กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Bronchiectasis (หลอดลมโป่งพอง)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที

โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะระยะยาวที่ซึ่งหลอดลมของปอดเกิดขยายใหญ่ขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดมูกเหนียวสะสมภายในจนทำให้ปอดอ่อนไหวต่อการติดเชื้อ อาการทั่วไปของโรคหลอดลมโป่งพองมีดังนี้: ไอเรื้อรังและมีเสมหะ หายใจติดขัด ความรุนแรงของโรคนี้จะแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเพียงไม่กี่อย่างและไม่ถี่นัก ในขณะที่ผู้ป่วยอีกกลุ่มอาจประสบกับอาการหลายอย่างต่อเนื่องรายวันก็ได้ อาการของโรคหลอดลมโป่งพองมักจะทรุดลงหากปอดของคุณเริ่มติดเชื้อ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการเรื้อรังนี้แม้จะไม่ได้เกิดมาจากโรคหลอดลมโป่งพองก็ตาม หากแพทย์สันนิษฐานว่าคุณเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง พวกเขาจะจัดให้คุณเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดเพื่อรับการทดสอบต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากคุณเคยเป็นโรคหลอดลมโป่งพองมาก่อน และเริ่มมีอาการที่สื่อว่าคุณกำลังติดเชื้อที่ปอด ให้ติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองบางรายอาจได้รับยาปฏิชีวนะสำรองกลับไปเพื่อเป็นการป้องกันกรณีที่พวกเขาแสดงสัญญาณของการติดเชื้อที่ปอดฉับพลันขึ้นมา

ควรไปรับการรักษาฉุกเฉินเมื่อไร?

ผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองบางรายอาจประสบกับภาวะปอดติดเชื้อรุนแรงขึ้นมา ซึ่งนับว่าเป็นภาวะที่ต้องรับการรักษาจากแพทย์ทันที
สัญญาณและอาการของภาวะติดเชื้อที่ปอดรุนแรงมีดังนี้: ผิวหนังและริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน สับสน มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หายใจเร็ว (มากกว่า 25 ครั้งต่อนาที) มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจนทำให้ไอลำบาก
หากคุณประสบกับอาการข้างต้น ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในทันที

ปอดได้รับผลกระทบจากโรคหลอดลมโป่งพองอย่างไร?

ภายในปอดจะมีหลอดลมขนาดจิ๋วแยกออกเป็นกิ่งก้านสาขามากมาย (bronchi) ออกซิเจนจะเดินทางผ่านหลอดลมเหล่านั้นและจบลงที่ถุงขนาดเล็กที่เรียกว่า alveoli และจาก alveoli ออกซิเจนจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด ภายในผนังของ bronchi ถูกคลุมด้วยเมือกเหนียวที่ใช้ปกป้องผนังเยื่อบุต่อละอองแปลกปลอมที่สามารถสร้างความเสียหายแก่ปอดได้ 

ในกรณีของผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองจะมี bronchi หนึ่งส่วนหรือมากกว่าที่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างผิดปรกติจนทำให้มีเมือกเหนียวรวมกันมากกว่าเดิม ซึ่งทำให้ bronchi มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น หากว่าเริ่มมีภาวะติดเชื้อขึ้น bronchi ก็ยังสามารถเสียหายได้มากขึ้นจนทำให้เมือกเหนียวรวมตัวกันมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อผ่านไปนานเข้า วงจรนี้จะทำลายปอดลงอย่างช้า ๆ

เหตุใดจึงเกิดเช่นนี้ขึ้น?

โรคหลอดลมโป่งพองสามารถเกิดขึ้นได้หากว่าเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบ bronchi เกิดเสียหายหรือถูกทำลายลงไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มีหลาย ๆ เหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้น โดยสาเหตุหลัก ๆ มีอยู่สามประการดังนี้:

  • การติดเชื้อที่ปอดระหว่างวัยเด็ก อย่างเช่นโรคปอดบวม หรือไอกรนที่สร้างความเสียหายแก่ bronchi
  • ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ bronchi อ่อนไหวต่อความเสียหายจากการติดเชื้อ
  • allergic bronchopulmonary aspergillosis (ABPA): ภาวะภูมิแพ้ต่อเชื้อราบางประเภทที่ทำให้ bronchi อักเสบจากการสูดหายใจนำสปอร์เชื้อราเข้าไป
  • อย่างไรก็ตามก็มีหลายกรณีที่โรคหลอดลมโป่งพองเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด (เรียกภาวะเช่นนี้ว่าโรคหลอดลมโป่งพองชนิดที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือ idiopathic bronchiectasis)

ใครสามารถเป็นโรคนี้ได้บ้าง?

โรคหลอดลมโป่งพองเป็นโรคที่คาดกันว่าเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก โดยคาดกันว่าเกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 1 จากทุก ๆ 1,000 คนเท่านั้น (ข้อมูลจากประเทศอังกฤษ)
โรคนี้สามารถเกิดกับคนได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาการมักจะไม่ปรากฏออกมาจนกว่าผู้ป่วยจะเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน
ในประเทศอังกฤษเคยมีผู้คนมากกว่า 12,000 คนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากโรคหลอดลมโป่งพองในช่วงปี 2013 - 2014 และผู้ป่วยส่วนมากมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

สามารถทำการรักษาโรคหลอดลมโป่งพองได้อย่างไร?

ความเสียหายของปอดที่เกิดจากโรคหลอดลมโป่งพองจะเกิดขึ้นถาวร แต่ก็มีการรักษาที่สามารถบรรเทาอาการและหยุดไม่ให้ความเสียหายเลวร้ายลงได้
การรักษาที่มักดำเนินการกันมีดังนี้:

 การออกกำลังกายและการใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อกำจัดมูกเหนียวออกจากปอด การใช้ยาช่วยเพิ่มการไหลของอากาศภายในปอด การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาภาวะปอดติดเชื้อที่เกิดขึ้น แพทย์มักไม่พิจารณาดำเนินการผ่าตัดรักษาโรคหลอดลมโป่งพองนอกจากว่าการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล และคุณต้องมีสุขภาพทั่วไปดี และมีความเสียหายของ bronchi เกิดขึ้นเป็นวงแคบ ๆ เท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดลมโป่งพอง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดลมโป่งพองนั้นเกิดขึ้นยาก แต่หากเกิดขึ้นก็มักเป็นเรื่องร้ายแรง ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่สุดคือการไอเลือดออกมาปริมาณมาก ซึ่งเกิดจากการที่เส้นเลือดภายในปอดฉีกขาด ปัญหานี้นับเป็นเรื่องที่อันตรายถึงชีวิตและจำต้องได้รับการผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน

ไอออกมาเป็นเลือดปริมาณมาก

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดลมโป่งพองที่หายากคือการไอเป็นเลือดปริมาณมาก (massive haemoptysis) ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนของหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงปอดเกิดการฉีกขาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของภาวะไอเป็นเลือดมีดังนี้:

ไอออกมาเป็นเลือดที่มีปริมาตรมากกว่า 100 ml ภายใน 24 ชั่วโมง (100 ml เทียบเท่ากับกระป๋องน้ำดื่มสามกระป๋อง)
หายใจลำบาก: เกิดจากการที่เลือดเข้าไปขวางหลอดลม
รู้สึกหน้ามืด วิงเวียน และมีผิวหนังเย็น: เกิดจากการที่สูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว
ภาวะไอเป็นเลือดนับเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ หากคุณคาดว่าผู้ป่วยประสบกับภาวะไอเป็นเลือดรุนแรงให้รีบติดต่อความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลทันที
ผู้ที่ประสบกับภาวะไอเป็นเลือดรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและใช้ท่อที่สอดเข้าลำคอเพื่อช่วยในการหายใจ
จะมีกระบวนการที่เรียกว่า bronchial artery embolization (BAE) โดยแพทย์รังสีวิทยาเพื่อหยุดเลือดที่ไหล และระหว่าง BAE นี้เองจะมีการฉีดสารสีเข้าไปในเส้นเลือดแดงของผู้ป่วยเพื่อให้ภาพบนฟิล์มเอกซเรย์ชัดเจนมากขึ้น ด้วยการใช้ภาพเอกซเรย์ที่ได้เป็นแผนที่นำทางไปยังตำแหน่งที่เลือดออก แพทย์จะฉีดวัสดุขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายเข้าไปอุดปากแผลภายในเพื่อหยุดเลือด

ความคาดหวังที่มีต่อโรคหลอดลมโป่งพอง

ความคาดหวังที่ผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองมีนั้นค่อนข้างแตกต่างกันออกไป และมักขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

การใช้ชีวิตร่วมกับโรคหลอดลมโป่งพองเป็นเรื่องเครียดและน่ากังวล แต่ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถรับมือกับโรคได้ดีและมีชีวิตที่เหมือนปกติสุข แต่สำหรับผู้ที่มีอาการจากโรคหลอดลมโป่งพองรุนแรงมากจะทำให้การใช้ชีวิตเต็มไปด้วยอันตรายและมีโอกาสที่ปอดจะหยุดทำงานได้

มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดลมโป่งพองมากกว่า 1,000 คนต่อปี

อาการของโรคหลอดลมโป่งพอง

อาการทั่วไปของโรคหลอดลมโป่งพองก็คืออาการไอเรื้อรังที่ทำให้มีเสมหะออกมาปริมาณมากทุกวัน เสมหะอาจจะใส มีสีเหลืองซีด หรือเหลืองเขียวก็ได้ สำหรับบางคนอาจมีเสมหะปริมาณน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้
อาการอื่น ๆ ของโรคหลอดลมโป่งพองมีดังนี้: หายใจติดขัด เสียงวี้ด ไอปนเลือดหรือเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก เจ็บข้อต่อ ปลายนิ้วบวม

สัญญาณของการติดเชื้อที่ปอด

หากคุณเริ่มมีภาวะติดเชื้อที่ปอดขึ้น อาการของโรคหลอดลมโป่งพองมักจะทรุดลงภายในเวลาไม่กี่วัน ภาวะเช่นนี้เรียกว่าการกำเริบของโรคเฉียบพลัน (infective exacerbation) และอาจทำให้เกิด: การไอเอาเสมหะออกมามากขึ้น ซึ่งอาจจะมีสีเขียวมากขึ้นหรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย อาการหายใจติดขัดทรุดลง

คุณอาจมีอาการเหล่านี้เพิ่มเติมได้ด้วย: ไอปนเลือด หากยังไม่เคยเป็นมาก่อน มีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกที่เลวร้ายมากขึ้นขณะหายใจ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว

สาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง

โรคหลอดลมโป่งพองเกิดจากการที่หลอดลมภายในปอดเกิดเสียหายและขยายใหญ่ขึ้น อาจจะเป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ หรือบางกรณีก็ไม่พบสาเหตุก็ได้
ปอดของคุณจะคอยรับเชื้อโรคเข้ามาตลอดเวลา ดังนั้นร่างกายของคุณต้องคอยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อหยุดการลุกลามของเชื้อแปลกปลอมด้วยการส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไปยังตำแหน่งที่ติดเชื้อ เซลล์เหล่านี้จะปล่อยสารเคมีต่อสู้กับการติดเชื้อนั้น ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบอักเสบขึ้นมา
สำหรับผู้คนส่วนมากจะหายจากการอักเสบนี้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ แต่สำหรับโรคหลอดลมโป่งพองนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อการอักเสบนั้นได้ไปทำลายเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่ยืดหดได้รอบหลอดลม (bronchi) ถาวร จนทำให้หลอดลมขยายตัวขึ้น
หลอดลมหรือ bronchi ที่ผิดรูปจะอัดแน่นไปด้วยเมือกที่มากเกินไปจนกระตุ้นให้เกิดอาการไอเรื้อรังขึ้น และทำให้ปอดยิ่งอ่อนไหวต่อการติดเชื้อขึ้น หากปอดติดเชื้ออีกครั้งจะส่งผลให้การอักเสบมีมากขึ้นและทำให้  bronchi ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

สาเหตุทั่วไป

กรณีโรคหลอดลมโป่งพองเกือบครึ่งจะไม่พบสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค แต่หากพบก็มักจะเป็นสาเหตุดังต่อไปนี้

การติดเชื้อเมื่อวัยเด็ก

ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคหลอดลมโป่งพองสามส่วนเกี่ยวพันกับการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงเมื่อวัยเด็ก อย่างเช่น: โรคปอดบวมรุนแรง โรคไอกรน วัณโรค (tuberculosis - TB) โรคหัด

อย่างไรก็ตามหลาย ๆ ประเทศก็มีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อเหล่านี้แล้ว ทำให้เชื่อได้ว่าภาวะติดเชื้อวัยเด็กข้างต้นจะเกิดขึ้นน้อยลงมากจนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมโป่งพองที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนักในอนาคต

ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

กรณีผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองประมาณ 1 ใน 12 กรณีเกิดขึ้นเพราะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอจนทำให้เนื้อเยื่อปอดเสียหายง่ายขึ้น ทางการแพทย์เรียกภาวะเช่นนี้ว่าภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiency)
บางคนจะเกิดมาพร้อมกับปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากปัญหาด้านพันธุกรรมที่พ่อแม่ส่งต่อมาให้ อีกทั้งภาวะนี้ยังเป็นผลมาจากการติดเชื้ออย่าง HIV อีกเช่นกัน
Allergic bronchopulmonary aspergillosis (ABPA) ผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองประมาณ 1 ใน 14 คนจะประสบกับภาวะแทรกซ้อนจากภาวะภูมิแพ้ที่เรียกว่า Allergic bronchopulmonary aspergillosis (ABPA)
ผู้ป่วย ABPA จะแพ้เชื้อราที่ชื่อว่า aspergillus ซึ่งอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
หากผู้ป่วย ABPA สูดสปอร์ของราประเภทนี้เข้าไปจะเกิดปฏิกิริยาแพ้และทำให้เกิดภาวะอักเสบเรื้อรังขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นโรคหลอดลมโป่งพองในที่สุด

การสำลัก

การสำลักคือการที่สิ่งที่อยู่ในกระเพาะเกิดไหลเข้าไปในปอดอย่างไม่ตั้งใจ ข้อนี้เป็นสาเหตุการเกิดโรคหลอดลมโป่งพองที่เกิดขึ้นประมาณ 1 จาก 25 กรณี ปอดเป็นอวัยวะที่มีความอ่อนไหวต่อสิ่งแปลกปลอมมาก เศษอาหารเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่กรดในกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดการอักเสบที่ปอดซึ่งนำไปสู่โรคหลอดลมโป่งพองได้

โรคซิสติก ไฟโบรซิส

โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) คือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ที่ซึ่งปอดเกิดการอุดตันด้วยเมือกเหนียว เมือกนั้นจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นยอดให้กับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น และทำให้เกิดอาการของโรคหลอดลมโป่งพองตามมา
คาดกันว่าโรคซิสติก ไฟโบรซิสเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมโป่งพองประมาณ 1 จาก 33 กรณี

ความผิดปรกติของซิเลีย

ซิเลีย (Cilia) คือชิ้นส่วนคล้ายเส้นขนขนาดเล็กที่เรียงตัวอยู่ตามหลอดลมภายในปอด ซิเลียออกแบบมาเพื่อปกป้องหลอดลมและช่วยกำจัดเมือกที่เกิดขึ้น โรคหลอดลมโป่งพองสามารถเกิดขึ้นได้หากว่าเกิดปัญหาที่ซิเลียอย่าการที่ซิเลียไม่สามารถกำจัดเมือกออกจากหลอดลมได้
ภาวะที่สามารถทำให้เกิดปัญหากับซิเลียมีดังนี้:
Young's disease: ภาวะหายากที่เกิดขึ้นเฉพาะผู้ชาย คาดกันว่าเกิดมาจากการที่ผู้ป่วยต้องกับสารปรอทในช่วงวัยเด็ก
primary ciliary dyskinesia: ภาวะหายากที่เกิดจากพันธุกรรม
คาดกันว่าผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองประมาณ 1 จาก 33 คนเกิดเป็นผลมาจาก Young's disease และ 1 หรือ 2 คนจากกลุ่ม 100 คนเป็นผลมาจาก primary ciliary dyskinesia
ตามกฎหมายบังคับใช้สารปรอทที่มีความเข้มงวดขึ้นกว่าแต่ก่อนทำให้โรค Young's disease กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมโป่งพองน้อยลงเรื่อย ๆ

โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ภาวะบางอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น ณ ตำแหน่งอื่นบนร่างกายก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับโรคหลอดลมโป่งพองได้ในบางครั้ง ดังนี้: โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) โรคโจเกร็น (Sjögren's syndrome) โรคโครห์น (Crohn's disease) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis)
ภาวะเหล่านี้มักถูกคาดว่าเกิดมาจากปัญหาด้านภูมิคุ้มกันที่เข้าโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดี

การวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพอง

คุณควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหากว่าประสบกับอาการไอเรื้อรัง เพื่อให้พวกเขาสืบหาต้นตอของอาการที่เป็นไปได้ต่าง ๆ
แพทย์ผู้ดูแลจะสอบถามอาการกับคุณ อย่างเช่นความถี่ในการไอ มีเสมหะหรือไม่ และคุณสูบบุหรี่หรือไม่
แพทย์จะทำการฟังเสียงปอดของคุณในขณะหายใจเข้าออก ซึ่งปอดของผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองจะมีเสียงกุกกักที่เป็นเอกลักษณ์
คุณอาจต้องเข้ารับการเอกซเรย์หน้าอกเพื่อกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการเหมือนกัน เช่นโรคมะเร็งปอด เป็นต้น
หากแพทย์คาดว่าคุณอาจมีการติดเชื้อที่ปอด พวกเขาจะทำการเก็บตัวอย่างเสมหะของคุณไปตรวจหาแบคทีเรียต่อไป

การส่งตัวไปพบผู้เชี่ยวชาญ

คุณควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหากว่าประสบกับอาการไอเรื้อรัง เพื่อให้พวกเขาสืบหาต้นตอของอาการที่เป็นไปได้ต่าง ๆ
ระยะเวลามากสุดที่คุณอาจต้องใช้เพื่อรอพบกับผู้เชี่ยวชาญคือ 18 สัปดาห์

ตัวอย่างการทดสอบที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจเพื่อการวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพองมีดังนี้
HRCT scan HRCT ย่อจากคำว่าการสแกน high-resolution computerised tomography เป็นวิธีการทดสอบวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพองที่มีประสิทธิภาพที่สุด ณ ตอนนี้
HRCT จะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์หน้าอกหลายภาพในมุมที่ต่างกันเล็กน้อย คอมพิวเตอร์จะรวมภาพที่ได้เข้าด้วยกันจนได้ภาพหลอดลม (bronchi) ภายในปอดที่ละเอียดและชัดเจนมาก
สำหรับปอดที่สุขภาพดีจะมีหลอดลมตีบลงเรื่อย ๆ เมื่อหลอดโยงเข้าสู่ปอด คล้ายกับกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ใหญ่ที่แยกจากลำต้นหลัก
หากภาพสแกนแสดงให้เห็นหลอดลมที่ขยายใหญ่ขึ้นจะเป็นการยืนยันการเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง

การทดสอบอื่น ๆ การทดสอบที่สามารถใช้ประเมินสภาพของปอดคุณและชี้ชัดสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพองนั้นมีอยู่มากมายดังนี้:

  • การตรวจเลือด: เพื่อตรวจสอบว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำงานได้ดีเพียงไหน และเพื่อหาร่องรอยของตัวการที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้ออย่างเช่นแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เป็นต้น
  • การตรวจเสมหะ: เพื่อตรวจหาแบคทีเรียหรือเชื้อรา
  • การตรวจตัวอย่างจากเหงื่อเพื่อหาปริมาณเกลือ: ระดับเกลือที่สูงอาจเกิดมาจากโรคซิสติก ไฟโบรซิส (หากผลเป็นบวกจะต้องใช้การทดสอบพันธุกรรมอย่างละเอียดมายืนยันอีกที)
  • การทดสอบการทำงานของปอด: จะมีการใช้เครื่องมือพกพาขนาดเล็ก (spirometer) ให้คุณเป่าลมเข้าไปเพื่อตรวจว่าคุณสามารถดันลมออกจากปอดได้เร็วและหนักขนาดไหน
  • การส่องกล่องหลอดลม (bronchoscopy): จะมีการใช้สายยืดหยุ่นยาวที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งลงไปดูภายในปอดของคุณ วิธีการนี้มักใช้เพื่อมองหาสิ่งแปลกปลอมที่คุณ (คาดว่า) สูดเข้าไป

การรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง

ความเสียหายของปอดที่เกิดจากโรคหลอดลมโป่งพองจะเกิดขึ้นถาวร แต่การรักษาที่มีจะช่วยป้องกันไม่ให้ภาวะนี้เลวร้ายลง
กรณีส่วนมากจะเป็นการรักษาผสานกันระหว่างการใช้ยา การออกกำลังกาย และอุปกรณ์ชะล้างหลอดลม สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคหลอดลมโป่งพองนั้นจะเกิดขึ้นยากมาก
มีหลายสิ่งที่คุณสามารถปฏิบัติเพื่อบรรเทาอาการจากโรคหลอดลมโป่งพองและหยุดให้ภาวะนี้ทรุดลงได้ดังนี้: เลิกบุหรี่ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำมาก ๆ ทานอาหารที่สมดุล

การออกกำลังกาย

มีเทคนิคการออกกำลังกายหลายแขนงที่สามารถช่วยกำจัดมูกภายในปอดของคุณได้ หากคุณต้องการเรียนรู้เทคนิคเหล่านี้เพิ่มเติมแพทย์ก็สามารถส่งตัวคุณไปพบกับนักกายภาพบำบัดได้
Active cycle of breathing techniques (ACBT) Active cycle of breathing techniques (ACBT) คือกระบวนการวงจรหายใจที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยกระบวนการนี้จะมีขั้นตอนหลายขั้นที่ต้องปฏิบัติวนไปมาเรื่อย ๆ ซึ่งมีทั้งช่วงหายใจปกติ ตามมาด้วยการหายใจลึก ๆ เพื่อรวบรวมเมือกภายในปอด และขับเมือกด้วยการไอออกมา วงจรนี้ต้องปฏิบัติซ้ำกันเป็นเวลา 20 ถึง 30 นาที
ห้ามคุณปฏิบัติ ACBT เองโดยที่ไม่ได้รับการฝึกสอนโดยนักกายภาพเนื่องจากการปฏิบัติเทคนิคนี้อย่างผิด ๆ จะไปสร้างความเสียหายแก่ปอดได้
หากคุณมีสุขภาพดี คุณอาจต้องทำ ACBT เพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันเท่านั้น แต่หากคุณเริ่มประสบกับภาวะปอดติดเชื้อคุณอาจต้องปฏิบัติเทคนิคนี้บ่อยขึ้น

การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ

การเปลี่ยนการวางท่าทางของคุณสามารถทำให้คุณกำจัดเมือกออกจากปอดได้ง่ายขึ้น เทคนิคแต่ละอย่างจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน แต่ส่วนมากจะต้องให้คนไข้นอนลงในขณะที่ผู้ดูแลหรือนักกายภาพใช้มือสั่นปอดของคุณ ณ ตำแหน่งที่ทำให้คุณไอออกมา

อุปกรณ์

มีอุปกรณ์พกพามากมายที่ช่วยกำจัดเสมหะออกจากปอดของคุณ แม้ว่าอุปกรณ์จะมีหน้าตาแตกต่างกัน แต่ส่วนมากแล้วจะทำงานเหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์เหล่านี้จะใช้การสั่นและแรงดันอากาศเพื่อให้คุณไอขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น

การใช้ยา

ในบางกรณีอาจมีการใช้ยาเพื่อทำให้ผู้ป่วยหายใจและขับของเสียออกจากปอดได้ง่ายขึ้น โดยอาจเป็นยาดังต่อไปนี้

การให้ยาทางละออง

บางครั้งอาจมีการใช้ยาพ่นผ่านทางอุปกรณ์ที่เรียกว่าตัวพ่นฝอยละออง (nebuliser) เพื่อให้เข้าไปชะช้างปอดของคุณได้ง่ายขึ้น
Nebulizer เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยหน้ากากหรือที่ปิดปาก ช่องสำหรับใส่ยาที่จะทำให้กลายเป็นฝอยละออง และตัวปั๊มที่สูบฉีดยาไปยังปอด

มียามากมายที่สามารถใช้ร่วมกับ nebulizer รวมไปถึงน้ำเกลือทั่วไป ยาเหล่านี้สามารถลดความข้นของเสมหะภายในและทำให้คุณสามารถไอนำเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ตัว nebulizer ยังสามารถใช้กับยาปฏิชีวนะบางชนิดได้ตามความจำเป็น

ยาขยายหลอดลม

หากคุณมีอาการของโรคหลอดลมโป่งพองรุนแรงและกำเริบกะทันหันเป็นพิเศษ แพทย์จะจ่ายยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) ให้แก่คุณไปใช้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
ยาขยายหลอดลมเป็นยาพ่นหรือยาสูดที่ช่วยทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้นด้วยการเข้าไปคลายกล้ามเนื้อภายในปอด ตัวอย่างยาประเภทนี้มีทั้ง beta2-adrenergic agonist, anticholinergics และ theophylline

ยาปฏิชีวนะ

หากคุณประสบกับอาการที่ทรุดลงเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน คุณจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จะมีการเก็บตัวอย่างเสมหะของคุณไปตรวจหาประเภทของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อ กระนั้นแพทย์จะทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์กว้าง (broad spectrum antibiotic) ไปก่อน เนื่องจากว่าการทดสอบจำแนกประเภทแบคทีเรียอาจต้องใช้เวลาสักสองสามวันคุณอาจได้รับยาปฏิชีวนะตัวอื่นขึ้นอยู่กับผลตรวจเสมหะ หรือในบางกรณีอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียชนิดนั้น ๆ พร้อมกับตัวเดิม
หากสภาพคุณดีขึ้นพอจะทำการรักษาได้เองที่บ้าน คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะแบบทานที่กำหนดให้ทานวันละสองถึงสามครั้ง เป็นเวลาต่อเนื่องยาว 10-14 วัน สิ่งที่คุณต้องทำคือการทานยาตามกำหนดให้ครบแม้ว่าคุณจะรู้สึกสมบูรณ์ดีแล้ว เพื่อทำการกำจัดแบคทีเรียตกค้างไม่ให้เกิดวงจรกลับมาซ้ำ
หากอาการของคุณรุนแรงมาก แพทย์จะจัดให้คุณพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อรับการฉีดยาปฏิชีวนะ

การรักษาป้องกันโรคหลอดลมโป่งพอง

หากคุณประสบกับการติดเชื้อกะทันหันมากกว่าสามครั้งขึ้นไปภายในหนึ่งปี หรืออาการของคุณระหว่างช่วงติดเชื้อกะทันหันมีความรุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำให้คุณได้รับยาปฏิชีวนะสำหรับระยะยาวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยทำให้ปอดมีเวลาฟื้นตัว
หากเป็นเช่นนี้แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทานขนาดยาต่ำเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง หรือหันไปใช้ที่พ่นยาปฏิชีวนะแทน
การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเหตุเช่นนี้จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียหนึ่งหรือสองประเภทดื้อยา ดังนั้นคุณอาจจะต้องเข้ารับการตรวจเสมหะเพื่อหาความต้านทานเป็นประจำ หากแบคทีเรียเริ่มมีสัญญาณของการดื้อยา แพทย์จะเปลี่ยนชนิดยาปฏิชีวนะที่ใช้ทันที

การผ่าตัดรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง

การผ่าตัดมักจะดำเนินการในกรณีที่โรคหลอดลมโป่งพองส่งผลกับปอดเพียงแต่ส่วนหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ และคุณไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจทำให้โรคหลอดลมโป่งพองกลับมาซ้ำ
ปอดถูกแยกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่ากลีบ (lobe) ปอดซ้ายจะมีสองกลีบ และปอดขวาจะมีสามกลีบ การผ่าตัดที่ดำเนินการมักจะเป็นการกำจัดกลีบที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดลมโป่งพองออกด้วยหัตถการที่เรียกว่าการตัดกลีบปอด (lobectomy)
การผ่าตัดมักจะไม่แนะนำหากว่ามีกลีบมากกว่าหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโรคเนื่องจากการนำเนื้อเยื่อปอดออกมาก ๆ จะเป็นเรื่องที่อันตรายเกินไป


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diagnosis of bronchial artery aneurysm by computed tomography: a case report. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5551994/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)