June 10, 2018 10:27
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
อาการหน้ามืดบ่อยๆ มีหลายสาเหตุค่ะ
ตั้งแต่
1.สาเหตุทางหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นเร็ว คนไข้อาจมีอาการหน้ามืด ใจสั่น เป็นลมได้บ่อยๆ หรือมีความดัยโลหิตสูง หรือต่ำมากกว่าปกติ ก็อาจทำให้มีอาการหน้ามืดได้เช่นกัน
2.สาเหตุทางระบบประสาท คนไข้อาจมีอาการปวดหัว ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมีแขนขาอ่อนแรง ชาแขนขา เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ทีอาการชัก อาจเป็นชักเกร็งทั่งตัว ชักเหม่อ หมดสติ ก็เป็นได้ ซึ่ฝนอกจากต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียดแล้ว อาจต้องตรวจตาด้วยค่ะ เช่น ไม่ได้มีภาวะตาเอียง ตาสั่นหรือยาว เป็นต้น
3.ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น น้ำตาลต่ำ น้ำตาลสูงกว่าปกติ จากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน คนไข้อาจมีอาการปัสสาวะบ่อยมากจนหน้าทืดเป็นลม ,ภาวะไทรอยด์สุง (hyperthyroid) ในกรณีของ Hyperthyroid คนไข้อาจมีปัญหาร่วม เช่น เหงื่อออกมาก ใจสั่น ถ้าจะให้ชัดเจน คนไข้อาจมีตาโปนมากขึ้น น้ำหนักลด ถ่ายเหลวบ่อย เป็นต้นค่ะ กรณีนี้แนะนำให้ไปตรวจร่างกายและไทรอยด์เพิ่มเติม
4.การพักผ่อนไม่เพียงพอ
5.อาการโลหิตจางที่เป็นมากๆ อาจทำให้มีอาการหน้ามืดใจสั่นได้ค่ะ รวมถึง การเสียเลือดมากอื่นๆด้วย เช่น ประจำเดือนมามาก อุบัติเหตุที่ทำให้เลือดออกมากๆ ถ่ายเป็นเลือดมากๆ ทาลัสซีเมียที่เม็ดเลือดแดงแตกมาก เป็นต้น ดังนั้น หากมีอาการโลหิตจางแล้วมีอาการหน้าทืดใจสั่นร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือดเพิ่ทเติม
6.ภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด ภาวะ hyperventilation อาจทำให้มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศรีษะได้ หายใจเร็ว สัมพันธืกับควสมเครียด ความตื่นเต้นได้ค่ะ แต่จะวินิจฉัยภาวะนี้ได้ ต้องไม่มีโรคทางกายอย่างอื่นค่ะ
จะเห็นได้ว่า ถเามีอาการหน้า มืดบ่อยๆ จำเป็นมากที่คนไข้ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากแต่ละสาเหตุ ล้วนอันตรายและต้องการการรักษาและการวินิจฉัยที่ถูกต้องค่ะ
ดังนั้น ถ้าอาการของคนไข้เป็นบ่อยๆ รบกวนชีวิตประจำวัน แนะนำให้คนไข้ไปตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ที่รพ เพิ่มเติมนะคะ หากทุกอย่างดูปกติดี อาจเป็นสาเหตุทางด้านจิตใจทแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
เพิ่มเติมนะคะ..อาการดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางร่างกายและจิตใจ (ดังที่คุณหมอกล่าวข้างต้น) ในกรณีที่ตรวจหาสาเหตุทางร่างกายแล้วไม่พบความผิดปกติ อาการดังกล่าวก็อาจเกิดได้จากสภาวะทางจิตใจ ซึ่งเบื้องต้นอยากให้ลองประเมินความเครียดดูก่อน ดังนี้ นะคะ
ให้สำรวจอาการในระยะเวลา 2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน และให้คะแนนตามระดับความถี่ของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน , ครั้งคราว 1 คะแนน, บ่อยๆ 2 คะแนน ,ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากคะแนนรวมมากว่า 17 คะแนน ก็แปลว่าคุณมีความเครียดสูงกว่าปกติ ควรหาวิธีผ่อนคลายความเครียด วิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการกำหนดลมหายใจเข้า ออก ลึกๆ ยาวๆ หากผ่อนคลายความเครียดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบจิตแพทย์ ซึ่งคุณหมออาจวางแผนการรักษาด้วยวิธีอื่นๆที่เหมาะสมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เหนื่อยง่าย ง่วงตลอดเวลาหน้ามืดด้วยค่ะ เดินนิดเดียวก็เหนื่อยรู้สึกขนลุกเหมือนหนาวข้างในหายใจไม่ทั่วท้อง บางครั่งก็เหมือนคนเป็นหอบคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)