March 04, 2019 15:23
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความรู้สึกเบื่ออาจเกิดได้จากหลายสาเหตุนะคะ ได้แก่ ความจำเจในการดำเนินชีวิตแบบเดิมๆ ความเครียด โรคซึมเศร้า เป็นต้น
หากรู้สึกเบื่อท้อแท้ นานกว่า 2 สัปดาห์ ลองสำรวจอาการด้วยการทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกครั้งนะคะ
แต่หากประเมินแล้วอาการไม่เข้าข่ายซึมเศร้า แนะนำให้ลองเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตให้น่าสนใจมากขึ้น หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ หรือการออกไปพักผ่อนต่างจังหวัดเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หรือหาที่ปรึกษาพูดคุยระบายอารมณ์ความรู้สึกค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในส่วนของอาการที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องลองวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุของการมีอาการเหล่านี้นะครับ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วอาการเหล่านี้ก็มักจะเป็นผลลัพธ์มาจากเรื่องของความเครียดหรือการที่เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์กดดัน หรือเรื่องของการถูกกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าจะด้วยทางคำพูด ทางร่างกาย หรือการทำงานอื่นๆนะครับ
เมื่อพอจะเข้าใจสาเหตุคร่าวๆแล้ว อาจจะลองหาใครซักคนที่ไว้ใจลองทำการพูดคุยกับเขา การที่เราได้พูดคุยตรงนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถได้เข้าใจความคิดความรู้สึกของเราได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถที่จะเป็นการได้ระบายความรู้สึกที่อยู่ในใจของเราได้ครับ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือควรจะเป็นคนที่เราไว้ใจได้ แต่หากรู้สึกว่าไม่อยากพูดคุยกับคนใกล้ตัว การพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ครับ
อกจากการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว การดูแลตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน โดยคุณอาจจะลองเริ่มจากการทานอาหารหรือการนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งจะมีส่วนในการควบคุมอารมณ์เศร้า และเปลี่ยแปลงความคิดบางอย่างของคุณได้ในระยะยาว นอกจากนั้นอยากให้คุณได้ลองใช้เวลาให้กับตัวเราเองเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบทำหรือทำแล้วมีความสุขโดยอาจจะเป็นในเรื่องของ การออกกำลังกาย การดูหนัง ฟังเพลง ก็ได้ครับ สิ่งสำคัญก็คือให้เวลาตนเองได้พักผ่อนจิตใจ และดูแลตนเองได้อย่างเต็มที่
สุดท้ายนี้หากต้องการที่จะพูดคุยกับใครซักคนแต่ว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คุณสามารถโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้นะครับเพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ปลายสายเพื่อรับคำแนะนำหรือข้อมูลที่จะมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณครับ หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำไมผมอยู่ๆก็รู้สึกหงุดหงิดอารมณ์ยังไงไม่รู้อะครับเหมือนทุกอย่างน่าเบื่อมากๆไม่จิตใจจะทำอะไรเลยครับเป็นเพราะอะไรครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)