อาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นอาการทั่วไปที่ทุกๆ คนเคยประสบมาก่อน เพราะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อมีอยู่ทุกส่วนของร่างกาย จึงทำให้อาการกล้ามเนื้อนั้นสามารถเกิดกับส่วนใดของร่างก็ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ
ปกติแล้วคนทั่วไปจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อจากสาเหตุธรรมดาๆ เช่น ความเครียด หรือกิจกรรมทางร่างกาย เช่น การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป ความกดดันที่กล้ามเนื้อส่วนหนึ่งขึ้นไป และการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อขณะทำงานหรือออกกำลังกาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนภาวะทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ มีดังนี้
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
- การติดเชื้อต่างๆ
- โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (Autoimmune Disorders) เช่น โรคพุ่มพวง (Lupus) โรคกล้ามเนื้อและผิวหนังอักเสบ (Dermatomyositis) และโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis)
- การใช้ยาบางประเภท เช่น Statins ACE inhibitors หรือ Cocaine
- ปัญหาไทรอยด์ เช่น ภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (Hypothyroidism) หรือภาวะไทรอยด์เกิน (Hyperthyroidism)
- ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
อาการปวดกล้ามเนื้อ มักไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและสามารถรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้ แต่หากพบอาการต่อไปนี้ร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ ให้รับไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย
- มีอาการปวดต่อเนื่อง แม้จะบรรเทาอาการด้วยตัวเองแล้ว
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมกับผื่น
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมกับผิวแดงหรือบวม
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากถูกเห็บกัด
- มีอาการปวดที่เกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนยาที่ใช้อยู่
- มีอาการปวดที่เกิดร่วมกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น
หากพบอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมกับอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือโทรเรียกสายด่วน 1669 ทันที
- มีอาการของภาวะบวมน้ำกะทันหัน หรือมีปริมาณปัสสาวะลดน้อยลง
- กลืนลำบาก
- อาเจียนหรือมีไข้
- หายใจหอบ
- ลำคอแข็ง
- ไม่สามารถขยับอวัยวะส่วนที่มีอาการปวดได้
การบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเองที่บ้าน
วิธีที่สามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากการบาดเจ็บหรือใช้งานเกินด้วยตัวเอง มีดังนี้
- พักใช้งานส่วนของร่างกายที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อชั่วคราว
- รับประทานยาบรรเทาอาการปวดที่หาซื้อได้จากร้านขายยา เช่น Ibuprofen
- ประคบน้ำแข็งส่วนที่ปวดเมื่อยเพื่อลดอาการปวดและลดการอักเสบ
- การนวดกล้ามเนื้อเบา ๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทำกิจกรรมคลายความเครียดเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเจ็บปวด เช่น เล่นโยคะ หรือทำสมาธิ
การป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ
หากอาการปวดกล้ามเนื้อ เกิดจากการกดทับหรือเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป สามารถปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อได้ในอนาคต
- ยืดกล้ามเนื้อทุกครั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น การออกกำลังกาย
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยเฉพาะในวันที่ต้องทำกิจกรรมทางร่างกายมาก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอเ พื่อเสริมสร้างความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
- ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ ขณะนั่งทำงานหรือขณะที่อยู่ในสภาพที่อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ ผู้ที่นั่งทำงานหน้าโต๊ะคอมควรลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก 60 นาที
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ