กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

5 โรคอันตรายสำหรับเด็กที่มากับหน้าฝน

เด็กเป็นวัยที่ยังมีภูมิต้านทานน้อย เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก จึงต้องเพิ่มความใส่ใจพวกเขาให้มากโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5 โรคอันตรายสำหรับเด็กที่มากับหน้าฝน

ฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำมาที่่มาพร้อมกับอากาศอันชื้นแฉะ เป็นโอกาสอันดีที่เชื้อโรคจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและแพร่ระบาดได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะ “เด็ก” ที่ภูมิต้านทานโรคยังมีไม่มากพอซึ่งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย  มาดูกันว่า 5 โรคอันตรายสำหรับเด็กที่มากับหน้าฝนมีอะไรบ้าง เพื่อหาวิธีรับมือและป้องกันไม่ให้บุตรหลานตกเป็นเหยื่อของโรคเหล่านี้

รู้จักโรคอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

  1. ไข้หวัดใหญ่
    สาเหตุ  : ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ บี และซี  
    อาการ  : มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอมาก ในเด็กทารกอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือดจนถึงช๊อคและเสียชีวิตได้
    การป้องกัน : สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือเด็กที่มีโรคประจำตัวควรได้รับวัคซีนป้องกัน เพราะหากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้สูง
  2. มือเท้าปาก
    สาเหตุ  : ติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอไวรัสมีหลายสายพันธุ์  โดยไวรัสชนิด EV71 จัดเป็นชนิดที่มีความรุนแรงสูง
    อาการ  : เจ็บปาก มีแผลเล็กๆ หลายจุดในปากก่อน อาจมีไข้ร่วมด้วย อาเจียน ท้องเสีย ต่อมาจะเริ่มมีตุ่มน้ำใสๆ ตามฝ่ามือฝ่าเท้า ก้น หรือตามลำตัว
    ความรุนแรง : อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนทางสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมอง เนื้อสมอง ไขสันหลังอักเสบ และมีอาการเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ภาวะหายใจและหัวใจล้มเหลวได้ จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้
    การป้องกัน : ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสในกลุ่มเอนเทอไวรัสและชนิด EV71 นอกจากเตรียมตัวดูแลลูกอย่างใกล้ชิดหากติดเชื้อเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน  แต่หากติดเชื้อนี้แล้วจะมีภูมิคุ้นกันไวรัสชนิดนี้ไปได้ระยะหนึ่ง
  3. ไข้เลือดออก
    สาเหตุ  : การติดเชื้อไวรัสเดงกี่ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ ติดต่อโดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคด้วยการดูดเลือดผู้มีเชื้อไวรัสนี้ไปกัดคนอื่นๆ ต่อนั่นเอง
    อาการ  : มีไข้สูงเฉียบพลันราว 5-6 วัน อาจมีอาการหวัด ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้อาเจียน  หากไม่ได้รับการรักษาจะอ่อนเพลียมากขึ้น ปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และผิวหน้า ดูแดงๆ มีเลือดออกตามร่างกายเช่น ไรฟัน เลือดกำเดาไหล ปัสสาวะน้อยลง ความดันโลหิตต่ำ และชีพจรเต้นเบา อาจเสี่ยงต่อการช็อกจากเลือดออกภายในและเสียชีวิตได้
    การป้องกัน : ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้เลือด นอกจากหาวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัด ดังนั้นหากบุตรหลานมีไข้สูงอย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบพาไปพบแพทย์
  4. ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง
    สาเหตุ  : ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า
    ความรุนแรง : หากอาการรุนแรงและรักษาไม่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตได้
    อาการ  : ท้องเสีย อาเจียน บางรายมีไข้สูง  รับประทานอาหารได้น้อย
    การป้องกัน : สำหรับเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนป้องกันซึ่งเป็นวัคซีนชนิดรับประทาน ควรดูแลความสะอาดของเด็ก ของเล่น และของใช้ต่างๆ
  5. ไอพีดีและปอดบวม
    สาเหตุ  : ติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและระบบประสาท เยื่อหุ้มสมอง
    ความรุนแรง : หากเกิดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อาจพิการ หรือเสียชีวิตได้  องค์การอนามัยโลกพบว่า แต่ละปีจะมีเด็กเสียชีวิตจากโรคปวดบวมถึง 2 ล้านคนต่อปี นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
    อาการ : หากติดเชื้อที่ระบบประสาท เยื่อหุ้มสมอง เด็กจะมีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง งอแง ซึมและชักได้  แต่หากติดเชื้อที่กระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง งอแง อาจช็อกและเสียชีวิตได้
    การป้องกัน : สำหรับเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน และควรฉีดต่อไปตามกำหนด

เตรียมความพร้อมป้องกันโรคที่มากับหน้าฝน

ในช่วงหน้าฝน พ่อแม่และผู้ปกครองควรเพิ่มความใส่ใจบุตรหลานมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลานเจ็บป่วย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันฝน เช่น เสื้อกันฝน ร่ม หมวก  ดูแลเสื้อผ้าไม่ให้เปียกชื้น รวมทั้งร่างกายเด็กต้องแห้งและอบอุ่นอยู่เสมอ
  2. การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มที่ดีมีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ
  3. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังกลับเข้ามาถึงบ้าน และทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. สังเกตอาการผิดปกติของบุตรหลาน เช่น มีไข้  จาม ไอ เซื่องซึม เบื่ออาหาร หรือรับประทานได้น้อย  อาเจียน อ่อนเพลีย

เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา มาดูแลบุตรหลานของเราในช่วงหน้าฝนที่โรคระบาดชุกชมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรครุมเร้า เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีในฤดูอื่นๆ ต่อไป แต่หากบัตรหลานมีอาการผิดปกติควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที อย่านิ่งนอนใจ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี (http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/CPGDengue-56.pdf).
อ. พญ. โสภิตา บุญสาธร, “โรคที่มากับฝน ตอน IPD” Hot Health Clips (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/guide/hot_health_clips/0001).
อ. พญ. โสภิตา บุญสาธร, "โรคที่มากับฝนในเด็ก ตอน มือเท้าปาก” Hot Health Clips (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/guide/hot_health_clips/0003).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป