February 02, 2019 12:32
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ สำหรับโรคซึมเศร้าจะมีอาการดังนี้ค่ะ
1.มีอารมณ์เศร้าตลอดเวลา
2.ความสนใจสิ่งต่างๆลดลง
3.การนอนหลับผิดปกติ
4.รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด
5.เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
6.เบื่ออาหาร
7.การเคลื่อนไหวช้าลง
8.มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
9.มีปัญหากับการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ลองทำแบบประเมินตามลิงค์ข้างล่างนี้ค่ะ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นค่ะ
ถ้าไม่เข้าเกณฑ์อาจคิดถึงจากภาวะความเครียดได้ค่ะ โดยจะมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิด ท้อแท้ คิดมาก มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวณ หรือบางรายอาจมีอาการแสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องผูก/เสีย เบื่ออาหาร เป็นต้นค่ะ สำหรับวิธีแก้ความเครียดเบื้องต้นเลยคือลองให้วิเคราะห์ถึงปัญหาสาเหตุของความเครียด และพิจารณาว่าสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ อาจจำเป็นต้องอาศัยขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และนอกจากหากิจกรรมผ่อนคลายทำแล้ว อาจลองนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจตนเอง ปรับความคิดตนเอง ไม่คาดหวังในสิ่งต่างๆมากเกินไป ให้พยายามคิดว่าทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยตัวมัน ให้เข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น และที่สำหรับหาคนรู้ใจหรือเพื่อนคอยรับฟังปัญหา คุยปรึกษา จะพอช่วยได้ค่ะ ในกรณีที่ปฏิบัติตามข้างต้นแล้วยังเกิดอาการเครียดอยู่อาจจำเป็นต้องไปพบจิตแพทย์เพื่อทำจิตบำบัดหรือทานยาคลายเครียดร่วมด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาก็มีอยู่หลายอาการนะครับที่ตรงกับในเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งคุณสามารถลองทำแบบสอบถามหรือว่าสังเกตตนเองดูก็ได้ครับว่ามีอาการตรงกับที่คุณหมอว่ามา อยู่ 4-5 อาการและติดต่อกันมานานเกินกว่า 2 สัปดาห์หรือไม่ และหากคุณรู้สึกว่าอาการเหล่านี้เข้ามารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแล้ว คุณอาจจะลองเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญได้ครับ
ในส่วนของอาการเครียด หรืออาการวิตกกังวลในเรื่องของการงาน หรือการเงิน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ครับ เมื่อเริ่มรู้ได้ว่าอะไรทำให้คุณเครียด ก็อาจจะลองเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีรับมือกับสถานการณ์หรือตัวกระตุ้นของคุณนะครับ วิธีการหนึ่งเลยก็คือการหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้น แบ่งเวลาให้ตนเองได้ทำสิ่งที่ผ่อนคลายหรือกิจกรรมที่ทำแล้วจะรู้สึกมีความสุข การออกกำลังกาย การฟังเพลง ดูหนัง ตรงนี้ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คุณสามารถลองทำดูได้เพื่อลดความเครียดลงครับ แต่อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ว่าหากรู้สึกว่าความเครียดเหล่านี้มีมากขึ้นจนคุณไม่สามารถรับมือได้ หรือรับมือได้แต่ค่อนข้างมีผลกระทบกับการทำงาน ความสัมพันธ์ หรือการใช้ชีวิต ก็สามารถลองเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญได้ครับ
ในส่วนของการนอนหลับ อาจจะเริ่มจากการลองกำหนดเวลานอนให้เป็นกิจวัตรมากขึ้นเพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชิน และในเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมกับในห้องนอน ต้องพยายามไม่ให้มีแสงสว่างเข้า ไม่มีเสียงรบกวน และนอนในที่นอนที่เรารู้สึกสบายและผ่อนคลายครับ นอกจากนั้นแล้วควรงด ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีกก่อนช่วงเวลานอนครับ การอาบน้ำอุ่น ทานนมอุ่นๆหรือกล้วย การออกกำลังกายในช่วงเย็น ก็จะสามารถช่วยให้ร่างกายมีอาการง่วงมากขึ้นได้ครับ แต่พยายามอย่าออกกำลังกายหักโหมก่อนเวลานอนนะครับเพราะการออกกำลังกายหนักๆจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายทำงานและอาจจะทำให้หลับได้ยากขึ้น ด้านล่างนี้ผมได้แนบบทความเกี่ยวกับการนอนไม่หลับไว้นะครับหากต้องการข้อมูลก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ครับ
https://www.honestdocs.co/insomnia-psychiatric-disorders-sleep-deprivation
สุดท้ายนี้หากว่าตวามเครียดตรงนี้เริ่มส่งผลให้คุณดำเนินชีวิตประจำวันได้ไม่ดีเท่าที่หวังไว้ แต่ยังไม่ต้องการที่จะเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ลองติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ที่รับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องความเครียด และการดูแลสุขภาพจิต ตลอด 24 ชม. ได้ครับ แต่อาจจะมีบางช่วงเวลาที่รอสายนานหน่อยนะครับ หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การมีความเครียดสะสมนานๆ โดยที่ไม่สามารถจัดการความเครียดนั้นได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้หลายโรคนะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา ศักยภาพในการปรับตัวของบุคคลนั้นด้วยค่ะ
เบื้องต้นให้ลองทำแบบเมินความเครียดด้วยตนเอง
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรหาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การออกกำลังกาย การพูดคุยระบายความรู้สึกกับคนที่ไว้วางใจ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น แต่หากไม่ไหวจริงๆ ควรพบแพทย์ และหากมีความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ รู้สึกไร้ค่า คิดอยากทำร้ายตัวเอง อาการแบบนี้อาจบ่งถึงอาการของโรคซึมเศร้า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาจากจิตแพทย์นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มีอาการเครียดหนัก ปวดหัวบ่อย นอนไม่ค่อยหลับ(บางครั้ง) กลายเป็นคนคิดเยอะ การเงินการงาน มีแนวโน้วเป็นโรคซึมเศร้าแล้วรึป่าวค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)