กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

“ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ” นะ

ยาแก้อักเสบหมายถึงยาแก้ปวด ลดไข้ ต้านอักเสบ ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
“ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ” นะ

ในการจ่ายยานั้น ครูบาอาจารย์ท่านเคยสั่งสอนไว้ค่ะว่า… นอกจากจะคำนึงถึงความถูกต้องแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย ซึ่งทั้งความถูกต้องและความเหมาะสม ก็มีข้อควรพิจารณาหลายประการด้วยกันค่ะ …แต่ในวันนี้ขอยังไม่ลงรายละเอียดนะคะ ^_^

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในกรณีของเภสัชกรประจำร้านยา ลูกค้าส่วนหนึ่งที่พบ จะระบุชื่อยาหรือชนิดของยาที่ต้องการมาเลย ซึ่งก็อาจจะเป็นชื่อสามัญทางยา (เป็นชื่อจริง ๆ ที่ใช้เรียกเป็นมาตรฐานของยาตัวนั้นค่ะ) เช่น พาราเซตามอล  (Paracetamol) หรืออาจระบุเป็นชื่อการค้า (เป็นชื่อที่บริษัทยาแต่ละแห่ง ตั้งขึ้นมาใหม่เป็นชื่อเฉพาะของแต่ละที่) ยกตัวอย่างชื่อการค้าของพาราเซตามอล เช่น ซาร่า ไทลินอล เทมปร้า โลเทมป์ พาราแคพ ซีมอล ฯลฯ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หรือบ่อยครั้งที่มาแบบ “ชื่อที่ฉันอยากเรียก” (ฮ่า…) เช่น… “ยาฟู่”

ฟังแล้วรู้สึกเหมือน… ฟันเฟืองในสมองหมุนอย่างหนักหน่วงเพื่อทำการประมวลผล ก่อนจะยอมแพ้ถามซ้ำไปว่า “ยาอะไรนะคะ” หลังจากที่ลูกค้าพยายามอธิบายลักษณะของยา พร้อมย้ำว่าเคยซื้อจากร้านนี้แหละ ดิฉันจึงได้ว่ารู้ว่า… “ยาฟู่” นั้นหรือ ก็คือ “แคลเซียมแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ” นั่นเอง! แหม่… เจอแบบนี้หลายคนหลายครั้งหลายตัวยาเข้า ก็ได้อารมณ์แข่งขันเกมลับสมองประลองเชาว์ดีค่ะ …สนุกไปอีกแบบ ฮ่า…

แต่ก็พบได้เหมือนกันค่ะที่ยาที่ลูกค้าระบุมา กลับกลายเป็นว่าไม่เหมาะสมกับอาการเจ็บป่วยที่แท้จริง เช่น ถามหา “ยาขับปัสสาวะ” แต่พอซักถามอาการแล้ว เป็นอาการป่วยของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จึงได้เป็น “ยาปฏิชีวนะ” ไปแทน กรณีนี้แม้จะได้ยาไม่ตรงที่เรียกหา แต่เหมาะสมกับอาการป่วย ใช้แล้วหาย ผู้ป่วยก็ “ดีจัง” เภสัชกรก็ “ดีใจ” นะคะ ^_^

เพราะฉะนั้น หากครั้งต่อไปที่ท่านไปร้านยา แล้วเจอเภสัชกรชวนคุยซักถามอาการป่วย ก็อดทนคุยด้วยหน่อยนะคะ เสียเวลาซักนิด เพื่อความมั่นใจว่าท่านจะได้รับยาที่ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยในการใช้ยาค่ะ …คุยมาก คุยนาน (เผลอ ๆ ไม่ได้ตังค์ เพราะเห็นว่าอาการป่วยของท่าน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาก็ได้) ก็ไม่มีชาร์ตค่าคุยนะเออ (ฮ่า…)

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อเข้าใจตรงกันเช่นนี้แล้ว ดิฉันก็จะได้ชวนคุยซักถามอาการต่อไป (ฮ่า…)

 

pt03

“ขอยาแก้อักเสบหน่อย”

rx04

“ยาแก้อักเสบ??? …ไม่ทราบว่าต้องการเป็นยาแก้ปวดหรือยาฆ่าเชื้อคะ”

pt03

“เอาเป็นยาแก้อักเสบน่ะ”

rx07

“ยาแก้อักเสบ จริง ๆ แล้วหมายถึง ‘ยาแก้ปวดอักเสบ’ น่ะค่ะ แต่บางคนจะเรียก ‘ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย’ หรือ ‘ยาปฏิชีวนะ’ ว่ายาแก้อักเสบ เภสัชก็เลยไม่แน่ใจว่าคุณต้องการยาประเภทไหน …ป่วยเองหรือเปล่าคะ แล้วมีอาการยังไงบ้างคะ”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

pt03

เหงือกบวม อยากได้ยาแก้อักเสบ”

rx07

“บวมมากมั้ยคะ เป็นหนองหรือมีกลิ่นปากรุนแรงด้วยรึเปล่า มีอาการปวดด้วยมั้ย”

pt03

(…สีหน้ารำคาญ…) “บวมไม่มาก ไม่เป็นหนอง แต่ปวดอยู่”

rx07

“มีโรคประจำตัวหรือเคยแพ้ยาอะไรมั้ยคะ”

pt03

(…ส่ายหน้า…)

rx07

“ถ้าอย่างนั้น เภสัชแนะนำยาแก้ปวดตัวนี้นะคะ มันจะลดการอักเสบบวมแดงเล็กน้อยที่เป็นอยู่ด้วยค่ะ ทานครั้งละ…”

pt03

“เป็นยาแก้อักเสบใช่มั้ย”

rx14

“เป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบค่ะ แต่ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ”

pt03

“อยากได้ยาแก้อักเสบ” (…มองเลยไปที่ตู้ยา…)

rx04

“เอ่อ… หมายถึง… อยากได้ยาฆ่าเชื้อใช่มั้ยคะ”

pt03

“ไม่ใช่… หมายถึงยาแก้อักเสบ”

rx14

(…อึ้งกิมกี่…) “อ่า… ค่ะ นี่ล่ะค่ะ… ยาแก้อักเสบแก้ปวด กรณีที่ปวด แต่เหงือกบวมไม่มาก ไม่เป็นหนอง ไม่มีกลิ่นปาก น่าจะยังไม่มีการติดเชื้อ แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้อย่างเดียวก่อนนะคะ ยังไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อ วิธีรับประทานก็… บลาๆๆๆๆๆ”

pt01

(…หยิบยาไปดู…) “อันนี้มันยาแก้ปวดนี่… อยากได้ยาแก้อักเสบนะ”

rx13

?!?!?

 

เหตุการณ์จริง เจ็บจริง ไม่มีสลิง ไม่มีตัวแสดงแทนค่ะ (ฮ่า…)

 ความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบ 

การอักเสบ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Inflammation ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่มีการอักเสบเกิดขึ้น การอักเสบที่รู้จักกันดี ได้แก่ ข้ออักเสบ, เอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุในการทำงานหรือเล่นกีฬา

การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ต้องใช้ยากลุ่มที่เรียกว่า “ยาแก้อักเสบ”หรือ “ANTI-INFLAMMATORY DRUG” โดยยาแก้อักเสบนี้ ยังนิยมใช้ลดอาการปวดที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ปวดหัว ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังอาจใช้ลดไข้อีกด้วย

ส่วน “ยาปฏิชีวนะ” หรือAntibiotics” จะใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้นค่ะ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์แก้ปวดหรือลดการอักเสบนะคะ

 

จะเห็นได้ว่า “ยาแก้อักเสบ” ไม่ใช่ “ยาปฏิชีวนะ” แต่ที่มีการเรียกผิด ๆ ก็เพราะในสมัยก่อน คำว่า “ยาปฏิชีวนะ” เป็นภาษาแพทย์ซึ่งฟังดูเป็นวิชาการ ที่อาจเข้าใจยากสักหน่อย แพทย์จึงแปลงชื่อยาเป็นภาษาชาวบ้านว่า “ยาแก้อักเสบ” เพราะเมื่อรับประทานยานี้เข้าไปทำลายหรือฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคติดเชื้อ อาการอักเสบ (อาการปวดบวม แดง ร้อนที่อวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ฝี แผลอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ที่เห็นจากภายนอกได้ชัดเจน) ก็จะทุเลาลงไป ชื่อนี้จึงคุ้นหูคุ้นปากเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

แต่เนื่องจากการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ การเรียกเหมารวมทั้งยาแก้ปวด (ตามแบบที่ถูกต้อง) และยาปฏิชีวนะ (ตามแบบผิด ๆ ที่คุ้นเคย)ว่ายาแก้อักเสบ จึงสร้างความสับสน (ทั้งกับผู้ใช้ยาและกับผู้จ่ายยา ฮ่า…) เสี่ยงต่อการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมกับอาการเจ็บป่วย อีกทั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่า…ยาปฏิชีวนะสามารถใช้แก้ปวดและลดการอักเสบได้ด้วยนะเออ!?! เฮ้อ… ปวดหมอง ‘อิ๊คคิวเซ็ง’ ขอตัวไปนั่งสมาธิก่อนนะฮับ (ฮ่า…)

จึงได้มีการรณรงค์เรื่อยมาให้ประชาชนหยุดเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ (ซะทีเถิดคู้ณ…ณ…..) เพราะงั้น…ใครที่ยังเรียกผิด ๆ อยู่อีก ต้องขอบอกว่า… เชยค่ะเชย! เพราะคนรุ่นใหม่ไม่เรียก “ยาปฏิชีวนะ” ว่า “ยาแก้อักเสบ” กันแล้วล่ะตัวเธอว์!

rx07

ย้ำนะคะ… “ยาแก้อักเสบ” ก็คือ “ยาแก้ปวด ลดไข้ ต้านการอักเสบ”  ...ไม่ใช่ “ยาปฏิชีวนะ”!!!

 

 

 

แล้วคุณล่ะคะ… ยังเรียกยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียว่า “ยาแก้อักเสบ” อยู่หรือเปล่า ^_^

 

 

ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูล…

  1. ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง. (2556). รู้ให้ชัดกับยาแก้อักเสบ (ออนไลน์). สืบค้นจาก :http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/126/ยาแก้อักเสบ [9 กันยายน 2557]
  2. พิสนธิ์ จงตระกูล. (2556). หยุดเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ (ออนไลน์). สืบค้นจาก :https://th-th.facebook.com/not... [9 กันยายน 2557]
  3. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ยาแก้อักเสบ ใช่แก้อักเสบ(ครอบจักรวาล) แต่คือ ยาฆ่าเชื้อ (แบคทีเรีย) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.doctor.or.th/articl... [9 กันยายน 2557]

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Antibiotics Quiz: Myths and Facts. WebMD. (https://www.webmd.com/cold-and-flu/rm-quiz-antibiotics-myths-facts)
Antibiotics - Interactions. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/antibiotics/interactions/)
Can I take paracetamol if I'm on antibiotics?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/medicines/can-i-take-paracetamol-if-i-am-on-antibiotics/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป