ประวัติย่อๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน

ก่อนจะมาเป็นผ้าอนามัยแบบปัจจุบันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? และผู้หญิงสมัยก่อนจัดการกับประจำเดือนกันอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประวัติย่อๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของมนุษยชาติพบว่า “ประจำเดือน” มักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งต้องห้าม สิ่งชั่วร้าย สิ่งสกปรก หรือสิ่งที่เป็นมลทิน แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อจัดการกับประจำเดือนแล้ว แต่ความเชื่อเดิมๆ ก็ทำให้สินค้าประเภทนี้ถูกกันออกจากสินค้ากระแสหลักของโลก

แม้จะมีเรื่องของความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้หยุดยั้งให้มนุษย์ยุติการพัฒนานวัตกรรมเพื่อจัดการกับประจำเดือน ซึ่งในปีค.ศ.1896 ก็ได้มีการออกแบบแผ่นอนามัยใช้แล้วทิ้งพร้อมกับวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกของโลก ผลตอบรับที่ได้คือยอดขายทั่วโลก และการโฆษณาอีกมากมายตามท้องตลาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประวัติศาสตร์ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน แบ่งตามศตวรรษ มีรายละเอียดดังนี้

คริสตศตวรรษที่ 18-19

ในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 18 สุภาพสตรีชั้นสูงในสังคมยุโรปและอเมริกาเหนือส่วนมากได้เย็บเศษผ้าสำหรับจัดการกับประจำเดือน แต่ด้วยความกังวลเรื่องของแบคทีเรียและความสะอาดเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ จึงผลักดันให้มีการผลิตสินค้าเพื่อผู้หญิงที่ถูกสุขอนามัยขึ้นมาตามท้องตลาด

ในระหว่างปีค.ศ.1854-1915 ได้มีสินค้าสำหรับประจำเดือนรูปแบบใหม่ ๆ เช่น

  • ถ้วยอนามัยชิ้นแรกของโลก ที่ผลิตมาจากอะลูมิเนียมหรือยางแข็ง ๆ
  • กางเกงยาง,
  • Lister’s towels (ต้นแบบของ Maxi Pads)

ในช่วงปีค.ศ.1870 สินค้าประเภทนี้ก็เริ่มมีการขายผ่านเซลล์ที่เคาะประตูตามบ้านเรือน และเริ่มมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สำหรับประจำเดือน เช่น

  • Ladies Elastic Doily Belt (เข็มขัดยางและไหมที่ใช้ยึดแผ่นอนามัย)
  • Antiseptic and Absorbent Pad

แม้จะเห็นความจำเป็นของสินค้าเหล่านี้ แต่นักออกแบบและนักธุรกิจหลายรายก็ยังความลังเลของสุภาพสตรีในการซื้อสินค้าเหล่านี้ เนื่องจากประเด็นเรื่องข้อห้ามต่างๆ ตามความเชื่อ และจากปัจจัยนี้ทำให้ Lister Towels ได้หายไปจากท้องตลาด แม้จะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากในปี ค.ศ.1896 ก็ตาม

คริสตวรรษที่ 19 ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1918)

ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีนางพยาบาลสังเกตเห็นว่า Cellulose มีความสามารถในการดูดซับเลือดได้ดีกว่าผ้าพันแผลทั่วไป จึงทำให้เกิดผ้าอนามัย Kotex ที่ทำจากผ้าพันแผลในสงครามซึ่งมีการดูดซับเลือดสูง วางจำหน่ายในปี ค.ศ.1918

ในปี ค.ศ.1921 Kotex กลายเป็นแบรนด์ผ้าอนามัย (Sanitary Napkin) ที่ประสบความสำเร็จในท้องตลาดมาก จึงกล่าวได้ว่าสงครามได้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้กับชีวิตของผู้หญิงทุกคน เพราะมีการส่งเสริมให้ผู้หญิงใช้สินค้าสำหรับประจำเดือนมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานและทำกิจกรรมนอกบ้านได้แบบไม่มีติดขัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คริสตศักราช 1930 - 1940

ถึงผ้าอนามัย Kotex จะได้รับความนิยมมาก และในปี ค.ศ.1933 ก็ได้มีการพัฒนาผ้าอนามัยแบบสอดขึ้นมาในชื่อ “Tampax” แต่ก็ยังมีผู้หญิงมากมายที่ใช้ผ้าอนามัยแบบทำเองจนถึงปี ค.ศ. 1940

ด้วยความกังวลด้านสุขอนามัย เพราะหลายคนมองว่าผ้าอนามัยเป็นแหล่งของเชื้อโรค ทำให้หลายคนลังเลที่จะใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะเกรงว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะเช่นกัน รวมถึงยังมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นละเอียดอ่อนในเพศหญิง เช่น

  • เหยื่อพรมจรรย์ที่เกี่ยวข้องกับความบริสุทธิ์
  • การสำเร็จความใคร่จากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
  • ความสามารถในการใช้คุมกำเนิด

ซึ่งในปี ค.ศ.1942 ก็ได้มีแพทย์หญิงชาวอังกฤษคนหนึ่งกล่าวว่าการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ได้ทำให้เกิดการถลอกและแผลบนปากช่องคลอด แต่ถ้าใช้เป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้จริง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมสำหรับประจำเดือนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ของผู้บริโภคมากที่สุด

คริสตศักราช 1950-1990

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความสงบสุข ความรัก และเพลงร็อค ในปี ค.ศ.1972 ก็ได้มีการวางจำหน่ายแผ่นอนามัยแบบไม่มีเข็มขัดพร้อมความสามารถในการรองรับประจำเดือนได้มากน้อยแตกต่างกันไป รวมถึงการวางจำหน่ายแผ่นอนามัยที่มีขนาดเล็กลง และในปี ค.ศ.1980 ก็ได้มีการวางจำหน่ายแผ่นอนามัยแบบมีปีกหลายรูปแบบในชื่อของ Maxi Pads

ส่วนผ้าอนามัยแบบสอดก็ยังคงมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็มีรายงานเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพที่มาจากการใช้ผ้าอนามัยประเภทนี้มากถึง 5,000 กรณีเช่นกัน ส่วนมากเป็นรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคท็อกซิคช็อค (Toxic Shock Syndrome (TSS)) ในปี ค.ศ.1979-1996 และผู้ป่วยส่วนมากก็มีความเชื่อมโยงกับยี่ห้อผ้าอนามัยแบบสอดบางยี่ห้อ และวัสดุที่ใช้บางอย่างซึ่งในปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว

ในปี ค.ศ. 1956 ได้มีการพัฒนาถ้วยอนามัยใหม่ด้วยการใช้วัสดุที่อ่อนนุ่มกว่าเดิมและทำให้ถ้วยมีลักษณะคล้ายกับถ้วยอนามัยที่มีอยู่ในยุคปัจจุบันมากขึ้น

คริสตศักราช 2000-ปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มีตัวเลือกของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนมากมายให้เลือกใช้ เช่น

  • ผ้าอนามัยแบบมีปีก-ไม่มีปีก ซึ่งมีทั้งแบบหนา-บางแตกต่างกันไป
  • ผ้าอนามัยแบบสอด
  • ถ้วยอนามัย ที่มีขนาดเล็กลงและใช้ง่ายมากขึ้น
  • ผ้าอนามัยอินทรีย์ที่ทำจากผ้าฝ้าย
  • ผ้าอนามัยแบบกางเกง

ในอนาคตก็คงจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สุภาพสตรีสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นเสมือนวันที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน

ที่มาของข้อมูล

Jennifer Kotler, A short history of modern menstrual products (https://helloclue.com/articles/culture/a-short-history-of-modern-menstrual-products), 21 พฤศจิกายน 2018.


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Facts on Tampons—and How to Use Them Safely. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/facts-tampons-and-how-use-them-safely)
Pads and Tampons (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/pads-tampons.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป