กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อีสุกอีใส

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
อีสุกอีใส

อีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคสำหรับเด็กที่เกิดขึ้นบ่อยที่เด็กส่วนมากจะประสบสักช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิต ภาวะโรคนี้จะก่อให้เกิดผื่นจุดแดงคันที่จะเปลี่ยนไปเป็นตุ่มหนอง หลังจากนั้นตุ่มเหล่านี้จะแห้งและหลุดออกไปเอง

เด็กบางคนที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสจะมีจุดบนร่างกายเพียงไม่กี่จุด แต่เด็กบางคนก็อาจจะเกิดจุดทั่วร่างกายก็ได้ ซึ่งมักจะปรากฏออกมาบนใบหน้า หูและหนังศีรษะ ใต้แขน บนหน้าอกและหน้าท้อง กับบนแขนขา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อีสุกอีใสเกิดมาจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า  varicella-zoster ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

อีสุกอีใสเป็นโรคที่เกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีมากที่สุด โดยผู้ใหญ่มากกว่า 90% จะมีภูมิต้านทานโรคนี้เพราะเคยเป็นโรคนี้มาก่อนตอนที่ยังเด็กนั่นเอง เด็กมักจะติดเชื้ออีสุกอีใสในช่วงฤดูหนาว

สิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อจัดการกับอีสุกอีใสได้

ในการป้องกันการแพร่เชื้ออีสุกอีใส คุณควรให้เด็กพักฟื้นที่บ้านไปจนกว่าจุดบนร่างกายจะหายไป

อีสุกอีใสจะแพร่เชื้อได้ง่ายภายในช่วง 1 หรือ 2 วันก่อนจะปรากฏผื่น และจนกว่าตุ่มหนองจะลอกออกไป (มักจะใช้เวลา 5 ถึง 6 วันก่อนเริ่มมีผื่น)

หากลูกคุณป่วยเป็นอีสุกอีใส พยายามไม่พาพวกเขาไปที่คับคั่งเพื่อเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นที่ยังไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาร้ายแรง อย่างเช่นทารกแรกเกิด ผู้หญิงมีครรภ์ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ (อย่างเช่นผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดเคมีหรือกำลังทานยาสเตียรอยด์อยู่)

การรักษาโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสในเด็กถูกนับว่าเป็นโรคไมรุนแรงที่จะก่อให้เด็กมีความรู้สึกไม่สบายตัวและฉุนเฉียวบ้างเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในช่วงไม่กี่วันหลังป่วยเด็กจะมีไข้เล็กน้อย และจุดบนร่างกายจะทำให้คันอย่างมาก

ยังไม่มีวิธีรักษาอีสุกอีใส มีการการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคอย่างเช่นยาพาราเซตตามอลเพื่อลดไข้ และครีมคาลาไมน์กับเจลทำความเย็นเพื่อลดอาการคันเท่านั้น

สำหรับเด็กส่วนมากตุ่มหนองจะแตกและหลุดออกไปเองตามธรรมชาติภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

อีสุกอีใสส่วนมากจะไม่รุนแรงและหายไปเอง แต่ก็มีบางกรณีที่เด็กที่ป่วยจะประสบกับอาการรุนแรงจนต้องไปพบแพทย์

ให้ติดต่อแพทย์ทันทีที่เด็กมีอาการผิดปรกติต่าง ๆ เช่น

  • หากตุ่มหนองบนผิวหนังเกิดการติดเชื้อ
  • หากลูกของคุณรู้สึกเจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก

อีกทั้งคุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่ไม่มั่นใจว่าตัวคุณหรือลูกของคุณเป็นอีสุกอีใสหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ควรติดต่อแพทย์อย่างฉุกเฉินหากคุณสัมผัสกับผู้เป็นอีสุกอีใส หรือคุณมีอาการของอีสุกอีใสขณะที่:

  • กำลังตั้งครรภ์อยู่
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่
  • ลูกของคุณป่วยและมีอายุน้อยกว่า 4 สัปดาห์

ผู้ป่วยอีสุกอีใสในกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูงหากไม่ได้รับการรักษา

โรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่

อีสุกอีใสถูกจัดว่าเป็นโรควัยเด็ก แต่ผู้ใหญ่เองก็สามารถเป็นอีสุกอีใสได้เช่นกัน อีสุกอีใสมักจะมีความรุนแรงมากขึ้นกับผู้ใหญ่ อีกทั้งผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูงมากอีกด้วย

ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสควรหยุดงานไปจนกว่าจุดบนร่างกายจะหลุดออก และควรไปพบแพทย์หากประสบกับอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่นมีตุ่มหนองติดเชื้อ เป็นต้น

ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสมักจะตอบสนองได้ดีกับการใช้ยาต้านไวรัสในช่วงต้นของการเจ็บป่วย

ผู้ใดมีความเสี่ยงต่อโรคอีสุกอีใสเป็นพิเศษ?

เด็กและผู้ใหญ่กลุ่มจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาร้ายแรงจากการป่วยเป็นอีสุกอีใสมากกว่าผู้อื่น ดังนี้:

  • สตรีมีครรภ์
  • ทารกแรกเกิด
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

คนกลุ่มนี้ต้องไปพบแพทย์ทันทีที่เริ่มแสดงอาการของอีสุกอีใสหรือมีการสัมผัสกับต้นตอของไวรัสอีสุกอีใส

แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อมองหาว่าร่างกายพวกเขามีภูมิคุ้มกันอีสุกอีใสหรือไม่

โรคอีสุกอีใสกับการตั้งครรภ์

คาดกันว่ามีกรณีผู้ป่วยอีสุกอีใส 3 รายจากกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ 1,000 คน ซึ่งโรคนี้จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับแม่และเด็กในครรภ์ได้

โรคอีสุกอีใสกับโรคงูสวัด

เมื่อคุณเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน คุณจะมีภูมิต้านทานการติดเชื้อตัวเดิมและจะไม่ป่วยเป็นอีสุกอีใสอีก อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใสก็จะไม่ถูกกำจัดออกจากร่างกาย เพียงต่ออยู่ในสภานะจำศีลอยู่ที่เนื้อเยื่อประสาทของร่างกายและสามารถกลับมามีชีวิตใหม่ได้ในรูปแบบของภาวะที่เรียกว่าโรคงูสวัด

คุณสามารถติดเชื้ออีสุกอีใสจากผู้ที่ป่วยเป็นงูสวัดได้ แต่ผู้ที่ป่วยเป็นงูสวัดจะไม่สามารถติดเชื้ออีสุกอีใสได้

มีวัคซีนต่อสู้กับโรคอีสุกอีใสหรือไม่?

มีวัคซีนที่ใช้ต่อกรกับโรคอีสุกอีใสอยู่ แต่เป็นวัคซีนที่ไม่ได้ใช้เป็นแผนการรักษาอีสุกใสในเด็กตามปกติ วัคซีนดังกล่าวจะมีไว้สำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากอีสุกอีใสเท่านั้น

วัคซีนที่ใช้สองโดสนี้คาดว่าจะให้ผลป้องกันโรคอีสุกอีใสสูงถึง 98% ในเด็ก และ 75% ในผู้ใหญ่

ด้วยโอกาสดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนยังคงมีอยู่ แปลได้ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนก็สามารถกลายเป็นอีสุกอีใสหลังจากเข้าใกล้หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ด้วย

อาการของโรคอีสุกอีใส

อาการที่สังเกตได้ง่ายที่สุดของอีสุกอีใสคือมีจุด จุ่มหนอง ผื่นแดงที่สามารถปกคลุมไปทั่วร่างกายได้

1.จุดตามร่างกาย

จุดที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ และมักอยู่บน:

  • หลังหู
  • บนใบหน้า
  • บนหนังศีรษะ
  • บนหน้าอกและหน้าท้อง
  • บนแขนขา

อย่างไรก็ตามจุดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นบนตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้แม้แต่ภายในหูหรือในปาก บนฝ่ามือ ฝ่าเท้า  เป็นต้น

แม้ว่าในตอนแรกผื่นจะเกิดขึ้นเป็นจุดแดงคันเล็ก ๆ ผื่นเหล่านี้ก็สามารถโตขึ้นจนกลายเป็นตุ่มหนองที่จะมีอาการคันมากขึ้นหลังจาก 12-14 ชั่วโมง

หลังจากมีอาการประมาณสองวัน ของเหลวในตุ่มหนองจะเริ่มขุ่นและแห้งก่อนที่จะหลุดออกมา

หลังจากนั้นหนึ่งถึงสองสัปดาห์ ผิวหนังที่มีอาการจะหลุดลอกออกมาตามธรรมชาติ สามารถเกิดจุดขึ้นใหม่ได้อีกหลาย ๆ ครั้งเป็นเวลา 3 ถึง 5 วันหลังจากที่เริ่มมีผื่นขึ้น

2.รู้สึกไม่สบาย

  • ก่อนจะเกิดผื่น คุณหรือลูกของคุณจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดเล็กน้อยบ้าง ดังนี้:
  • รู้สึกไม่สบาย
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกคลื่นไส้
  • ไม่อยากอาหาร
  • อาการที่คล้ายกับไข้หวัด โดยเฉพาะการมีไข้มักจะพบได้บ่อย และจะรุนแรงมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่

3.อาการที่ไม่ปรกติ

เด็ก (และผู้ใหญ่) ที่มีสุขภาพดีส่วนมากจะฟื้นตัวจากโรคอีสุกอีใสและไม่มีอาการป่วยทิ้งท้ายใด ๆ หากดูแลตนเองและพักผ่อนร่างกายเพียงพอเหมือนกับกรณีการรักษาตนเองจากไข้หวัดทั่วไป แต่บางกรณี เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสบางรายก็สามารถประสบกับอาการรุนแรงได้

คุณควรติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณหรือลูกของคุณมีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปรกติ อย่างเช่น:

  • ผิวหนังรอบตุ่มหนองมีสีแดงและเจ็บปวดมาก
  • เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก
  • มีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ อย่างเช่นเด็กทารกมีการปัสสาวะใส่ผ้าอ้อมน้อย ง่วงนอน มือและเท้าเย็น

ในกรณีเช่นนี้อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่ทางโรงพยาบาลจัดหามาให้

สาเหตุของโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสเกิดจากไวรัส varicella-zoster ที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัสเชื้อโรค

อีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อได้ง่าย โดยผู้ป่วยประมาณ 90% ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนจะติดเชื้อหลังจากสัมผัสกับผู้ที่มีไวรัส

คุณติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใสได้อย่างไร?

ไวรัสอีสุกอีใสจะแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นจากผู้ที่มีผื่นจากโรคนี้ ตุ่มหนองที่เกิดขึ้นก็สามารถแตกออกได้ง่ายมาก ซึ่งสารคัดหลั่งที่ออกมาสามารถปนเปื้อนกับสิ่งของต่าง ๆ ได้ ทำให้ไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ด้วยการหยิบจับสิ่งของและสัมผัสกับใบหน้าตนเอง

ไวรัสอีสุกอีใสสามารถปะปนอยู่ในละอองที่มาจากจมูกและที่ปากของผู้มีเชื้อได้หลายล้านตัว ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เชื้อไวรัสเข้าไปเกาะตามสิ่งของต่าง ๆ

โดยส่วนมากอาการของอีสุกอีใสจะใช้เวลา 14 วันกว่าจะแสดงอาการ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวจะแตกต่างกันตามกรณีบุคคลตั้งแต่ 7 วัน ไปจนถึง 21 วัน ซึ่งช่วงเวลานี้จะเรียกว่า “ระยะฟักตัว”

ผู้ป่วยอีสุกอีใสบางคนจะแพร่เชื้อได้ง่ายมากตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 2 หลังจากปรากฏผื่น และจนกว่าตุ่มหนองจะลอกออกหมด ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 6 วันนับตั้งแต่เริ่มมีผื่น

โรคงูสวัด

หากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน คุณสามารถติดเชื้ออีสุกอีใสได้จากผู้ป่วยงูสวัดได้ โดยคุณสามารถมั่นใจได้ว่าคุณเป็นอีสุกอีใสจากอาการอย่างมีไข้อ่อน ๆ ตามมาด้วยผื่นคันกับตุ่มหนองตามร่างกาย

จุดที่เกิดจากอีสุกอีใสจะมีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัดพอจะวินิจฉัยโรคได้ง่าย ๆ กระนั้นภาวะนี้ก็อาจจำสับสนกับภาวะผิวหนังอื่น ๆ อย่างแผลแมลงกัดต่อย หรือโรคหิด

หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับอาการที่ประสบอยู่ คุณสามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเลือดหาไวรัสก็ได้

การตรวจเลือด

เมื่อคุณติดต่อแพทย์แล้ว คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาว่าคุณมีภูมิต้านทานอีสุกอีใสหรือไม่

หากคุณเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนในอดีตจะทำให้การที่เป็นโรคเดิมซ้ำอีกนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่หากคุณไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนหรือคุณไม่แน่ใจตนเอง คุณก็ควรต้องเข้ารับการตรวจภูมิต้านทาน

การตรวจเลือดประเภทนี้จะมีเพื่อตรวจสอบว่าร่างกายคุณผลิตแอนติบอดีออกมากับไวรัสอีสุกอีใสหรือไม่

หากผลการตรวจเลือดแสดงให้เห็นว่าคุณมีตัวแอนติบอดีดังกล่าว คุณจะมีภูมิต้านทานไวรัสอีสุกอีใส แต่หากไม่พบ คุณจะต้องถูกสอดส่องอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อจับตาดูอาการของอีสุกอีใส และหากเกิดขึ้นมา คุณจะถูกส่งไปรับการรักษาตามความจำเป็นทันที

การรักษาโรคอีสุกอีใส

ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอีสุกอีใส แต่ไวรัสก็มักจะหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ

อย่างไรก็ตามก็มีวิธีบรรเทาอาการคันและความไม่สบายเนื้อสบายตัวอยู่มากมาย อีกทั้งยังมีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นอีกด้วย

1.ยาแก้ปวด

หากลูกของคุณเจ็บปวดหรือมีไข้สูง คุณสามารถให้ยาแก้ปวดอ่อนอย่างพาราเซตตามอลแก่พวกเขาได้ (หาได้จากร้านขายยาทั่วไป) และทุกครั้งต้องอ่านคำแนะนำที่ฉลากยาก่อนใช้ทุกครั้ง

ยาพาราเซตตามอลเป็นยาแก้ปวดที่แนะนำให้ใช้รักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคอีสุกอีใสที่สุดเนื่องจากการใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ในการรักษาจะมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับที่ผิวหนังระหว่างที่ป่วยเป็นอีสุกอีใส (เช่นยาอิบูโพรเฟน)

เลี่ยงการใช้ยาอิบูโพรเฟนกับเด็กที่เป็นโรคหอบหืดหรือมีประวัติเคยมีปัญหาที่กระเพาะอาหาร หากคุณไม่มั่นใจว่าลูกของคุณสามารถใช้ยาอิบูโพรเฟนได้หรือไม่คุณก็สามารถปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนได้ หากลูกของคุณมีอายุต่ำกว่า 3 เดือน คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวดทุกประเภทก่อนทุกครั้ง

ห้ามให้ยาแอสไพรินกับเด็กที่ป่วยเป็นอีสุกอีใส

หากคุณกำลังตั้งครรภ์และต้องใช้ยาแก้ปวด ให้เลือกใช้ยาพาราเซตตามอลก่อนเป็นอันดับแรก ยาตัวนี้สามารถใช้ได้กับทุกช่วงครรภ์ มีเพียงยาอิบูโพรเฟนที่สามารถใช้ได้ระหว่างช่วงไตรมาสที่สองของอายุครรภ์ (ช่วง 14-27 สัปดาห์)

หากคุณกำลังตั้งครรภ์และป่วยเป็นอีสุกอีใส คุณควรไปพบแพทย์ทันที โดยคุณอาจต้องได้รับยาต้านไวรัสหรือรับการรักษาสารภูมิต้านทานแทน

2.ดื่มน้ำให้มาก

ผู้ป่วยอีสุกอีใสทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

3.การเกา

อีสุกอีใสจะก่อให้เกิดอาการคันรุนแรง แต่กระนั้นก็ไม่ควรให้เด็กและผู้ใหญ่เกาจุดที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการเป็นแผลเป็นในอนาคต

วิธีเลี่ยงการเกาวิธีหนึ่งคือการตัดเล็บมือให้สั้นและดูแลความสะอาดของเล็บมือตลอดเวลา คุณสามารถจับเด็กเล็กสวมถุงมือตอนกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาเกาผื่นขณะนอนหลับได้ หากผิวหนังของเด็กมีอาการปวดหรือคันมาก คุณสามารถใช้เจลทำความเย็นหรือโลชั่นคาลามายน์ที่หาซื้อได้จากร้านขายยาได้

ยาชนิดที่ออกฤทธิ์แรงกว่าที่เรียกว่าโคลเฟนามินก็สามารถบรรเทาอาการคันได้ ซึ่งยาตัวนี้เป็นยาทานสำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

4.สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม

หากลูกของคุณมีไข้ หรือผิวหนังมีอาการปวด คุณควรแต่งตัวพวกเขาด้วยเสื้อผ้าที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป พยายามใช้เสื้อผ้าหลวม ๆ เรียบที่ทอจากผ้าไหมเพื่อไม่ให้เครื่องนุ่งห่มสร้างความระคายเคืองแก่ผิวหนัง หากลูกของคุณเป็นอีสุกอีใส เลี่ยงการอาบน้ำเย็น เพราะอาจทำให้พวกเขารู้สึกหนาวสั่นได้

การรักษาชนิดแรงขึ้น

ยาต้านไวรัส

Aciclovir เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส ยาตัวนี้สามารถจ่ายให้กับ:

  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ใหญ่ ที่เข้าพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีผื่น
  • ทารกแรกเกิด
  • ผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ หากต้องการผลที่ดีที่สุด ต้องใช้ยา Aciclovir ภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีผื่นขึ้น ยาตัวนี้ไม่ได้มีเพื่อรักษาอีสุกอีใส แต่มีเพื่อทำให้อาการต่าง ๆ ลดระดับความรุนแรงลง ปกติแล้วคุณต้องใช้ทานยาตัวนี้ 5 ครั้งต่อวันต่อเนื่องไป 7 วัน

หากคุณกำลังใช้ยา Aciclovir คุณต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ ตลอดวัน โดยผลข้างเคียงของยาตัวนี้จะหายาก แต่หากเกิดขึ้นก็จะก่อให้เกิดความรู้สึกคลื่นไส้และท้องร่วง

การรักษาสารต้านภูมิต้านทาน

สารต้านภูมิต้านทานเป็นสารละลายแอนติบอดีที่นำมาจากร่างกายผู้บริจาคที่มีสุขภาพดี ซึ่งเป็น Varicella-zoster immunoglobulin (VZIG) ที่ประกอบไปด้วยแอนติบอดีที่ตรงกับเชื้อไวรัสอีสุกอีใส

การรักษาสารต้านภูมิต้านทานจะดำเนินการด้วยการฉีดเข้าร่างกาย ซึ่งไม่ได้มีเพื่อรักษาอีสุกอีใส แต่มีเพื่อป้องกันผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีสุกอีใสรุนแรง หรือดำเนินการกับกลุ่ม:

  • สตรีมีครรภ์
  • ทารกแรกเกิด
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ในกรณีของสตรีมีครรภ์ การรักษาสารต้านภูมิต้านทานยังช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะติดเชื้อเช่นกัน

และเนื่องจาก VZIG มีจำนวนจำกัดทำให้การดำเนินการรักษาประเภทนี้จะถูกพิจารณากับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงดังนี้:

  • ผู้ที่สัมผัสกับไวรัสโดยตรง เช่นผู้ที่สัมผัสใบหน้าผู้ติดเชื้ออีสุกอีใส
  • ผู้ที่อยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วยอีสุกอีใสนานกว่า 15 นาที
  • ผู้ที่เคยตรวจเลือดและยืนยันว่าไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน

ในบางกรณีอาจดำเนินการรักษาสารต้านภูมิต้านทานกับเด็กทารกแรกเกิดโดยที่ไม่ต้องทำการตรวจเลือดก่อนก็ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอีสุกอีใส

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอีสุกอีใสจะหายากมากกับเด็กที่มีสุขภาพดี ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยนั้นคือการที่ตุ่มหนองติดเชื้อแบคทีเรีย

สัญญาณที่ตุ่มหนองเกิดการติดเชื้อคือผิวหนังโดยรอบตุ่มมีสีแดงและปวด

หากคุณคาดว่าตุ่มหนองของเด็กเกิดติดเชื้อ คุณควรติดต่อแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทันที

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอีสุกอีใสอื่น ๆ ในเด็ก

โรคอีสุกอีใสสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงกับระบบประสาท (สมองและไขสันหลัง) ของเด็กได้เช่นกันแม้จะเกิดขึ้นได้ยากมากก็ตาม

ภาวะดังกล่าวรวมไปถึงการติดเชื้อที่สมอง ที่เยื่อหุ้มรอบสมอง หรือส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่าซีลีเบลลัม

สัญญาณของปัญหาเหล่านี้มีดังนี้:

  • หมดเรี่ยวแรง
  • ง่วงนอน
  • สับสน
  • ชักเกร็ง
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • คอแข็ง
  • พฤติกรรมเปลี่ยน
  • มีปัญหากับการเดิน สมดุล หรือการพูด

ให้ไปพบแพทย์ทันทีที่ลูกของคุณประสบกับอาการเหล่านี้หลังจากมีอีสุกอีใส

กลุ่มเสี่ยง

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอีสุกอีใสมีดังนี้: 

1.ผู้ใหญ่

โรคอีสุกอีใสมักจะรุนแรงมากขึ้นหากเป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนมากต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล คาดกับว่าผู้ป่วยอีสุกอีใสที่เป็นผู้ใหญ่ 5-14% จะมีปัญหาเกี่ยวกับปอดร่วมด้วย เช่นปอดบวม หากคุณเป็นคนสูบบุหรี่ คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่ปอดสูงขึ้น

แม้ว่าอีสุกอีใสจะรุนแรงขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถฟื้นตัวจากไวรัสอีสุกอีใสได้สมบูรณ์ดี

2.สตรีมีครรภ์

หากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ การเป็นอีสุกอีใสในบางกรณีก็อาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนได ยกตัวอย่างเช่น คุณจะเสี่ยงต่อภาวะปอดบวมสูงขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะหากคุณสูบบุหรี่ และยิ่งคุณมีอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไร ความเสี่ยงต่อภาวะบอดปวดจะก็รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

หากคุณป่วยเป็นอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงรุนแรงที่เล็กน้อยต่อทารกในครรภ์ด้วย หากคุณป่วยในช่วงที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ทารกจะมีความเสี่ยงต่อภาวะ  foetal varicella syndrome (FVS)

กลุ่มอาการนี้เป็นโรคหายาก โดยความเสี่ยงที่จะเกิดกับช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์แรกนั้นมีน้อยกว่า 1% และเมื่อมีอายุครรภ์ระหว่าง 13 กับ 20 สัปดาห์ ความเสี่ยงจะอยู่ที่ 2%

มีรายงานเพียงไม่กี่ชิ้นที่กล่าวว่า FVS เกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 ถึง 28 และคาดกันว่ามีความเสี่ยงอยู่ที่น้อยกว่า 1%

FVS สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้: รอยแผลเป็น เกิดความผิดปรกติที่ดวงตา เช่นเกิดต้อกระจก อวัยวะแขนขาสั้น ความเสียหายที่สมอง

อีกทั้งยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกิดจากการป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์เช่นกัน

และการป่วยระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย (คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์)

หากคุณติดเชื้ออีสุกอีใส 7 วันก่อน หรือ 7 วันหลังจากคลอด ทารกอาจจะประสบกับโรคอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้ ในบางกรณีที่ร้ายแรงนั้น อีสุกอีใสที่ทารกเป็นก็นับเป็นเรื่องที่อันตรายถึงชีวิตเช่นกัน

ให้คุณไปพบแพทย์ทันทีที่คุณตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดไม่เกิน 7 วันและคาดว่าตนเองป่วยเป็นอีสุกอีใส หรือคุณสัมผัสกับเชื้อจากผู้ป่วยอีสุกอีใส

3.ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะมีวิธีการป้องกันโรคภัย เชื้อแบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ อยู่ แต่หากระบบนี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจนมีการผลิตแอนติบอดีออกมาน้อยเกินไป คุณอาจจะมีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างเช่นโรคอีสุกอีใส เป็นต้น

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถอ่อนแอลงได้จากการรับยากดภูมิ ยากดภูมิคุ้มกันอย่างยาเม็ดสเตียรอยด์มีเพื่อใช้ต่อสู้กับภาวะอักเสบต่าง ๆ อย่างโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพุ่มพวง หรือโรคเลือดต่าง ๆ

หากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสเพิ่มขึ้น ซึ่งมีดังนี้:

  • ภาวะเลือดเป็นพิษ
  • ปอดบวม
  • ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ให้ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอและสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีสุกอีใสมา

การป้องกันการแพร่กระจายโรคอีสุกอีใส

หากลูกของคุณป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส คุณควรให้พวกเขาหยุดเรียนและพักฟื้นไว้ที่บ้านเป็นเวลา 5 วัน

หากคุณป่วยเป็นอีสุกอีใส คุณควรหยุดงานและพักฟื้นไว้ที่บ้านไปจนกว่าจะหายจากการติดเชื้อโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งอาจจะสังเกตได้จากการหลุดลอกของตุ่มหนองเม็ดสุดท้าย ซึ่งมักเป็นช่วงห้าหรือหกวันหลังจากเริ่มมีผื่น

ขณะที่คุณกำลังมีเชื้ออีสุกอีใสอยู่ คุณควรเลี่ยงการสัมผัสกับ: สตรีมีครรภ์ ทารกแรกเกิด ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างผู้ที่เข้ารับการบำบัดเคมี หรือกำลังทานยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

การเดินทางบนอากาศยาน

หากลูกของคุณป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส คุณจะไม่สามารถขึ้นเที่ยวบินได้จนกว่าตุ่มเม็ดสุดท้ายจะหายไป 6 วัน

หลังจากช่วงแพร่เชื้อดังกล่าวหยุดลง และตุ่มหนองทั้งหมดลอกออก คุณและลูกจะสามารถขึ้นบินได้อีกครั้ง กระนั้นคุณก็ควรตรวจสอบนโยบายของสายการบินก่อนทุกครั้ง และทำการแจ้งสายการบินทันทีที่มีการวินิจฉัยโรคอีสุกอีใสแล้ว

การระงับการแพร่กระจายของไวรัส

โรคอีสุกอีใสจะสามารถแพร่กระจายได้ด้วยการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ เช่นของเล่นเด็ก เตียงนอน หรือเสื้อผ้า

หากสมาชิกในครัวเรือนป่วยเป็นอีสุกอีใส คุณสามารถระงับการแพร่กระจายของเชื้อได้ด้วยการเช็ดสิ่งของด้วยยาฆ่าเชื้อและซักล้างเสื้อผ้าหรือผ้าปูเตียงทั้งหมดเป็นประจำ

การฉีดวัคซีน

ณ ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคอีสุกอีใสอยู่ ซึ่งมักจะใช้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีสุกอีใสประเภทรุนแรง หรือมีโอกาสส่งต่อเชื้อให้กับผู้ที่มีความเสี่ยง

  • ผู้ที่แพทย์จะพิจารณาการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสมีดังนี้:
  • ผู้ทำงานด้านสุขภาพอนามัยที่ยังไม่มีภูมิต้านทานอีสุกอีใส เช่นพยาบาลที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน และผู้ที่สามารถแพร่เชื้อใส่ผู้ป่วยที่ต้องทำการรักษาได้
  • ผู้ที่อาศัยร่วมกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นเด็กเล็กที่อยู่กับผู้ใหญ่ที่ต้องเข้ารับการบำบัดเคมี

วัคซีนไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์ และควรเลี่ยงการตั้งครรภ์ประมาณ 3 เดือนหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน อีกทั้งวัคซีนก็ไม่เหมาะสมกับผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเช่นกัน

วัคซีนมีประสิทธิภาพขนาดไหน?

ขนาดของวัคซีนที่แนะนำให้ใช้คือ 2 โดส และคาดการณ์ว่าจะมีฤทธิ์ป้องกันอีสุกอีใสได้ถึง 98% สำหรับเด็ก กับ 75% สำหรับผู้ใหญ่ แปลได้ว่ายังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีนอีสุกอีใสมีกี่ชนิด ฉีดอายุเท่าไร หาคำตอบได้ที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/varicella-zoster-virus).
medlineplus.gov, Chickenpox (https://medlineplus.gov/chickenpox.html)
webmd.com, What is Chickenpox? (https://www.webmd.com/children/what-is-chickenpox)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป