้างที่เหมือนสีของช๊อกโกแลต การผิดปกติที่เซลล์เจริญเติบโตผิดที่นี้ จะเป็นอาการที่เกิดจากการสะสม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนไม่รู้ตัวเพราะไม่ได้รู้สึกเจ็บป่วยอะไร จนกระทั่งนานวันเข้าถุงน้ำโตเต็มที่จนเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง

อาการของคนที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์

บางคนที่เป็นช๊อกโกแลตซีสต์อาจเริ่มมีสัญญาณเตือนบางอย่าง แต่ที่อันตรายคือกลุ่มคนไม่มีสัญญาณเตือนอะไรเลย ไม่ปวดท้องแต่ร่างกายแอบสร้างถุงน้ำจนเกิดขนาดใหญ่แล้วจึงค่อยเกิดการอักเสบแล้วปวดรุนแรงในที่สุด สัญญาณต่อไปนี้จะช่วยบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังมีความเสี่ยงต่อการเป็นช๊อคโกแลตซีสต์เข้าแล้ว

  • ปวดท้องมากผิดปกติเวลามีประจำเดือน ปวดร้าวไปทั่วทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ร้าวไปทั่วอุ้งเชิงกราน บั้นเอว รวมถึงก้นกบ
  • โดยอาการปวดท้องนี้อาจเกิดได้ทั้งด้านซ้าย หรือด้านขวา หรือกลางท้อง (ตำแหน่งต่ำกว่าสะดือเหนือขาหนีบ) เพราะซีสต์สามารถเกิดได้ทั้งรังไข่ที่อยู่ด้านข้าง หรือบริเวณมดลูกซึ่งอยู่ตรงกลาง
  • คนที่ปวดท้องเวลามีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนหมดอาการปวดจะหายไป แต่ถ้าคนที่เป็นช๊อกโกแลตซีสต์ บางครั้งจะปวดแม้ประจำเดือนหมดแล้ว
  • โดยปกติประจำเดือนของคนเราอาจมาก่อนหรือหลังได้ 7 วัน แต่เมื่อไหร่ที่ประจำเดือนมาช้ากว่านั้น อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่าเราเริ่มมีความผิดปกติภายในเข้าแล้ว
  • มีเลือดออกในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน หรือเป็นประจำเดือนหมดไปแล้วกลับพบว่ามีเลือดออกอีกรอบ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น นั่นเป็นเพราะก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่จนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือดในช่วงมีประจำเดือน
  • มักจะปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ปวดไมเกรนบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน
  • บางรายอาจไม่มีอาการ แต่คลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อย
  • ถ้าเป็นคนผอมแต่มีพุง ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นภายในท้อง

ฉะนั้นคุณผู้หญิงทุกคนควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาสิ่งบกพร้องที่อาจเกิดขึ้น เพราะหากมีถุงน้ำหรือโพรงมดลูกทำงานไม่ปกติ จะสามารถมองเห็นด้วยการส่องกล้อง หรืออัลตร้าซาวนด์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงควรหมั่นสังเกตสุขภาพขอตัวเองว่ามีความผิดปกติเหล่านี้หรือไม่

อย่าชะล่าใจช็อกโกแล็ตซีสต์สามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกคน

ผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนแล้วจนกระทั่งจนถึงวัยหมดประจำเดือน สามารถมีความเสี่ยงที่จะเกิดช๊อกโกแลตซีสต์ได้ทุกคน เพราะเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนผู้หญิง โดยเฉพาะคนโสดหรือคนที่มีบุตรช้า หลายคนเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธุ์ หรือการที่มีลูกจะช่วยลดโอกาสการเกิดช๊อกโกแลตซีสส์ได้ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจและป้องกันไว้ก่อน ผู้หญิงทุกคนควรทำการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ไม่ว่าจะยังเป็นโสดหรือแต่งงานแล้วก็ตาม

 การรักษาเมื่อเป็นช็อกโกแล็คซีสต์

  • รักษาด้วยยา หากพบซีสต์ได้เร็วจะมีอันตรายน้อย เพราะยังเป็นก้อนที่มีขนาดเล็ก แพทย์อาจให้การรักษาด้วยยา เพื่อยังยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง เช่นการกินยาคุม และต้องหมั่นไปตรวจก้อนซีสต์บ่อย ๆ ว่ามีขนาดลดลงหรือไม่ อย่างไร
  • การผ่าตัด แต่ถ้าหากพบก้อนซีสต์เมื่อโตเต็มที่ หรือจนปวดท้องมาก ๆ แล้ว วิธีการรักษาคือต้องผ่าตัดเอาออก แต่โชคดีที่การผ่าตัดสมัยนี้มีให้เลือกทั้งการผ่าแบบเปิดหน้าท้องและการส่องกล้อง ทำให้ผู้ป่วยมีบาดแผลเล็กกว่า สูญเสียเลือดน้อยกว่า และฟื้นตัวเร็วกว่าด้วย

วิธีป้องกันการเกิดช็อกโกแลตซีสต์

การปวดเพราะช๊อกโกแลตซีสต์ นอกจากจะต้องปวดจนทรมานแล้ว ขนาดของมันยังเข้าไปเบียดรังไข่และท่อรังไข่จนคดงอ อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เสี่ยงที่จะผลิตไข่ไม่ได้คุณภาพ ไข่กับอสุจิที่ผสมกันได้แล้วอาจฝังตัวไม่สะดวก เป็นเหตุให้มีโอกาสที่จะมีบุตรยากนั่นเอง ทางที่ดีจึงควรป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

  • หมั่นสำรวจตัวเอง ว่ามีอาการของ โรคช็อกโกแลตซีสต์บ้างหรือไม่
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาความเสี่ยง หากไม่แน่ใจ แนะนำให้พบแพทย์ทันที
  • ดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของฮอร์โมนภายในร่างกายได้ดีที่สุด
  • เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน เพื่อป้องกันเลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ

 


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chocolate Cyst (Ovarian Endometrioma): Treatment, Fertility, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/womens-health/chocolate-cyst)
Chocolate cyst: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325014)
Takeuchi M, et al. (2006). Malignant transformation of pelvic endometriosis: MR imaging findings and pathologic correlation. DOI: (http://pubs.rsna.org/doi/10.1148/rg.262055041)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนเป็นประจําเดือน
อาการก่อนเป็นประจําเดือน

อย่าด่วนตัดสินว่า ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้กังวล ร้องไห้ง่าย คือนิสัยของผู้หญิง แท้ที่จริงอาจมาจากพีเอ็มเอสก็ได้

อ่านเพิ่ม
กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา กินหมดแผงแล้วก็ไม่มา ทำไงดี?
กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา กินหมดแผงแล้วก็ไม่มา ทำไงดี?

กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา ควรทำอย่างไรดี อ่านเลย

อ่านเพิ่ม