5 อันดับโรคในฤดูร้อนที่คุณควรระมัดระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 2 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 อันดับโรคในฤดูร้อนที่คุณควรระมัดระวัง

ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นในฤดูร้อนนอกจากจะทำให้รู้สึกร้อนขึ้นแล้วยังก่อให้เกิดโรคได้หลายชนิด ดังเช่น 5 อันดับโรคที่ควรระวังดังนี้ 

1. โรคอีสุกอีใส 

โรคอีสุกอีใส หรือ chicken pox ชื่อภาษาอังกฤษนี้ได้มาจากลักษณะของรอยโรคที่คล้ายกับหนังไก่ที่ต้มแล้ว จะเป็นจุดขึ้นมาเช่นเดียวกับตุ่มอีสุกอีใส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคอีสุกอีใส

เชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์  (Varicella zoster) 

จะพบโรคนี้ได้ตอนเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน โดยอีสุกอีใสจะเริ่มจากการมีผื่นหรือตุ่มแดง คันเกิดขึ้นทั่วร่างกาย โดยมากเกิดในเด็ก และมีการกระจายโดยแพร่เป็นอนุภาคในอากาศ โรคจะติดต่อสู่คนอื่นเมื่อมีการสัมผัสกับการไอ จาม ของผู้ป่วย หรืออีกทางหนึ่งคือผู้ดูแลผู้ป่วยสัมผัสกับตุ่มน้ำ หรือของเหลวภายในตุ่มนั้น.

อาการโรคอีสุกอีใส 

อาการในช่วงแรกคือมีไข้ ปวดหัว และเจ็บคอ หลังจาก 1-2 วันจะเกิดผื่นคล้ายตุ่มน้ำบริเวณหนึ่งบนร่างกายและค่อยๆ กระจายไปทั่วร่างกาย ตุ่มน้ำจะแตกออกหลังจาก 2 วันและตกสะเก็ด ผู้ป่วยยังคงทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ แต่ผู้ป่วยควรแยกตัวออกจากผู้อื่น และพักผ่อนให้เพียงพอโดยเป็นเวลาประมาณ 10 วันเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวจากโรค ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกเนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันจากครั้งแรกที่เป็นแล้ว

การป้องกัน 

มีวัคซีนป้องกันโรค ควรล้างมือบ่อยๆ เมื่อต้องออกไปพบเจอผู้คนหมู่มาก หรือล้างมือเมื่อได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยอีสุกอีใสเพื่อป้องกันการติดโรค

 2. โรคหั

โรคหัด เป็นโรคที่พบบ่อยในฤดูร้อน

สาเหตุโรคหั

เชื่อไวรัสพารามีโซ (paramyxo) ซึ่งก่อตัวอยู่ภายในลำคอ และสามารถติดต่อได้รูปแบบเดียวกับโรคอีสุกอีใส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการโรคหั 

อาการนำคือไข้สูง ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ และตาแดง หลังจากนั้นจะเกิดผื่นหัดที่เป็นเอกลักษณ์ คือเป็นผื่นคล้ายจุดแดง โดยผื่นจะปรากฏขึ้นหลังจากอาการนำประมาณ 3-5 วัน และเริ่มที่ไรผมและใบหน้าก่อนเป็นส่วนมาก

การป้องกัน 

มีวัคซีนชื่อ MMR  (หัด, คางทูม, หัดเยอรมัน) ซึ่งจะให้กับเด็กทุกคน

3. ดีซ่าน 

ดีซ่าน อาจจะเรียกอีกชื่อว่า ตับอักเสบชนิดเอ โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำที่ปนเปื้อน

สาเหตุดีซ่าน 

ดีซ่าน เกิดจาก ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ซึ่งส่งผลให้ตับผลิตน้ำดีมากเกินไป

อาการของดีซ่าน 

อาการนำคือสีผิว เยื่อบุต่างๆ และเนื้อตาขาว มีสีเหลือง อุจจาระมีสีอ่อน ปัสสาวะสีเข้ม และคันตามผิวหนัง

การป้องกันดีซ่าน 

มีวัคซีนป้องกัน และควรเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ดื่มน้ำที่สะอาดที่ผ่านการกรองหรือน้ำต้มสุก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 4. ไทฟอยด์ 

หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคที่เกิดในแหล่งน้ำและติดต่อทางอาหาร โดยเชื้อนั้นแพร่ผ่านอุจจาระผู้ป่วย

สาเหตุไทฟอยด์  

เชื่อแบคทีเรีย ซาโมเนลลา (Salmonella typhi.) โดยเชื้อจะพบได้ในแหล่งน้ำสกปรก

อาการไทฟอยด์

อาการทั่วไปคือไข้สูง อ่อนล้าไม่มีแรง ปวดท้อง ปวดหัว เบื่ออาหาร และบางรายอาจมีผื่น ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยเหล่านี้เรียกว่า ‘พาหะ’และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้.

การป้องกันไทฟอยด์ 

มีวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนเชื้อตายซึ่งจะฉีดให้ผู้ป่วย และวัคซีนจากเชื้ออ่อนแรง บริหารโดยการรับประทาน

5. คางทูม 

เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส เกิดส่วนมากในเด็กช่วงกลางฤดูร้อน

สาเหตุคางทูม 

เกิดจากไวรัสคางทูม ติดต่อผ่านการสัมผัสไอ จาม ของผู้ป่วย

อาการคางทูม

อาการหลักคือมีการบวมของต่อมน้ำลายบริเวณลำคอ โดยมีอาการนำคือมีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้าและเบื่ออาหาร

การป้องกันคางทูม 

วัคซีน MMR (หัด, คางทูม, หัดเยอรมัน)


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Manage Your Diabetes in Extreme Summer Heat. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/how-to-manage-your-diabetes-in-extreme-summer-heat/)
Safe Summer for Kids. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/family/kids/summer/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป