พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำไมเมื่ออากาศร้อนแล้วจึงรู้สึกปวดหัว

ไขคำตอบ ทำไมเมื่ออากาศร้อนแล้วจึงปวดหัว บางครั้งเหมือนจะเป็นไข้ และวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันและรักษาอาการไม่สบายเนื้อสบายตัวที่มักเกิดเมื่ออากาศร้อน
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ทำไมเมื่ออากาศร้อนแล้วจึงรู้สึกปวดหัว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดศีรษะเพราะอากาศร้อน เป็นอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุจากโรคอื่น เรียกว่าเป็นการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary Headache) ได้แก่ อาการปวดศีรษะไมเกรน และอาการปวดศีรษะแบบบีบรัด
  • การรักษาอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ โดยทั่วไปจะใช้ยารับประทานบรรเทาอาการปวดเป็นหลัก เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโพรเฟน ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในรูปแบบต่างๆ
  • การป้องกัน และการรักษาไข้หวัดแดด เช่น หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดและความร้อน ลดอุณหภูมิร่างกาย หลีกเลี่ยงการพึ่งแอร์เย็นๆ ทันทีทันใด หรือดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว
  • หากกินยาไปแล้วยังปวดศีรษะมาก หรือมีอาการปวดศีรษะแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาการตาพร่ามัว อาเจียนพุ่ง กินไม่ได้ มีไข้สูง หรือปวดมากหลังจากเพิ่งได้รับการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะมาไม่นาน ควรปรึกษาแพทย์
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

ความรู้สึกร้อน-เย็น เกี่ยวพันกับศูนย์ควบคุมความร้อนในร่างกายหรือกลไกต่างๆ ที่สมอง ส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) 

สมองส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนหน้าและส่วนหลัง โดยส่วนหน้าจะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิกายสูงเกินไป ส่วนหลังจะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิกายต่ำเกินไป ซึ่งถ้าหากกลไกเหล่านี้ทำงานผิดปกติ หรืออยู่ในอากาศที่อุณหภูมิร้อนหรือหนาวจัดเกินไป อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่นภายในร่างกายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการปวดศีรษะเพราะอากาศร้อน เป็นอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุจากโรคอื่น เรียกว่าเป็นการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary Headache) ได้แก่

  • อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migraine Headache) ซึ่งมักมีอาการปวดตุบๆ และมักเป็นข้างเดียว
  • อาการปวดศีรษะแบบบีบรัด (Tension typed Headache) อาจเกิดจากการบีบรัด ตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยรอบ

ทั้งสองอย่างเป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป และไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเกิดจากภาวะอากาศร้อนเป็นตัวกระตุ้นเท่านั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ความเครียด พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารบางชนิดอย่างช็อกโกแลต กล้วย วนิลา 

นอกจากนี้รอบของการมีประจำเดือนก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่นเดียวกัน

อากาศร้อนจนปวดหัว...คิดไปเอง หรือร่างกายกำลังบอกอะไร?

ความร้อนในร่างกายเกิดขึ้นได้จากหลายทางด้วยกัน โดยปกติแล้วมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อ การหดและการคลายตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดพลังงานความร้อนได้ 

โดยจะสังเกตได้ว่า ในเวลาอากาศหนาวเย็น ขนจะลุก ร่างกายจะหนาวสั่นไปหมด เนื่องจากการหดตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดพลังงานสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย

ความร้อนยังอาจเกิดขึ้นจากการย่อยอาหารในกระเพาะและลำไส้ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนบางชนิด เช่น เอพิเนฟรีน (Epinephrine) นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) และไทรอกซิน (Thyroxin) ซึ่งกระตุ้นให้มีการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ฮอร์โมนเหล่านี้จะหลั่งในภาวะที่ร่างกายตื่นเต้นหรือตกใจ

อีกสิ่งหนึ่งที่มักจะเกิดในหน้าร้อนคือ โรคลมแดด (Heat Stroke) หรืออาการที่เป็นลมจากอากาศร้อนจัด เกิดจากร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ทัน จนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่วมกับอาการขาดน้ำที่จะมาช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ 

นอกจากนี้ยังเกิดจากการสูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปทางเหงื่อจำนวนมาก แล้วไม่ได้ดื่มน้ำเข้าสู่ร่างกายเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป 

ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อกจากการขาดน้ำได้ จนเกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืดเป็นลม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ไปจนถึงภาวะหมดสติ ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

หากมีอาการปวดหัวเพราะร้อน ควรทำอย่างไร?

การรักษาอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ โดยทั่วไปจะใช้ยารับประทานบรรเทาอาการปวดเป็นหลัก มียาหลายชนิดที่ช่วยได้ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในรูปแบบต่างๆ การพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นเช่นกัน

ส่วนอาการปวดศีรษะไมเกรนที่เป็นมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญสภาพอากาศร้อน อาจต้องใช้ยาป้องกันไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งเป็นยาที่แตกต่างจากยาที่ใช้รักษาอาการปวดทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม หากกินยาไปแล้วยังปวดศีรษะมากก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากอาการปวดหัวยังสามารถเกิดจากสาเหตุจากโรคอื่น (Secondary Headache) ก็ได้ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการปวดศีรษะแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาการตาพร่ามัว อาเจียนพุ่ง กินไม่ได้ มีไข้สูง หรือปวดมากหลังจากเพิ่งได้รับการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะมาไม่นาน ยิ่งควรไปพบแพทย์โดยด่วน

ปวดหัวเมื่ออากาศร้อน บ่งชี้ถึงโรคภัยไข้เจ็บอะไรหรือไม่?

อุณหภูมิปกติของร่างกายคนจะอยู่ที่ประมาณ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือ 98.7 องศาฟาเรนไฮด์ 

แต่หากเจออากาศร้อนมากๆ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงขึ้นได้แต่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเพลียแดด ร่วมกับอาการเฉพาะของ ไข้หวัดแดด (Summer Flu) ดังต่อไปนี้

  • ตัวร้อน มีไข้รุมๆ แต่ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ริมฝีปากแห้ง แข็ง แต่ไม่แตกลอก ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ แต่ไม่ถึงกับเจ็บคอ
  • ตาแดง อาจมีอาการปวดแสบที่กระบอกตา ซึ่งกรณีนี้ต้องระวังมาก เพราะเป็นอาการแสดงว่าร่างกายสะสมความร้อนไว้มากจนเริ่มรับไม่ไหวแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นตะคริว
  • นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ
  • ปากจืด ปากขม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปั่นป่วนท้อง ท้องเสีย ขับถ่ายไม่ปกติ เช่น ถ่ายไม่เป็นเวลา ถ่ายยาก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย เวลาปัสสาวะจะรู้สึกมีความร้อนสูงออกมาด้วย

การป้องกัน และการรักษาไข้หวัดแดด คล้ายๆ กับวิธีรักษาไข้หวัด ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดและความร้อนโดยตรงเป็นเวลานาน ควรพกร่มหรือสวมเสื้อคลุมกันแดด หากต้องอยู่กลางแจ้งนานๆ
  • ลดอุณหภูมิร่างกาย อยู่ในที่ร่มที่อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้ผ้าเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนในร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการพึ่งแอร์เย็นๆ ทันทีทันใด เพราะร่างกายอาจปรับอุณหภูมิไม่ทัน จนเป็นหวัดแดดได้
  • ช่วงที่อากาศร้อนควรสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย เนื้อผ้าไม่หนาเกินไป สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี
  • ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว และรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อช่วยป้องกันหวัด
  • หากมีไข้ไม่ลด ให้กินยาลดไข้ ยาแก้หวัด ยาแก้หวัดลดน้ำมูก
  • รักษาสุขภาพอนามัยให้ดี ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรคและไวรัสหวัดในเบื้องต้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลาต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

อาการร้อนจนปวดศีรษะ เป็นอาการที่สามารถพบได้ในคนทั่วไป และบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ต้นเหตุเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า 

โดยการหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดและความร้อนโดยตรงเป็นเวลานาน ดื่มน้ำให้สะอาด ไม่เข้าห้องแอร์เย็นๆ ทันทีหลังจากตากแดดเป็นเวลานาน และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ร้อนๆ ระวังลูกเป็นหวัดแดด (http://www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/information/news/13966).
Michelle Blanda, MD; Chief Editor: Jeter (Jay) Pritchard Taylor, III, MD, Tension Headache (https://emedicine.medscape.com/article/792384-overview), 21 November 2017.
Jasvinder Chawla, MD, MBA; Chief Editor: Helmi L Lutsep, MD, Migraine Headache (https://emedicine.medscape.com/article/1142556-overview), 31 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป