กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคมือเท้าปาก

ทั้งอาการ การติดต่อ การป้องกัน การวินิจฉัยโรค การรักษา และภาวะแทรกซ้อน
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปากหรือ Hand, Foot, Mouth Disease นั้นเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน และเป็นคนละโรคกับโรคเท้าและปาก

โรคมือเท้าปากนั้น มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสค็อกแซ็กกี ชนิดเอ 16 (Coxsackie Virus A16) ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคมือเท้าปากที่รุนแรง และมีอาการที่ไม่ได้พบบ่อยได้ หรือจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอ็นเทโร (Entero Virus) ตัวอื่นก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในลักษณะนี้ได้ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ เด็กๆ อาจเป็นโรคนี้ได้มากกว่า 1 ครั้ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของโรคมือเท้าปาก

อาการที่พบบ่อยของโรคนี้ มักคงอยู่ประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้นเด็กบางคนจะเริ่มมีผิวหนังที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าลอก หรืออาจเกิดเล็บผิดรูปร่างได้ ตั้งแต่การเกิดร่องในเล็บจนถึงเล็บหลุด 

  • มีแผลในปาก (มักเกิดที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม) 
  • มีตุ่มน้ำที่มือและเท้า (มักเป็นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า) 
  • มีไข้ต่ำๆ 

อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมได้ คือ มีผื่นที่ก้นและขา และอาจมีอาการเจ็บปากจากแผลที่เกิดขึ้นได้ 

การติดต่อของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก หรืออุจจาระ ผู้ป่วยจึงมักติดเชื้อจากการกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือเล่นของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อ ฉะนั้นเด็กที่อยู่ร่วมกันกับเด็กคนอื่นๆ ที่โรงเรียน เนอร์สเซอรี่ หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก จึงหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ยาก ทำให้เด็กส่วนใหญ่จึงต้องเคยเป็นโรคนี้

เด็กที่เป็นโรคนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้มากที่สุดเมื่อพวกเขามีแผลในปากในช่วงสัปดาห์แรก แต่ก็มีเด็กหลายคนที่มีการติดเชื้อ Coxsackie Virus แต่ไม่มีอาการ ซึ่งก็ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ 

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

ล้างมือและหลีกเลี่ยงการสัมผัสการคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก 

การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก

การวินิจฉัยโรคนี้มักใช้อาการเป็นหลัก การวินิจฉัยโรคอาจยากขึ้นในเด็กที่ไม่ได้มีอาการที่พบบ่อย คือ มีแผลในปาก และมีตุ่มที่มือและเท้า เด็กบางคนอาจมีเฉพาะแผลในปาก (herpangina) หรือมีเฉพาะผื่นได้ เป็นต้น

การรักษาโรคมือเท้าปาก

ไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะสำหรับโรคนี้ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ เช่นการให้สารน้ำและยาแก้ปวดลดไข้ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้ในขณะที่รอให้โรคนี้หายไปเอง 

สำหรับอาการเจ็บปากนั้น อาจใช้ Benadryl และ Maalox ผสมกันในสัดส่วนที่เท่ากันเพื่อช่วยในการบรรเทาอาการปวด อย่าให้พวกเขาบ้วนทิ้ง และอย่าลืมตรวจสอบว่าคุณไม่ได้ใช้ยา Benadryl เกินขนาดที่ลูกของคุณสามารถใช้ได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคมือเท้าปาก

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและต้องเฝ้าระวังคือภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะหากลูกของคุณมีอาการเจ็บปากและไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ดี


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hand, Foot, and Mouth Disease (HFMD). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hand-foot-mouth/index.html)
Hand, Foot, and Mouth Disease: Rash Pictures, Symptoms, & Treatment (https://www.webmd.com/children/guide/hand-foot-mouth-disease#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก

วิธีการจัดการโรคมือเท้าปาก อาการเป็นอย่างไร วิธีรักษาและป้องกันมีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม