วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง

เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง

"ยา" สิงที่ใช้กิน ทา ฉีด อม มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือเพื่อการป้องกันโรคและความเจ็บป่วย รวมถึงอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

หลักการใช้ยาเบื้องต้น

  1. ก่อนใช้ยาควรอ่านฉลาก อ่านคำแนะนำให้เข้าใจอย่างดี หรือใช้ยาตามคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์/เภสัชกร
  2. ศึกษาทำความเข้าใจข้อบ่งใช้อย่างละเอียด
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่มีฉลาก เม็ดยามีสีผิดไปจากปกติ หรือพบข้อความในฉลากเลอะเลือน
  4. ตรวจสอบวันผลิต / วันหมดอายุ ทิ้งยาทันทีเมื่อพบหมดอายุ
  5. ไม่ควรเพิ่มหรือลดยาเอง
  6. หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีผื่นขึ้นตามตัว ควรหยุดใช้ยานั้นทันทีและรีบไปพบแพทย์หรือเภสัชกรจากร้านที่ซื้อยานั้นมา  

การรับประทานยาก่อน-หลัง-พร้อมอาหาร

รับประทานยาก่อนอาหาร หมายถึง รับประทานยาก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที ยาชนิดรับประทานก่อนอาหาร จะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อรับประทานขณะท้องว่างหรือก่อนรับประทานอาหาร ยาที่ระบุให้รับประทานก่อนอาหาร ไม่เหมาะจะรับประทานหลังอาหารเพราะอาจถูกกรดจากอาหารทำลายประสิทธิภาพ เกิดผลในทางรักษาน้อยลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยารับประทานหลังอาหาร/หลังอาหารทันที และพร้อมอาหาร การรับประทานยา 3 วิธีนี้ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพของยา ดังนั้น จะรับประทานวิธีใดก็ได้ ตามความถนัดของแต่ละบุคคล  ดังนี้

  • การรับประทานยาหลังอาหาร คือ รับประทานยาหลังจากรับประทานอาหารคำสุดท้ายทันที หรือรับประทานยาหลังรับประทานอาหาร ไม่เกิน 15 นาที ส่วนการรับประทานยาพร้อมอาหาร คือ รับประทานยาหลังรับประทานอาหารคำแรก หรือรับประทานอาหารไปแล้วคำสองคำก็ได้

ยาชนิดรับประทานหลังอาหาร จะมีคุณสมบัติดูดซึมอย่างดีเมื่อผสมกับกรดในกระเพาะซึ่งจะหลั่งออกมากขณะรับประทานอาหาร รวมทั้งยาบางชนิด ต้องอาศัยไขมันในอาหารเป็นตัวทำละลายก่อนจึงจะดูดซึมได้ดีกว่า ดังนั้น ยาชนิดที่ระบุให้รับประทานหลังอาหารมักสร้างระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้หากรับประทานก่อนอาหารขณะท้องว่าง ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ทำอย่างไร เมื่อลืมรับประทานยาระหว่างวัน ?

เมื่อลืมรับประทานยา 1 มื้อ นั่นหมายถึง รับประทานยาไม่ครบตามคำแนะนำ วิธีที่ดีที่สุดคือรับประทานยาทันทีที่นึกได้ซึ่งไม่ควรเกิน 15  นาที   แต่หากลืมรับประทานยาหลังอาหารนานเกินกว่า 15 นาที ควรละเว้นการรับประทานยามื้อนั้น และรับประทานยาให้ตรงเวลาในมื้อถัดไป

เมื่อลืมรับประทานยามากกว่า 1 มื้อ ไม่ควรชดเชยโดยรวบรับประทานยาในมื้อถัดไป เพราะการเพิ่มปริมาณรับประทานยามากเกินไปในมื้อเดียว เป็นการรับประทานยาเกินขนาด  จึงไม่ควรรับประทานชดเชย เพราะไม่สามารถเร่งการรักษาได้ และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ ตามมาอีกด้วย

ยารับประทานก่อนนอน

ยาชนิดระบุเวลารับประทานก่อนนอน ควรรับประทานยาก่อนเข้านอน 15 – 30 นาที ยาก่อนนอนบางชนิด รับประทานแล้วออกฤทธิ์ก่อให้เกิดอาการง่วงซึม ดังนั้นควรรับประทานยาเผื่อเวลาไว้ไม่ควรเกิน 30 นาที นั่นหมายถึงพร้อมจะเข้านอนในอีก 30 นาทีข้างหน้า

ควรทำอย่างไรเมื่อลืมรับประทานยาก่อนนอน?

หากลืมรับประทานยาก่อนนอน โดยนึกได้ในเวลาใกล้จะเข้านอน สามารถรับประทานยานั้นได้ทันที หากนึกได้ในเช้าวันถัดไป ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาชดเชยในมื้อเช้า หรือมื้อถัดไประหว่างวัน แต่รอรับประทานอีกครั้งหลังผ่านอาหารมื้อเย็นไปแล้วจนถึงเวลาก่อนเข้านอน 15 – 30 นาที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยารับประทานเมื่อมีอาการ

ยาชนิดระบุคำแนะนำให้รับประทานได้ทันทีเมื่อมีอาการ หมายถึง รับประทานยานั้นได้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจริง เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด หรือเมื่อได้รับบาดเจ็บ เช่น  กลุ่มยาสามัญประจำบ้านสำหรับใช้บรรเทารักษาอาการในเบื้องต้นได้เองโดยไม่ต้องไปพบแพทย์

วิธีการรับประทานยาเมื่อมีอาการ

รับประทานยาได้ทันทีเมื่อเกิดมีอาการ รับประทานซ้ำได้เมื่อยังคงมีอาการโดยรับประทานตามคำแนะนำที่ระบุในฉลาก เช่น ทุก 4- 6 ชั่วโมง หรือทุก 8 ชั่วโมง  หรือสามารถรับประทานยาได้ เมื่อยังคงปรากฏอาการเป็นๆ หายๆ ในช่วงระยะเวลา 12 ชั่วโมงนั้น

ยารับประทานเมื่อมีอาการ มีคุณสมบัติพร้อมออกฤทธิ์ไม่ว่าจะรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร โดยทั่วไปแล้วหากกลัวว่าจะระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น ผู้ที่กำลังมีอาการกระเพาะอาหารอักเสบสามารถรับประทานอาหารมื้อย่อยๆ เล็กน้อยรองท้องก่อนรับประทานยาได้ ไม่ส่งผลกับการรักษาหรือการออกฤทธิ์ของยา

การรับประทานยาฆ่าเชื้อ/ยาแก้อักเสบ

ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ  (Anti-Biotic) ควรรับประทานตามแพทย์สั่ง เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันการ ดื้อยา ยาฆ่าเชื้อจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อ เช่น อาการท้องร่วง ท้องเสีย, มีแผลอักเสบ เป็นหวัดเจ็บคอ

ยาแก้อักเสบ หรือยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ออกฤทธิ์ระงับความเจ็บปวดและมักระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรรับประทานยาแก้อักเสบพร้อมมื้ออาหาร หรือรับประทานยาหลังอาหารทันที แล้วดื่มน้ำตามมากๆ

ยาแก้อักเสบต้องรับประทานจนหมด จริงหรือไม่ ?

ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยจากคำแนะนำหรือข้อบ่งใช้ยาแก้อักเสบคือ “รับประทานยาจนหมด” แต่ความจริงแล้วสังเกตได้ว่า ยาแก้อักเสบมักถูกใช้เป็นยารักษาตามอาการ เช่น รักษาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ปวดประจำเดือน การรับประทานยาแก้อักเสบจะช่วยระงับปวด บรรเทาอาการอักเสบจนถึงมีอาการดีขึ้น และเมื่อหายเป็นปกติแล้ว ควรหยุดรับประทานยาแก้อักเสบทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงของยาแก้อักเสบ

การรับประทานยาแก้อักเสบติดต่อกันนานๆ มักก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร เกิดภาวะความดันโลหิตสูง บางรายอาจมีภาวะไตวาย 

น้ำกับการรับประทานยา

  • การรับประทานยากับน้ำเปล่าในอุณหภูมิปกติ เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
  • ยาบางกลุ่มมีคำแนะนำให้ดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อเลี่ยงความผิดปกติที่อาจเกิดกับไต เช่น การเกิดตะกอนในไต การทำงานของไตลดลง ยากลุ่มนี้ก็เช่น ยาแก้ปวดเมื่อย ยาฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ยาฆ่าเชื้อเมื่อมีอาการเจ็บคอ โดยทั่วไปแล้วไม่ควรรับประทานยากลุ่มนี้ติดต่อกันเกิน 7 วัน  และเป็นยาห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไต
  • แพทย์/เภสัชกร มักไม่แนะนำให้รับประทานยาพร้อมน้ำอัดลม นมหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะยากอาจออกฤทธิ์ในการรักษาได้ไม่เต็มที่

รับประทานยาผิดเวลา 

ยาบางชนิดระบุเวลารับประทานไว้อย่างชัดเจน ผลจากการรับประทานยาผิดเวลาจากที่ระบุในฉลาก อาจส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่

การให้ยาปฏิชีวนะ/ยาแก้อักเสบสำหรับเด็กเล็กหรือเด็กทารก

เมื่อลูกเป็นไข้ ตัวร้อน เป็นหวัด คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค และรับการตรวจรักษาเป็นลำดับ จากนั้นใช้ยารักษาอย่างระมัดระวัง ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์

ยาปฏิชีวนะ/ ยาแก้อักเสบสำหรับเด็ก เช่น ยากลุ่มเพนนิซิลินสำหรับเด็ก ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นผงแห้ง ใช้ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว เติมลงในขวดตามระดับขีดข้างขวด เขย่าให้เข้ากัน โดยให้ลูกรับประทานยาตามขนาดและเวลาที่ระบุ แพทย์มักสั่งให้รับประทานยาติดต่อกันจนหมดขวดแม้ว่าลูกจะอาการจะดีขึ้น

สังเกตอาการแพ้ยา หากพบว่าเกิดผดผื่นหลังให้ลูกรับประทานยาทุกชนิด ต้องหยุดให้ยาและเลิกใช้ทันที จากนั้นควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ถูกต้อง และรับการรักษาในขั้นต่อไป

ยาลดไข้  หรือยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก มักเป็นยาชนิดน้ำเชื่อม ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรป้อนยาทุกๆ 4-6 ชั่วโมง จนไข้ลด สังเกตอาการต่อไปประมาณ 2 - 5  วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรพาไปพบแพทย์

ใครบ้างไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

  • ผู่ปวยโรคตับ ไต เพราะร่างกายจะมีการทำลายยาผิดปกติ ทำให้ยาอาจออกฤทธิมากหรือน้อยกว่าที่ต้องการ และผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาก่อนใช้ยาเสมอ
  • ผู้ป่วยสูงอายุและเด็กเล็ก เนื่องจากต้องให้ปริมาณยาตามน้ำหนักตัว และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
  • ผู้ที่รับประทานยา warfarin เพราะมีปฎิกิริยากับยากลุ่มอื่นแล้วทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงคือเลือดออกผิดปกติ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ยาจะกระตุ้นให้โรคกำเริบได้

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Taking multiple medicines safely. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000883.htm)
Safe Use of Medicines for Older Adults. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/safe-use-medicines-older-adults)
Why You Need to Take Your Medications as Prescribed or Instructed. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/special-features/why-you-need-take-your-medications-prescribed-or-instructed)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
“ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ” นะ
“ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ” นะ

ยาแก้อักเสบหมายถึงยาแก้ปวด ลดไข้ ต้านอักเสบ ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ

อ่านเพิ่ม