ท้องเสีย (Diarrhea) อาการธรรมดาๆ ที่อย่ามองข้าม!

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ท้องเสีย (Diarrhea) อาการธรรมดาๆ ที่อย่ามองข้าม!

อาการท้องเสีย (Diarrhea) อย่างเช่น ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ บางทีอาจถ่ายวันละหลายๆ ครั้งจนหมดแรงแทบเดินไม่ไหว เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ซึ่งส่วนมากจะเกิดจากการทานอาหารไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน แต่บางครั้งก็เกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน อาการท้องเสียมักสร้างความทรมานและความลำบากในชีวิตประจำวันโดยไม่มีอันตรายมากนัก แต่บางครั้งถ้าอาการรุนแรงมากก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายได้

อาการท้องเสียมีอะไรบ้าง?

อาการโดยทั่วไปคือถ่ายเหลวเป็นน้ำเกินกว่า 3 ครั้ง ภายใน 1 วัน อาจมีอาการปวดบิดเกร็งท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเป็นมูกเลือดได้บ้าง ซึ่งอาการเหล่านี้นับว่าเป็นอาการธรรมดาที่ไม่รุนแรง แต่หากมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ให้พึงระวังไว้ว่าอาการท้องเสียของเราอาจไม่ใช่อาการธรรมดาอีกต่อไป โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัยควรไปหาหมอโดยด่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ท้องเสียติดต่อกันเกินกว่า 1 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการขาดน้ำจากการท้องเสียรุนแรง เช่น อ่อนเพลียมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปากแห้ง ตาลึกโบ๋
  • ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด อุจจาระมีสีดำ หรืออุจจาระเหลวเหมือนน้ำซาวข้าว
  • ตัวร้อน มีไข้สูงกว่า 39 องศา

สาเหตุของท้องเสีย

  • เกิดจากการติดเชื้อ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดท้องเสีย คือการทานน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อที่สามารถก่อโรคท้องเสียได้มีหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย สายพันธุ์ E.coli, Salmonella spp., Vibrio spp. และ Shigella spp. เป็นต้น เชื้อไวรัส เช่น Rotavirus และ Norovirus ซึ่งมักก่อโรคท้องร่วงในเด็ก เชื้อปรสิตและอะมีบา เช่น E.histolytica, G.lamblia และพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

  • ทางเดินอาหารผิดปกติ

โรคในทางเดินอาหารที่ทำให้มีอาการท้องเสีย ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และมะเร็งลำไส้ เป็นต้น

  • แพ้อาหาร

บางคนอาจขาดเอนไซม์ในการย่อยอาหารบางชนิด เมื่อทานอาหารเหล่านั้นเข้าไปจะเกิดอาการท้องเสียได้ เช่น ผู้ที่แพ้แลคโทสในนม เมื่อดื่มนมจะท้องเสีย หรือผู้ที่แพ้กลูเทนก็มักมีอาการท้องร่วงเมื่อทานอาหารที่มีกลูเทนรวมอยู่ หรือแม้แต่การทานอาหารรสจัด ในบางคนอาจเกิดความระคายเคืองกับเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการท้องเสียได้เช่นกัน

  • เป็นผลข้างเคียงจากยา

ยาหลายชนิดมีผลให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่น ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน และยาปฏิชีวนะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หากมีอาการท้องเสียเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้สงสัยว่าอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่องได้ เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือมีเชื้อ HIV

บกพร่องได้ เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือมีเชื้อ HIV

การรักษาอาการท้องเสีย

อาการท้องเสียหากไม่รุนแรงจะสามารถหายเองได้ เมื่อร่างกายกำจัดเชื้อก่อโรคและสารพิษออกได้หมด วิธีรักษาและปฐมพยาบาล คือการให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทน เนื่องจากร่างกายสูญเสียไปจากการถ่ายหลายครั้ง ดังนั้น หากมีอาการท้องเสีย อันดับแรกควรดื่มน้ำเกลือหรือเครื่องดื่มเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและแร่ธาตุ ซึ่งถือเป็นภาวะที่อันตรายมากถึงชีวิต นอกจากนี้ อาจทานยาอื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ผงถ่านกำจัดสารพิษ และยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย

นอกจากนี้ แนะนำว่าระหว่างมีอาการควรทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ซุป ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารรสจัด เพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานหนักเกินไป

การป้องกันท้องเสีย

  • ทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารเก็บค้างคืน อาหารสุกๆ ดิบๆ และมีกรรมวิธีการปรุงที่ไม่สะอาด
  • รักษาสุขอนามัยของร่างกาย โดยหมั่นล้างมือให้สะอาด รวมถึงดูแลที่อยู่อาศัย ภาชนะใส่อาหารและอุปกรณ์ทานอาหารให้สะอาดอยู่เสมอ
  • งดทานอาหารที่ทานแล้วถ่ายท้อง เช่น คนที่แพ้แลคโทสควรลดการทานนมวัว แต่หันมาทานนมถั่วเหลือง หรือนมที่ปราศจากแลคโทสแทน รวมถึงบางคนอาจต้องลดอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มคาเฟอีนด้วย

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, Diarrhea (https://www.healthline.com/health/diarrhea), September 26, 2019
medicalnewstoday.com, Diarrhea (https://www.medicalnewstoday.com/articles/158634.php), November 28, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)