August 16, 2019 11:48
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาการเจ็บหน้าอก สามารถเป็นได้หลายอย่างครับ
ตั้งแต่ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะเจ็บหน้าอกแปล๊บๆ จี๊ดๆเหมือนของมีคมแทง เป็นมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าออก และนอนราบ จะดีขึ้นเมื่อนั่งเอนตัวมาข้างหน้า, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักจะเจ็บแน่นๆหน้าอก เหมือนถูกบีบรัด บางครั้งมีเหงื่อแตกใจสั่น ร้าวไปกรามหรือไหล่, โรคลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดปอดเฉียบพลัน มักจะเหนื่อยขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีความดันโลหิตต่ำ ออกซิเจนต่ำทำให้เขียวในบางครั้ง มักมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตันที่ขา เช่น นอน/นั่งอยู่กับที่นานๆ ประวัติโรคเลือดผิดปกติ, โรคกรดไหลย้อน อาจจะมีเรอเปรี้ยว จุกแน่นลิ้นปี่ ร่วมด้วย, โรคปอดแตก จนกระทั่งโรคกล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนบริเวณหน้าอกอักเสบ จากอุบัติเหตุ/ออกกำลังกาย หรือทำงานหนักๆ มักจะเจ็บตอนขยับตัว หรือกดบริเวณดังกล่าว ดังนั้นเวลาหายใจเข้าออก มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอก ทำให้เจ็บมากขึ้น เป็นต้นครับ
อาการของคนไข้ ถ้ามีประวัติจุกแน่นลิ้นปี่ สัมพันธ์กับรับประทานอาหาร ชอบทานอาหารแล้วนอน อาจจะเป็น กรดไหลย้อนได้ครับ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร อาการที่บ่งบอก คือ อาการแสบยอดอก ขย้อนหรือสำรอก เจ็บหน้าอก กลืนเจ็บหรือกลืนลำบาก ส่วนอาการอื่นๆเช่น แน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง เสียงแหบเป็นต้น
การรักษาจะมี การปรับพฤติกรรม เช่น นอนศีรษะสูงขึ้นประมาณ15ซม. นอนในท่าตะแคงซ้าย หลีกเลี่ยงอาหารมัน เปรี้ยวจัด กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ๆ หยุดสูบบุหรี่(ถ้าสูบ) ลดความอ้วน(ถ้ามีภาวะอ้วน) ครับ และการรักษาด้วยยาครับ
แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย อย่างละเอียด จะได้แยกจากโรคอื่นๆ และติดตามอาการด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณหมอค้ะแน่นหน้าอกหายไม่ออก ปวดหลังด้วยค้ะ กืนข้าเสร๊จแร้วก้อนั่งสักพักแร้วก้อนอน เกิดสาเหตุอ้ะไรค้ะ คลื่นไส้ด้วยค่ะ คุณหมอ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)