August 07, 2019 22:30
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาจเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าได้ครับ
เบื้องต้นแนะนำให้ หาเวลาออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค, ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, ระบายผ่อนคลายความเครียดบ้าง เช่น ร้องไห้ ตะโกน เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ จะทำให้ลดความเครียด ความกังวลได้ครับ และสุดท้ายคือ มองโลกในแง่ดี คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ครับ ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้ครับ
โดยแบบประเมินโรคซึมเศร้ามีดังนี้ครับ
จะมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการขึ้นไป โดยอาการมีดังนี้
1. อารมณ์ซึมเศร้า (เด็กและวัยรุ่นอาจจะเป็นอารมณ์หงุดหงิดแทนได้ครับ)
2. มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงมาก
3. นํ้าหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (โดยเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากขึ้น
4. กระวนกระวาย หรือดูเชื่องช้าลง
5.นอนไม่หลับ/หลับมากไป
6. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงแรง
7. มีสมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจ
8.รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
9. มีความคิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
จะต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ และมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และควรมีอาการเหล่านี้แทบจะตลอดเวลาครับ
ดีที่สุดน่าจะไปพบแพทย์เฉพาะทาง ทางด้านจิตใจ(จิตแพทย์)โดยเฉพาะครับ เพราะจะได้วินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ภาวะเศร้าการปรับตัวไม่ได้จากปัญหาที่มากระทบจิตใจ หรือ ภาวะวิตกกังวลครับ และคุณหมอจิตแพทย์จะชำนาญในการรักษาและให้ยา อีกทั้งจะได้ให้คำแนะนำและติดตามอาการครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าสงสัยว่ามีภาวะซึมเศร้า ควรหาเวลาปรึกษาจิตเเพทย์ครับ หรือ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ครับ
หรือทำแบบประเมินโรคซึมเศ้รา
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
กลุ่มโรคซึมเศร้า คือ มีอาการนอนไม่หลับ หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบหรือกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่มีสมาธิ ไม่ค่อยมีเเรง เบื่ออาหาร มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง
..............
หมอเเนะนำให้ไปพบจิตเเพทย์ครับ คนไข้บางกลุ่มจะอายที่ต้องไปพบจิตเเพทย์ เเต่จริงๆไม่ใช่เรื่องที่น่าอายเเต่อย่างใด (และ กรณีถ้าเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ อยากไปตรวจโดยไม่มีผู้ปกครองก็สามารถทำได้ครับ ถ้ามีอันตราย หรือจำเป็นต้องเเจ้งผู้ปกครอง คุณหมอจะเเจ้งคนไข้ก่อนครับ)
นอกจากคุณจะได้รับคำเเนะนำที่ดี คุณหมอจะประเมินว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษา คือ ยาต้านซึมเศร้า ซึ่งเป็นยาปรับระดับสารสื่อประสาทในสมองครับ
ส่วนอาการปวดหัว ภาวะเครียด กระตุ้นให้ปวดหัวมากขึ้นได้ครับ
การวินิจฉัยปวดหัว ควรต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายจากเเพทย์ครับ เนื่องจากปวดหัวมีได้หลายโรคมาก บางครั้งมีสาเหตุซ่อนอยู่ บางครั้งก็ไม่มีสาเหตุ
.............
1. การปวดหัวที่ไม่ได้มีพยาธิสภาพซ่อนอยู่ พวกนี้มักไม่ได้อันตราย
เเต่จะรำคาญ รบกวนชีวิตประจำวัน เช่น
- ไมเกรน พวกนี้มักจะปวดหัวข้างเดียว(หรือสองข้างก็ได้)เเบบตุ้บๆเหมืนชีพจรเต้นได้ มีคลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการนำ เช่นเห็นเเสงวาบ ได้ยินเสียงผิดปกติ
- ปวดหัวเเบบTension จะปวดเหมือนมีอะไรมารัดหัว หนักหัว ปวดขมับได้ครับ
- หรือเส้นเลือดบริเวณขมับอักเสบ พวกนี้ปวดตุ้บๆที่ขมับได้ เเต่มักเกิดในคนอายุเยอะ มีอาการร่วมเช่นปวดกรมเวลาเคี้ยว ตาดับมองไม่เห็นบางครั้ง เห็นภาพซ้อน ไข้ต่ำๆครับ
- ปวดเส้นประสาทใบหน้า พวกนี้จะปวดเเปล๊บๆ ปวดเเสบร้อน ตามเเนวเส้นประสาท ตามหน้าผาก ตามกราม
- ปวดหัวเเบบCluster จะปวดทั่ว มักมีอาการเช่นคัดจมูก น้ำตาไหลร่วมด้วย
- อื่นๆเช่น ปวดกล้ามเนื้อเเล้วร้าวมาหัว เช่น Myofascial pain syndrome พวกนี้จะเกิดในคนนั่งทำงานออฟฟิซ อาการคือจะมีปวดคอปวดบ่า ร้าวมาศรีษะได้
- ปวดหัวจากการใช้สายตามาก สายตาล้า มีสายตาสั้นอยู่เดิม
............
หรือสาเหตุจากโรคอื่นๆเช่น ไซนัสอักเสบ บางทีมีไข้ เช่นพวกไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ก็มีปวดหัวทั่วๆได้
............
พวกนี้กินยาจะพอบรรเทาได้ครับ หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น
ถ้าอาการเป็นเเบบกลุ่มนี้หาเวลาไปพบเเพทย์ครับ
............
2.แต่ถ้า มีอาการเช่น ปวดหัวมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งวันหลังๆยิ่งปวดมากขึ้นเรื่อย มีไข้สูง มีเเขนขาอ่อนเเรงยกไม่ขึ้นมีปากเบี้ยวหน้าเบี้ยว
หรือปวดมากจนทนไม่ไหวเลยใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ หรือมีประวัติศรีษะกระเเทกรุนเเรงมาก่อน
พวกนี้ต้องไปพบเเพทย์ทันทีครับ อาจมีพยาธิสภาพซ่อนอยู่ เช่น เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเลือดออกในสมองเป็นต้นครับ
............
เบื้องต้นถ้าไม่ได้มีอาการอันตราย ลองซื้อยา Paracetamol มารับประทาน ถ้ายังไม่หาย ปวดไม่ทุเลา เเนะนำ หาเวลาไปพบเเพทย์ครับ
ยาอีกกลุ่มที่พอใช้ได้ เเละสามารถซื้อได้จากร้านขายยา คือยากลุ่มNSAID เช่น Ibuprofen Naproxen Etoricoxib Celecoxib แต่ต้องระวัง คือห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยที่สงสัยภาวะไข้เลือดออกครับ อาการคือ ไข้ ปวดหัวทั่วๆ ปวดกระบอกตา ปวดตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เป็นต้นครับ
ถ้าสงสัยไข้เลือดออกเเนะนำให้พบเเพทย์ เเละกินยาParacetamol จะปลอดภัยกว่าครับ
ถ้ามีอาการเเพ้ยา เช่น ปากบวม ผื่นลอก หายใจลำบาก ให้พบเเพทย์ทันทีครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการตามที่เล่ามานี้อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ส่วนอาการปวดศีรษะนั้นก็อาจเป็นอาการที่เกิดได้จากปัญหาทางด้านจิตใจ ความเครียด อารมณ์ที่ผิดปกติหรือจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น โรคไมเกรน อาการปวดศีรษะแบบเป็นชุด (Cluster headache) หรือความผิดปกติบางอย่างภายในสมอง ซึ่งก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินอาการโดยละเอียดเพิ่มเติมก่อนครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการทางด้านจิตใจและพบแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะเพิ่มเติมก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการอาจเป็นได้ตั้งแต่ ภาวะเครียด วิตกกังวล และซึมเสร้าค่ะ
เบื้องต้น ลองทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรปรึกษาจิตแพทย์ รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม และตัวผู้ป่วยควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง ด้วยการออกกำลังกาย การไปพักผ่อนหย่อนใจ การทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ รวมถึงการฝึกควบคุมสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะ คือมีอาการ -ปวดหัวบริเวณขมับ -เบื่อกับทุกสิ่งทุกอย่าง -เหนื่อยตลอด -นอนไม่ค่อยหลับ -กระตุกเวลานอนบางครั้ง -บางครั้งคิดมากจนอาเจียน -เริ่มทำร้ายตัวเอง อยากทราบว่าเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้างคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)