เคมีบำบัด

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 14 นาที
เคมีบำบัด

เคมีบำบัดคือการรักษามะเร็งประเภทหนึ่งที่มีการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งไม่ให้แพร่กระจายหรือก่อตัวขึ้นมาใหม่อีก

เหตุใดจึงมีการใช้เคมีบำบัด

เคมีบำบัดหรือคีโมนั้นจะถูกใช้เมื่อมีการลุกลามของเซลล์มะเร็ง หรือหากมีความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะลาม โดยเป้าหมายหลักของการรักษามี:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เพื่อรักษาให้หายขาดจากมะเร็งโดยสมบูรณ์
  • เพื่อช่วยให้การรักษาอื่น ๆ ได้ผลมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการคีโมสามารถดำเนินการร่วมกับการบำบัดด้วยรังสีได้ (เทคนิครักษาด้วยรังสีที่ใช้ฆ่าเซลล์มะเร็ง) หรือสามารถดำเนินการบำบัดก่อนเข้าผ่าตัด เป็นต้น
  • เพื่อลดความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะกลับมาหลังการบำบัดด้วยรังสีหรือการผ่าตัด
  • เพื่อบรรเทาอาการ สำหรับกรณีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ จนไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ การทำเคมีบำบัดจะช่วยชะลอหรือบรรเทาอาการของมะเร็งนั้น ๆ

อีกทั้งการใช้วิธีเคมีบำบัดยังสามารถใช้รักษาผู้ป่วยภาวะที่ไม่ใช่มะเร็งเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการทำคีโมโดสต่ำ ๆ กับการรักษาผู้ป่วยโรคพุ่มพวงและโรคข้อต่อรูมารอยด์

การทำเคมีบำบัดจะดำเนินการอย่างไร?

การรักษาเคมีบำบัดมีหลายกรรมวิธี ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานเหมือนกัน คุณอาจเข้ารับการบำบัดด้วยยาเคมีเพียงอย่างเดียว หรือด้วยการใช้ยาเคมีหลายตัวขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งของคุณ การให้ยาเคมีตามการเคมีบำบัดนั้นมีหลากหลายวิธีการ อาทิเช่นการให้แผงยา หรือการฉีดเข้ากระแสเลือดโดยตรงซึ่งจะมีทีมแพทย์ที่จะร่วมมือกันวางแผนการรักษาไปตามกรณีของผู้ป่วยมะเร็งแต่ละคน

ผลข้างเคียง

เคมีบำบัดเป็นกระบวนการรักษาหรือบรรเทาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ก็มีผลข้างเคียงมากเช่นกัน ยาที่ใช้ในการคีโมไม่สามารถแยกระหว่างเซลล์มะเร็งที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว กับเซลล์สุขภาพดีที่มีอัตราการเติบโตเร็วเหมือนกันได้ อย่างเช่นเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ผิวหนัง และเซลล์ต่าง ๆ ภายในกระเพาะทำให้การบำบัดด้วยเคมีจะมีผลข้างเคียงกับกับเซลล์ของร่างกายรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น:

  • รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา
  • รู้สึกไม่สบาย
  • ผมร่วง
  • ผู้ป่วยบางคนจะแสดงผลข้างเคียงระดับต่ำ แต่สำหรับผู้ป่วยส่วนมากมักจะทรมานกับการบำบัดด้วยเคมี

การอยู่ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีและผลข้างเคียงของเคมีเป็นเรื่องยาก แต่ต้องเข้าใจด้วยว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น โชคดีที่ผลข้างเคียงทั้งหมดจะหายไปเมื่อการรักษาหยุดลง ไม่มีความเสี่ยงที่ผลข้างเคียงของการบำบัดด้วยเคมีจะส่งถ่ายไปยังคนใกล้ชิดหรือแม้แต่ผู้หญิงตั้งครรภ์ก็ตาม ทำให้ผู้ที่กำลังรับการบำบัดคีโมสามารถอยู่ร่วมกับคนที่รักได้

ใครสามารถเข้าบำบัดเคมีได้บ้าง?

การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นกระบวนการที่ช่วยต่อชีวิตให้คนไข้ ทำให้แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการบำบัด แม้ว่าพวกเขาจะมีสุขภาพย่ำแย่แล้วก็ตามที เนื่องจากผลข้างเคียงของเคมีบำบัดจะหายไปเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น

กรณีที่ไม่แนะนำให้ทำการบำบัด หรือควรรับการบำบัดในภายหลังมีดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วง 3 เดือนแรก: การทำเคมีบำบัดในช่วงเวลาดังกล่าวมีความเสี่ยงทำให้ทารกที่คลอดออกมาผิดปรกติสูง
  • มีระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ: กระบวนการเคมีบำบัดจะทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (ในบางครั้งต้องมีการใช้ยาและการถ่ายเลือดร่วม เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง)
  • เป็นโรคตับหรือไตรุนแรง: เนื่องจากการใช้ยากับการบำบัดประเภทนี้จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของตับและไต ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายหากตับและไตของผู้ป่วยไม่แข็งแรงหรือเสียหายอยู่ก่อน
  • เพิ่งผ่านการผ่าตัดหรือบาดเจ็บมา: เคมีบำบัดจะไปยับยั้งความสามารถในการฟื้นฟูบาดแผลของร่างกาย และเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการทำเคมีบำบัด?

เคมีบำบัดสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับกรณีของโรคที่เป็น

ทีมดูแลรักษา

โรงพยาบาลส่วนมากจะตั้งกลุ่มผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายแขนง (MDTs) เพื่อมาทำงานร่วมกันกับผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งอาจประกอบไปด้วย:

  • นักมะเร็งวิทยา: ผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษามะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด อย่างการใช้เทคนิคบำบัดด้วยรังสี และเคมี เป็นต้น
  • นักพยาธิวิทยา: ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นการติดโรคที่เนื้อเยื่อ
  • แพทย์โรคเลือด: ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเลือด
  • นักจิตวิทยา: เป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุนด้านจิตเวชและผลกระทบทางอารมณ์ที่เกิดมาจากการบำบัดเคมี
  • กลุ่มพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (CNS) : กลุ่มงานที่ช่วยให้การรักษาผู้ป่วยตลอดการรักษามะเร็ง

ผู้ป่วยมักจะได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มคนเหล่านี้เป็นหลัก (โดยเฉพาะ CNS) โดยพวกเขาจะคอยติดต่อผู้ป่วยเมื่อต้องเข้ารับการรักษา และผู้ป่วยเองก็สามารถติดต่อกับคนกลุ่มนี้ได้ตลอดเวลา

สำหรับการตัดสินใจเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับคุณนั้น ทางทีมแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่ดีที่สุดให้คุณเอง แต่กระนั้น คุณจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะเข้ารับการบำบัดหรือไม่เอง

ก่อนการไปโรงพยาบาลเพื่อพูดคุยหาแนวทางการรักษา คุณควรจดรายการคำถามที่ต้องถามแพทย์เจ้าของไข้ของคุณไว้

ยกตัวอย่างเช่น:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เป้าหมายของการบำบัดทางเคมีคืออะไร: ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดเพื่อกำจัดมะเร็ง เพื่อบรรเทาอาการที่เป็น หรือเพื่อช่วยกระตุ้นให้การรักษาอื่น ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผลข้างเคียงที่คนไข้มักจะประสบและวิธีจัดการเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการดังกล่าว
  • ประสิทธิภาพของการบำบัดเคมีที่ต้องทำจะช่วยให้หายขาด หรือมีเพื่อชะลออาการ
  • หรือเพื่อหาวิธีการรักษาอื่นแทนเคมีบำบัด เป็นต้น

การทดสอบ

ก่อนเริ่มการบำบัดด้วยเคมี คุณต้องผ่านการประเมินสุขภาพเพื่อเป็นหลักประกันเวลารับมือกับผลข้างเคียงต่าง ๆ ซึ่งการทดสอบนี้ยังดำเนินการในขณะที่คุณกำลังรับการรักษาด้วยเคมี เพื่อการสอดส่องพัฒนาการทางสุขภาพของคุณไปด้วย

การทดสอบที่แพทย์ใช้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งของคุณ

การตรวจเลือด

ในกรณีส่วนมากจะมีการตรวจเลือดเพื่อประเมินสุขภาพตับและไตของคุณ ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจที่สำคัญมากเนื่องจากยาเคมีบำบัดมักจะไปทำลายตับและไตของคุณ ทำให้การใช้ยาเหล่านี้ไม่เป็นที่แนะนำหากผู้ป่วยมีภาวะตับหรือไตเสียหายอยู่

การตรวจเลือดยังดำเนินการเพื่อตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดที่มี หากคุณมีจำนวนเม็ดเลือดต่ำ การรักษาคีโมจะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจำนวนเม็ดเลือดของคุณจะกลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากการรักษาด้วยเคมีจะไปลดจำนวนเซลล์ในเลือดของคุณ ซึ่งหากจำเป็นจริง ๆ ก็จะมีการถ่ายเลือดควบคู่การรักษาไปด้วย

โดยปกติแล้วจะมีการตรวจเลือดทั่วไปขณะดำเนินการรักษาคุณไปด้วย เพื่อการสอดส่องระวังสภาวะของตับ ไต และจำนวนเม็ดเลือดของคุณ

การสแกน

การสแกนร่างกายจะช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาและหาตำแหน่งของโรคได้

การสแกนมีหลายวิธีให้เลือกใช้ ดังนี้:

  • เอกซเรย์
  • ซีทีสแกน
  • การฉายภาพสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

แผนการรักษา

โดยทั่วไปการบำบัดเคมีมักจะดำเนินการล่วงเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้การรักษาแสดงผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทีมแพทย์จะร่างรายละเอียดแผนการรักษาของคุณว่ามีกี่ส่วน แต่ละคอร์สมีระยะเวลานานเพียงไหน และแต่ละส่วนมีระยะเวลาห่างกันเท่าไร โดยระยะห่างระหว่างการรักษามีไว้เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวก่อนรับการรักษาใหม่ แผนการรักษามะเร็งมีความผันแปรอย่างมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่เป็น และระยะของโรค

ชนิดของเคมีบำบัด

การรักษาทางเคมีมักมีอยู่สองวิธีการคือ:

  • การให้ยาทางช่องปาก
  • และการฉีดเข้ากระแสเลือดโดยตรง

กระนั้นในความเป็นจริง การรักษาเคมีก็สามารถทำได้หลายวิธีนอกจากนี้ เช่นการฉีดเข้ากระดูกสันหลัง และการทายาที่เป็นครีมบนผิวหนัง

ประเภทการบำบัดเคมีที่เลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งและระยะของมะเร็งเอง

การบำบัดเคมีผ่านช่องปาก

หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพดี ก็สามารถเลือกรับประทานยาบำบัดเองที่บ้าน โดยที่คอยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการติดตามผล

การรับประทานยาต้องทำให้ตรงตามข้อมูลที่กำหนดในแผนการรักษาคีโม หากคุณลืมทานยา ให้รีบติดต่อผู้ดูแลเพื่อขอคำแนะนำในทันที และหากคุณเกิดไม่สบายหลังการทานยา ก็ต้องรีบติดต่อทีมแพทย์รักษาโดยด่วนเช่นกัน

การบำบัดเคมีด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

ยาที่ใช้บำบัดเคมีจะค่อย ๆ ถูกฉีดเข้ากระแสเลือด โดยกว่าที่จะให้ยาหนึ่งโดสเสร็จนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่หลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน บางคนอาจต้องรับยาโดสต่ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายสัปดาห์ ซึ่งหากเป็นกรณีเช่นนี้ คุณจะได้รับปั๊มเล็กขนาดพกพาสะดวกให้คุณดำเนินการต่อที่บ้าน

การบำบัดเคมีด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือดนี้สามารถทำได้หลายทาง ซึ่งในบางกรณี คุณก็อาจไม่สามารถเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการด้วยตนเองได้

ท่อขนาดเล็ก

ท่อขนาดเล็กนี้จะแทงเข้าสู่เส้นเลือดที่อยู่หลังมือหรือต้นแขนของคุณ โดยมีไว้เพื่อให้ยาค่อย ๆ ฉีดเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อมีการให้โดสยาครบตามกำหนด สายดังกล่าวจะถูกดึงออก

สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง

เป็นท่อที่สามารถสอดเข้าไปยังทรวงอก โดยเชื่อมกับเส้นเลือดที่อยู่ใกล้หัวใจของคุณ ท่อจะถูกปล่อยให้ติดค้างอยู่เช่นนั้นหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ เพื่อให้คุณไม่ต้องถูกเจาะฉีดยาซ้ำ ๆ อีกทั้งสายสวนนี้ก็ยังสามารถใช้นำเลือดออกมาตรวจได้อีกด้วย

สายสวนหลอดเลือดห่างจากหัวใจ

สายน้ำเกลือ (PICC) จะคล้ายกับสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง เว้นแต่ว่าท่อของสายประเภทนี้จะเชื่อมไปยังแขนของคุณแทนหน้าอก

การฝังท่อ

ท่อที่ฝังเข้าผิวหนังนั้นจะเป็นท่อยางที่เชื่อมไปยังหลอดเลือด โดยจะมีการให้ยาบำบัดเคมีทางท่อดังกล่าวด้วยเข็มชนิดพิเศษ และท่อจะถูกปล่อยคาไว้เช่นนั้นตลอดการรักษา

ประเด็นที่ควรพิจารณาไว้

ระหว่างการทำเคมีบำบัด จะมีประเด็นสำคัญที่ควรเข้าใจไว้ดังนี้:

การใช้ยาอื่น ๆ

ต้องติดต่อสอบถามทีมผู้ดูแลคุณก่อนการรับประทานยาที่ซื้อตามร้านขายยา เนื่องจากยานอกอาจเข้าไปสร้างปฏิกิริยาที่ไม่คาดคิดกับการบำบัดได้

คุณต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างการสวมถุงยางก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ระหว่างที่ต้องเข้ารักษาคีโม และอย่างน้อย 6 เดือนหลังการรักษาเสร็จสิ้น

ผลข้างเคียง

การบำบัดเคมีมักก่อให้เกิดภาวะข้างเคียงอย่างเช่นผมร่วง เหนื่อยล้า คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นต้น

การตั้งครรภ์

คุณไม่ควรตั้งครรภ์ระหว่างระยะเวลาที่ต้องรับการบำบัดเคมี เนื่องจากจะมีการใช้ยาหลายชนิดซึ่งอาจส่งผลทำให้ทารกเกิดความผิดปรกติได้ หากจะมีเพศสัมพันธ์ก็ควรใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดอย่างถุงยาง ซึ่งการป้องกันควรทำอย่างจริงจังในช่วงเวลาอย่างน้อย 6 เดือนแม้จะผ่านการรักษาด้วยเคมีไปแล้ว

หากคุณคาดว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ขณะที่ต้องเข้ารับการบำบัดเคมี ให้รีบแจ้งทีมแพทย์ผู้ดูแลทันที

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่เกิดระหว่างการบำบัดเคมีนั้นค่อนข้างยากที่จะคาดเดาเนื่องจากแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน โดยจะมีจำนวนผู้รับการรักษาเล็กน้อยที่ไม่ประสบหรือประสบกับผลข้างเคียงน้อย ผลข้างเคียงทั่วไปของการบำบัดเคมีจะถูกระบุไว้หัวข้อข้างล่าง โดยผู้รับการบำบัดอาจไม่ประสบกับผลข้างเคียงที่กล่าวไว้ทั้งหมด

เมื่อต้องการคำแนะนำจากแพทย์อย่างเร่งด่วน

ผลข้างเคียงของการบำบัดเคมีมักไม่ค่อยส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพของคุณ อย่างไรก็ตาม บางครั้งการบำบัดก็สร้างผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ ยกตัวอย่างเช่นการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำให้คุณอ่อนไหวต่อการติดเชื้อรุนแรง

ผู้ที่ทำการบำบัดเคมีรักษามะเร็งเม็ดเลือดหรือมะเร็งไขกระดูกจะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อร้ายแรงมากกว่า เนื่องจากมะเร็งประเภทดังกล่าวได้ไปลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวก่อนการบำบัดแล้วนั่นเอง

อาการที่นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มีดังนี้:

  • มีอุณหภูมิร่างกายสูงที่ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า
  • ตัวสั่น
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • มีอาการคล้ายเป็นหวัด อย่างเช่นปวดกล้ามเนื้อ
  • เหงือกหรือจมูกมีเลือดออก
  • เลือดออกจากส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่ยอมหยุดไหลหลังจากกดแผลไปแล้ว 10 นาที
  • ร้อนในที่ปากจนทำให้ดื่มหรือกินอะไรไม่ลง
  • อาเจียนต่อเนื่อง แม้ว่าจะรับประทานยาแก้คลื่นไส้ไปแล้ว
  • ลำไส้ใหญ่เคลื่อนตัวสี่ครั้งหรือมากกว่าภายในหนึ่งวัน หรือมีอาการท้องร่วง

ให้รีบติดต่อทีมผู้ดูแลของคุณในทันทีหากพบว่าคุณประสบกับอาการเหล่านี้ โดยทีมแพทย์ของคุณจะมอบวิธีการติดต่อฉุกเฉินที่คุณสามารถติดต่อพวกเขาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เหนื่อยอ่อน

อาการเหนื่อยล้าเป็นผลข้างเคียงของการบำบัดเคมีที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยแทบทุกคนที่เข้ารับการบำบัดจะมีอาการนี้ ซึ่งจะเหนื่อยง่ายกว่าปกติแม้จะดำเนินกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ก็ตาม ผู้รับการบำบัดต้องพักผ่อนให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมใด ๆ ที่ไม่อยากทำหรือไม่มีความจำเป็น

สามารถทำการออกกำลังกายเบา ๆ ได้อย่างโยคะหรือเดินออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับพลังงานได้ แต่ต้องไม่หักโหมจนเกินไป หากคุณเป็นคนทำงาน ควรเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นพาร์ทไทม์แทน เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ซึ่งควรทำเช่นนี้จนกว่าการบำบัดเคมีของคุณจะเสร็จสิ้น

หากคุณมีอาการเหนื่อยล้าง่ายกว่าเดิมอย่างกะทันหันและมีอาการหายใจไม่สะดวกให้รีบติดต่อทีมรักษาของคุณทันทีเนื่องจากสัญญาณเหนื่อยล้ารุนแรงกับหายใจสั้นเป็นอาการของโรคโลหิตจาง

คลื่นไส้และอาเจียน

อาการคลื่นไส้และอาเจียนเป็นผลข้างเคียงของการบำบัดเคมีที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ทำการบำบัดเคมีจะมีอาการดังกล่าว

หากคุณประสบกับอาการเช่นนี้ แพทย์จะจ่ายยาที่ควบคุมอาการให้แก่คุณ ซึ่งยาตัวนี้จะเป็นยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนโดยเฉพาะ

ยาดังกล่าวสามารถให้แก่คนไข้ได้หลายวิธีการอย่างเช่น:

  • เป็นยาแผงหรือแคปซูล: ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบกลืนลงคอไปหรือวางไว้ใต้ลิ้นเพื่อให้ยาละลายไปเองก็ได้
  • เป็นยาฉีดหรือยาหยด
  • เป็นยาเหน็บ: ที่ใช้สอดเข้าทวารหนักเพื่อให้ยาละลายไปเอง
  • หรือเป็นแผนปะบนผิว
  • สามารถใช้ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้เรื่อย ๆ แม้จะไม่เกิดอาการแล้วก็ตาม เพราะยาก็มีฤทธิ์ช่วยป้องกันไม่ให้คุณทรมานกับอาการเดิมซ้ำได้
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน อาทิเช่นท้องผูก อาหารไม่ย่อย นอนหลับยาก และปวดศีรษะ
  • ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนมีหลายชนิด ในกรณีที่การรับประทานยาตัวใดตัวหนึ่งแล้วไม่ได้ผลหรือยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงกับร่างกายคุณแรงเกินไป ทางแพทย์จะจ่ายยาอีกตัวให้แทน

ผมร่วง

อาการผมร่วงเป็นผลข้างเคียงของการบำบัดเคมีที่พบเห็นได้บ่อยกับการรักษาเคมีบางประเภท โดยมักจะเริ่มอาการเมื่อใช้ยาบำบัดเคมีโดสแรกหนึ่งถึงสามสัปดาห์ และผู้ป่วยส่วนมากจะมีผลร่วงรุนแรงหลังการรักษาเคมีหนึ่งถึงสองเดือน

ผมบนศีรษะจะได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่อาการผม/ขนร่วงก็ยังสามารถเกิดกับส่วนอื่นของร่างกายได้เช่นกันอย่างแขน ขา และใบหน้า เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง การผมร่วงเป็นเรื่องน่ากลัวอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้หญิง ควรปรึกษาแพทย์หากรู้สึกกลัดกลุ้มกับปัญหานี้ ทีมแพทย์จะสามารถช่วยเยียวยาสภาพจิตใจของคุณด้วยการให้แรงสนับสนุนและการปลอบประโลมให้คุณเกิดกำลังใจสู้กับโรคร้ายได้อย่างแน่นอน

การสูญเสียผมในช่วงการบำบัดเคมีเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น และผมของคุณจะงอกกลับมาใหม่หลังจากที่การบำบัดเสร็จสิ้นลง โดยผู้ป่วยมากกว่าสามจากสี่ส่วนเลิกใส่วิกหรือหมวกปิดศีรษะของพวกเขาหลังจากการบำบัดเสร็จสิ้นไปแล้ว 6 เดือนหลายคนที่เริ่มมีผมงอกกลับมาจะมีลักษณะผมที่ต่างไปจากเดิม ยกตัวอย่างเช่นบางคนอาจมีสีผมเปลี่ยนไป หรืออาจมีความหยิกงอมากกว่าเดิม เป็นต้น

หมวกทำความเย็น

ขณะที่ทำการบำบัดเคมี ผู้ป่วยสามารถป้องกันผลข้างเคียงที่เป็นการผมร่วงได้ด้วยการสวมใส่หมวกทำความเย็น โดยหมวกดังกล่าวจะมีหน้าตาคล้ายกับหมวกป้องกันการบาดเจ็บขณะปั่นจักรยานที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำความเย็นแก่หนังศีรษะของคุณขณะที่กำลังทำการบำบัดอยู่ การทำความเย็นที่หนังศีรษะจะช่วยลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยง ทำให้ลดปริมาณยาที่ส่งไปยังหนังศีรษะ

การตัดสินใจใช้วิธีการนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งที่กำลังทำการรักษาอยู่ ยกตัวอย่างมะเร็งที่ไม่จำเป็นต้องมีการใช้หมวกทำความเย็นเช่น:

  • โรคลูคีเมียหลายประเภท: อย่างเช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก ซึ่งเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งมักเกิดกับเด็ก
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลไมอิโลมา: ซึ่งเป็นมะเร็งที่โตภายในไขกระดูก
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิน: ซึ่งเป็นมะเร็งที่โตภายในระบบน้ำเหลือง (กลุ่มต่อมและท่อที่ช่วยในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ)

เซลล์มะเร็งประเภทดังกล่าวจะมีโอกาสแพร่ไปยังกะโหลกของคุณ ทำให้การทำความเย็นที่หนังศีรษะจะส่งผลอันตรายได้อีกทั้งหมวกทำความเย็นจะใช้ได้ผลกับการบำบัดเคมีรักษามะเร็งบางประเภทเท่านั้น และอาจไม่ได้ป้องกันการผมร่วงได้เสมอไป

โอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น

การบำบัดเคมีจะไปลดความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อของร่างกาย ทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการบำบัดเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว คุณต้องพยายามดูแลตัวเองไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากการใช้ชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น:

  • รักษาความสะอาดร่างกายให้ดี: อาบน้ำทุกวัน และสวมใส่เสื้อผ้า ใช้ผ้าเช็ดตัว และเปลี่ยนผ้าปูที่นอนที่สะอาดตลอดเวลา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้ออยู่: อย่างเช่นผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสหรือไข้หวัด เป็นต้น
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นประจำ: โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเข้าห้องน้ำ หรือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • พยายามอย่าสร้างบาดแผลหรือการถลอกที่ผิวหนัง: หากคุณมีแผลหรือมีการถลอกขึ้น ให้รีบล้างบริเวณที่เป็นด้วยน้ำอุ่น เป่าให้แห้ง และปิดบริเวณนั้นด้วยผ้าที่ฆ่าเชื้อแล้ว
  • ระหว่างการทำบำบัดเคมี จะมีการตรวจเลือดเกือบทุกครั้ง เพื่อหาร่องรอยการติดเชื้อในร่างกายของคุณ
  • ในบางกรณีคุณอาจถูกห้ามหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าไปยังสถานที่ที่ผู้คนแออัดหรือใช้บริการขนส่งสาธารณะที่มีผู้คนคับคั่งอีกด้วย

โลหิตจาง

การบำบัดเคมีจะไปลดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณลง ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย หากเซลล์เม็ดเลือดน้อยลงเกินไป ร่างกายจะเริ่มขาดออกซิเจน และเริ่มแสดงอาการของโรคโลหิตจาง

อาการของโรคโลหิตจางมีดังนี้:

  • เหนื่อยล้า โดยจะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด
  • ไม่มีแรง
  • สายใจสั้น (อาการหายใจลำบาก)
  • หัวใจเต้นผิดปรกติ

ให้ติดต่อทีมรักษาโดยด่วนหากคุณประสบกับอาการเหล่านี้ คุณอาจต้องเข้ารับการถ่ายเลือดเพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง หรืออีกวิธีคือการรับยาที่ฮอร์โมนอีริโทโพทิน (EPO) ซึ่งช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กจะช่วยให้เม็ดเลือดขนส่งออกซิเจนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งตัวอย่างอาหารที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กมีดังนี้:

  • ผักใบเขียวเข้ม
  • ขนมปังอบที่เสริมธาตุเหล็ก
  • ถั่ว
  • เนื้อ
  • ผลแอปริคอต
  • ลูกพรุน
  • ลูกเกด เป็นต้น

การฟกช้ำและเลือดออก

การบำบัดเคมีทำให้ร่างกายคุณอ่อนไหวต่อการเกิดรอยฟกช้ำหรือมีเลือดออกเยอะได้ เช่น

  • มีผิวหนังที่ช้ำง่าย
  • เลือดกำเดาออก
  • เลือดออกตามเหงือก

หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบติดต่อทีมรักษาของคุณโดยด่วน เนื่องจากอาจเป็นผลมาจากจำนวนเกล็ดเลือดที่ตกลง ซึ่งต้องรีบทำการถ่ายเลือดให้คุณทันที

เยื่อบุอักเสบ

ในบางกรณี การบำบัดเคมีก็ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดและอักเสบที่เนื้อเยื่ออ่อนของระบบย่อยอาหาร หรือตั้งแต่ช่องปากไปจนถึงทวารหนักได้

ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับบำบัดคีโมที่ต้องใช้โดสสูงมักจะเจอกับปัญหาดังกล่าว โดยอาการเยื่อบุอักเสบนี้มักจะเริ่มหลังจากเริ่มการบำบัดแล้ว 7 ถึง 10 วัน หากเริ่มมีอาการ ภายในปากของคุณจะมีอาการปวดเมื่อยราวกับดื่มน้ำร้อนจัดมา อาจมีอาการร้อนในในช่องปากขึ้นมาได้ ซึ่งในบางกรณี ร้อนในอาจจะขึ้นไปยังลิ้นหรือรอบริมฝีปากได้อีกด้วย ร้อนในจะทำให้ผู้ป่วยไม่อยากอาหารเนื่องจากจะเกิดความรู้สึกเจ็บปวดมาก ซึ่งแผลร้อนในอาจจะมีเลือดออกและติดเชื้อเพิ่มได้อีก อาการเยื่อบุอักเสบนี้มักจะหายไปเองหลังจากเสร็จสิ้นการบำบัดเคมีไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งระหว่างนั้นสามารถใช้ยาบรรเทาอาการเหล่านี้ร่วมได้

ไม่อยากอาหาร

แม้ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่อยากอาหารก็ตาม แต่ก็ต้องพยายามรับประทานอาหารและดื่มน้ำมาก ๆ อยู่ดี โดยอาจเปลี่ยนมาทานอาหารจานเล็ก ๆ แต่มีหลายมื้อแทนก็ทำได้ สำหรับการดื่มน้ำก็ใช้หลอดดูดช้า ๆ แทนการยกแก้วขึ้นมาจิบ

หากคุณมีภาวะไม่อยากอาหารรุนแรงเนื่องจากอาการในช่องปากอย่างการร้อนใน คุณอาจถูกจัดให้นอนที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการจ่ายอาหารคุณผ่านสายยางแทน

ผิวหนังและเล็บ

การใช้ยาบำบัดเคมีบางอย่างทำให้ผิวหนังของคุณแห้งและปวด โดยเฉพาะบริเวณเท้าหรือมือของคุณ เล็บอาจแตกหรือหักง่ายกว่าปรกติในช่วงนี้ และจะมีวงเล็บสีขาวเกิดขึ้นมา

ระหว่างการบำบัด และช่วงเวลาหนึ่งหลังการรักษาเคมี ผิวหนังของคุณอาจอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้นทำให้คุณต้องพยายามป้องกันผิวหนังของคุณจากแดดให้ได้มากที่สุด

ความจำและสมาธิ

บางคนอาจมีปัญหากับความทรงจำระยะสั้น สมาธิ และการจดจ่อระหว่างการบำบัดเคมี โดยคุณจะรู้สึกว่าการทำกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ นั้นยากหรือยาวมากขึ้น ยังไม่มีสาเหตุมาอธิบายภาวะนี้แน่ชัด แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเองหลังจากการบำบัดเสร็จสิ้น

ปัญหากับการนอนหลับ

ปัญหาการนอนเป็นผลข้างเคียงของการบำบัดเคมีที่พบเห็นได้มาก โดยคาดว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดจำนวนครึ่งหนึ่งจะมีปัญหานี้

โดยปัญหาการนอนรวมไปถึงการนอนหลับยาก (โรคนอนไม่หลับ) และการตื่นขึ้นกลางดึกและนอนต่อไม่ลง

โดยแพทย์แนะนำให้คุณปฏิบัติตามนี้เพื่อช่วยการนอนของคุณ:

  • เข้านอนก็ต่อเมื่อรู้สึกง่วงนอนจริง ๆ
  • หากนอนไม่หลับ ให้ออกจากห้องนอนไปทำอย่างอื่นก่อน
  • ให้ใช้ห้องนอนเฉพาะเวลานอนหลับหรือมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับช่วงกลางวัน หากทำไม่ได้ พยายามจำกัดเวลางีบให้เหลือเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการทานตัวกระตุ้นต่าง ๆ อย่างคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

หากคำแนะนำเหล่านี้ไม่ได้ผล ให้ติดต่อทีมแพทย์เพื่อรับการดูแลเพิ่มเติม โดยจะมีการบำบัดที่เรียกว่าการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งมักรักษาโรคนอนไม่หลับที่เกิดจากการบำบัดเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

ความรู้สึกทางเพศและความเจริญพันธุ์

ผู้ป่วยหลายคนอาจจะหมดอารมณ์ทางเพศในช่วงที่รับการบำบัดเคมีไป แต่จะเป็นเพียงภาวะชั่วคราวเท่านั้น และความอยากทางเพศดังกล่าวจะค่อย ๆ กลับมาหลังจากกระบวนการบำบัดเสร็จสิ้นลง

การใช้ยาบำบัดเคมีบางตัวอาจทำให้ความสามารถในการตั้งท้องและการผลิตน้ำเชื้อสุขภาพดีหายไป ซึ่งเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น แต่ก็มีบางกรณีที่ภาวะนี้คงอยู่ถาวรแม้จะสิ้นสุดการบำบัดไปแล้วก็ตาม

หากคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นหมันถาวร ทางทีมแพทย์ของคุณจะชี้แจงความเสี่ยงข้อนี้ให้คุณพิจารณาก่อนเริ่มการบำบัด

ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีกรรมวิธีเพื่อการสืบเชื้อสายทางเลือกมากมาย สำหรับผู้หญิงอาจทำการแช่แข็งไข่ไว้ และสำหรับผู้ชายก็สามารถทำการแช่แข็งตัวอย่างน้ำเชื้อเผื่อเอาไว้ เพื่อรอการปฏิสนธินอกร่างกาย เป็นต้น

ท้องร่วงและท้องผูก

คุณอาจมีอาการท้องผูกหรือท้องร่วงได้ไม่กี่วันหลังจากเริ่มการบำบัดเคมี โดยทีมแพทย์จะเตรียมแผนการใช้ยาสำหรับควบคุมผลข้างเคียงดังกล่าวไว้

ภาวะซึมเศร้า

การที่ต้องรับมือกับผลกระทบของการบำบัดเคมีเป็นเรื่องน่าหงุดหงิด เครียด และชวนจิตตก จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ป่วยมักเกิดความกังวลและกลัวว่าการรักษาจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่

ความเครียดและความกังวลสามารถเพิ่มโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ ให้ทำการติดต่อทีมแพทย์หากคุณเริ่มมีปัญหาทางอารมณ์ขึ้นมา พวกเขาสามารถหาแนวทางเยียวยาความรู้สึกเหล่านั้นได้

การเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนผู้เข้าบำบัดเคมีก็สามารถช่วยได้ โดยการพูดคุยกับผู้ที่เผชิญกับปัญหาคล้าย ๆ กันจะช่วยให้คุณรู้สึกไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป

การปฏิเสธหรือถอนตัวจากการบำบัด

ในบางกรณีคุณก็อาจรู้สึกว่าประโยชน์ของการบำบัดไม่คุ้มค่า หรือมีผลข้างเคียงที่ส่งผลไม่ดีต่อคุณภาพชีวิตของคุณ

ยกตัวอย่างเช่น หากการบำบัดเคมีนั้นไม่ได้ช่วยทำให้หายขาดจากมะเร็งได้ แต่เป็นเพียงการยืดเวลาชีวิตของคุณออกไปไม่กี่เดือนเท่านั้น โดยคุณคิดว่าเวลาไม่กี่เดือนที่เพิ่มมานั้นไม่คุ้มค่ากับการลงเงินลงแรงให้การรักษา

บางคนอาจแค่ต้องการยืดเวลาออกไปไม่กี่เดือนก็ยังดี เพราะกำลังรอการกำเนิดของหลาน หรือการแต่งงานของลูก ๆ ทำให้พวกเขามีกำลังใจที่จะต่อเวลาไปอีก เป็นต้น

มันจึงไม่มีคำตอบหรือคำแนะนำที่เหมาะสมที่สุดว่าควรทำหรือหยุดการบำบัดเคมี ทีมแพทย์ของคุณทำได้เพียงแต่ชี้แจงประโยชน์ที่และความเสี่ยงจะได้จากการรักษาเท่านั้น เพราะการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ที่ตัวคุณเอง

ด้วยเหตุเช่นนี้นี้มันจึงเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่างมากที่คุณต้องทำความเข้าใจกับทีมรักษา ครอบครัว เพื่อนสหาย และบุคคลผู้เป็นที่รักก่อน คุณมีสิทธิ์เลือกหยุดหรือปฏิเสธการรักษาได้ตลอดเวลา

การเลือกหยุดการบำบัดเคมีไม่ได้หมายความว่าทีมแพทย์จะหยุดรักษาอาการของคุณไปโดยปริยาย พวกเขายังคงคอยสนับสนุนคุณตลอดทั้งการจ่ายยาแก้ปวดหรือทางจิตใจ ซึ่งจะเรียกการดูแลประเภทนี้ว่าการเยียวยาประคับประคอง

หากคุณรู้สึกว่าชีวิตคุณอยู่ได้อีกไม่นานแล้ว ก็สามารถเข้ารับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cancer Chemotherapy: MedlinePlus. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/cancerchemotherapy.html)
Chemotherapy to Treat Cancer. National Cancer Institute. (https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/chemotherapy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม