กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.นันทิดา สาลักษณ
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.นันทิดา สาลักษณ

โรคอีสุกอีใส (Chicken pox)

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) อาการเด่นคือ ผื่นแดง ตุ่มใส และตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย ระหว่างที่มีผื่นและตุ่มต่างๆ ขึ้นนี้จะมีอาการคันมาก ร่วมกับมีไข้และไม่มีแรง
  • เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตและส่วนมากจะไม่เป็นซ้ำอีก แต่เชื้อไวรัสอาจหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ภายหลังหากมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง เชื้อไวรัสที่ว่านี้ก็อาจจะก่อให้เกิดโรคงูสวัดตามมาได้
  • กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโรคอีสุกอีใส ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 ถ้าติดเชื้ออาจทำให้ทารกพิการได้ หญิงใกล้คลอด หากติดเชื้อในระยะก่อนคลอด 5 วันหรือหลังคลอด 2 วัน ทารกที่เกิดมาอาจเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้
  • ปัจจุบันมีวัคซีนอีสุกอีใสที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ หรือลดความรุนแรงของโรคได้หากติดเชื้อ วัคซีนนี้สามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้การป้องกันโรคที่สำคัญคือ การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

อีสุกอีใส หรือโรคสุกใส (Chicken pox) เป็นโรคที่มีอาการเด่นคือ ตุ่มแดง ตุ่มใส และตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย คัน ร่วมกับมีไข้และไม่มีแรง พบได้บ่อยในฤดูร้อน เกิดบ่อยในเด็กและพบประปรายในผู้ใหญ่

เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว โรคนี้ก็มักทิ้งร่องรอยแผลเป็นไว้ให้ดูต่างหน้าอีก แต่ข้อดีของโรคนี้ก็ยังพอมีคือ เมื่อเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตและส่วนมากจะไม่เป็นซ้ำอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของโรคอีสุกอีใส 

โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) แต่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Chicken pox" ลักษณะจะมีตุ่มเหล่านี้ขึ้นมาตามร่างกาย เรียกว่า "ตุ่มอีสุกอีใส" 

เมื่อเป็นแล้วโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำน้อยมาก เนื่องจากร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านไวรัสขึ้นมา 

อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสจะยังไม่หายไปจากร่างกายแต่เชื้ออาจหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ภายหลังหากมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุด้านโรคภัยไข้เจ็บ หรือการเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น 

เชื้อไวรัสที่ว่านี้ก็อาจจะก่อให้เกิดโรคงูสวัด (Shingles) ได้

สาเหตุของโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่เชื้อได้หลายทาง เช่น

  • มีการสัมผัสกับการไอ จาม ของผู้ป่วย
  • สัมผัสกับตุ่มน้ำ หรือของเหลวภายในตุ่มนั้น
  • โรคอีสุกอีใสส่วนมากจะพบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่อาจพบได้ในผู้ใหญ่ ซึ่งอาการจะรุนแรงกว่าและเป็นนานกว่าเด็ก โดยปกติจะใช้ระยะฟักตัวประมาณ 14-17 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัสก่อนที่จะแสดงอาการของโรค

หลังจากเกิดผื่นแล้วผู้ป่วยไม่ควรออกไปภายนอก และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย จากนั้นประมาณ 7-10 วันผื่นจะแห้งและตกสะเก็ด หลังจากสะเก็ดหลุดหมดจะถือว่า เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่แพร่โรคสู่ผู้อื่นแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยเสี่ยงของการติดโรคอีสุกอีใส

  • ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำจะเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงกว่าคนปกติ
  • หญิงตั้งครรภ์ โอกาสที่จะติดโรคสูงจะอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 รวมถึงในช่วงสัปดาห์ที่ 13 และ 20 ของการตั้งครรภ์ด้วย อัตราความเสี่ยงจะสูงขึ้นมากที่สุดในช่วง 5 วันก่อนคลอดและ 2 วันหลังคลอด ทั้งแม่และลูก

สำหรับในกรณีของหญิงตั้งครรภ์แนะนำให้เริ่มต้นจาก การฝากครรภ์กับโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่ไว้วางใจก่อนเป็นอันดับแรก ยิ่งฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น 

เมื่อครรภ์อยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์จะเป็นดูแลเรื่องสุขภาพของมารดาและทารกไปตลอดอายุครรภ์ ตั้งแต่อาหารการกิน วัคซีนและยาที่จำเป็น ยาที่ควรหลีกเลี่ยง กระทั่งครบกำหนดคลอดเพื่อให้มารดาและทารกปลอดภัย มีสุขภาพแข็งแรง   

อาการของโรคอีสุกอีใส

ปกติจะใช้เวลาประมาณ 14-17 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัสก่อนที่จะแสดงอาการ

อาการเบื้องต้นคือ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้สูง ปวดศีรษะ ไอ และจาม เบื่ออาหาร ซึ่งทำให้สับสนกับอาการไข้ทั่วไปได้ ทำให้วินิจฉัยผิด แต่หลังจาก 2-3 วันก็จะมีผื่นปรากฏขึ้นและค่อยๆ ลามทั่วร่างกาย มักเริ่มบริเวณหน้า หรือศีรษะแล้วจึงไปที่ลำตัว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผื่นจะมีลักษณะเหมือนตุ่มน้ำและจะแตกออกในเวลา 2 วัน หลังจากนั้นก็จะตกสะเก็ด และมักหลุดไปภายใน 1-3 สัปดาห์ ซึ่งผื่นในผู้ป่วยมักมีหลายระยะ นอกจากนี้ยังมีอาการคันจนกว่าผื่นจะตกสะเก็ดหมด

ทั้งนี้ในเด็กเล็กมักไม่มีอาการนำมาก่อน

การวินิจฉัย

ในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจดูรอยโรค หากพบผื่นแดง ก็จะซักประวัติผู้ป่วยว่า มีอาการอื่นที่สอดคล้องกับโรคอีสุกอีใสหรือไม่ ในบางรายแพทย์อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจในการวินิจฉัย

การรักษา

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่หายเองได้ ปกติแล้วแพทย์จะให้ยาที่รักษาตามอาการ ได้แก่

  • ยาต้านไวรัสอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ทำให้อาการหายเร็วขึ้น แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กสุขภาพดี เนื่องจากโรคสามารถหายได้เอง จึงรักษาตามอาการ เช่น ทาโลชั่นคาลาไมน์ ให้ยาลดไข้จำพวกพาราเชตามอล แต่จะมีการให้ในผู้ใหญ่ มักนิยมให้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) เพื่อลดอาการคัน และบวมแดงของผื่น ในบางครั้งอาจให้ร่วมกับยาแก้ปวดในช่วงที่ตุ่มน้ำแตก
  • ยาปฏิชีวนะ จะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย (เกิดจากการเกา) แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

โรคแทรกซ้อนอีสุกอีใส

การเป็นอีสุกอีใสต้องระวังภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยทั่วไปอาการของโรคจะทุเลาลงภายใน 15 วัน และหลังจากเป็นโรคแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคขึ้นทำให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม 

ในบางรายก็ยังมีโอกาสที่เชื้อไวรัสยังคงอยู่ในปลายประสาท ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด และกลายเป็นโรคงูสวัดในภายหลังได้

อย่างไรก็ตาม การเป็นอีสุกอีใสในผู้ใหญ่จะต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ

การป้องกันโรคอีสุกอีใส

ปัจจุบันมีวัคซีนอีสุกอีใสที่สามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มต่อไปนี้ไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส 

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ 
  • หญิงตั้งครรภ์ 
  • ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน 
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรักษา เช่น ฉายรังสี หรือเคมีบำบัด 

นอกจากการใช้วัคซีนแล้วยังมีวิธีอื่นที่สามารถป้องกันโรคอีสุกอีใสอีก ได้แก่ 

  • ล้างมืออย่างสม่ำเสมอทุกครั้งหลังจับข้าวของเครื่องใช้ การออกจากบ้านไปพบปะผู้คนภายนอก
  • ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสควรถูกกักแยกตัวออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

ข้อควรปฏิบัติ และข้อควรระวัง เมื่อเป็นโรคอีสุกอีใส

  • หยุดเรียน หรือหยุดงานเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ไม่เกาบริเวณผื่น เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลที่เกาได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากโรคได้เร็วขึ้น และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
  • บำรุงร่างกายด้วยครีมบำรุงผิว เพราะการทำให้ผิวชุ่มชื่นจะช่วยลดอาการคันได้
  • ใช้ใบสะเดาใส่ลงในน้ำอุ่นแล้วอาบ เพื่อช่วยลดความคัน และช่วยลดการติดเชื้อได้
  • ซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอนของผู้ป่วยด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
  • หากมีตุ่มอีสุกอีใสขึ้นในปาก ควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเพื่อฆ่าเชื้อ และป้องกันอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย

อีสุกอีใสแม้ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่หากเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ขึ้นมาก็ควรรีบรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อลดความรุนแรงของโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่ผู้อื่น  

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีนอีสุกอีใสมีกี่ชนิด ฉีดอายุเท่าไร หาคำตอบได้ที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/varicella-zoster-virus).
WebMD, Chicken Pox (Varicella): Symptoms, Treatment, & Prevention (https://www.webmd.com/children/what-is-chickenpox), 15 August 2020.
Medscape, Chickenpox: Practice Essentials, Background, Pathophysiology (https://emedicine.medscape.com/article/1131785-overview), 14 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อีสุกอีใส เคยเป็นแล้ว และจะเป็นอีกได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คนที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาเเล้วจะมีโอกาสเป็นได้อีกมั้ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคอีสุกอีใสกับโรคเบาหวานจะหายขาดได้ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เป็นอิสุกอิใส ทำยังไงให้หายไวๆ มียากินมั้ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อีสุกอีใสเกิดขึ้นครั้งเเรกที่ใด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อายุ 33 ปี ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส มีโอกาสเป็นอีกไหมค่ะ และจะมีวิธีป้องกันอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)