วิตามินเสริมในภาวะพิเศษ 2

เผยแพร่ครั้งแรก 12 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิตามินเสริมในภาวะพิเศษ 2

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินเสริมในภาวะพิเศษ เช่น เมื่อยามที่คุณเกิดมีอาการท้องผูก แผลมีดบาด ผิวแห้งเมาค้าง ภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ ริดสีดวงทวาร เป็นต้น เมื่อร่างกายคุณเกิดภาวะเช่นนี้แล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดที่เหมาะกับตัวคุณ หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

 ความต้องการวิตามินของร่างกายคุณไม่คงที่ และในภาวะพิเศษคุณย่อม ต้องการอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรพิเศษ ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อ ภาวะพิเศษต่างๆซึ่งมักเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่แนะนําให้รับประทานในภาวะนั้นๆ (สําหรับอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุ ดังกล่าว ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 29-71) และเช่นเคย ข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่ใบสั่งยา ของแพทย์นะครับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เท้าเย็น

หากคุณรู้สึกอายที่ต้องใส่ถุงเท้าขึ้นเตียงนอนตลอดเวลา คุณอาจลอง รับประทานแร่ธาตุเสริมที่มีไอโอดีนวันละ 2 เวลา พร้อมด้วยสาหร่ายเคลป์ อัดเม็ด อาการเท้าเย็นอาจมาจากการที่ต่อมไทรอยด์ของคุณสร้างฮอร์โมน ไทร็อกซินไม่เพียงพอ ไนอะซินและวิตามินอีก็ช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือด เช่นกัน ผมยังขอแนะนําให้รับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย 60 มก. วันละ 1-3 เวลา และอาร์จีนีนขนาด 1,500 มก. 2 เม็ด วันละ 2 เวลา

แผลเริม

ในโลกนี้คงจะมีไม่กี่อย่างที่น่ารําคาญมากกว่าเดิม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สูตรที่ดีที่สุดสําหรับโรคนี้ในความเห็นของผมคือ

  • แล็กโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลัส 3 แคปซูล วันละ 3 เวลา
  • น้ำมันวิตามินอี 28,000 ไอย ทาบนบริเวณที่เป็น
  • ไลซีน 3 กรัม (3,000 มก.) ต่อวัน (แบ่งรับประทาน) รับประทานขณะท้องว่างระหว่างมื้ออาหาร (พร้อมนําหรือน้ำผลไม้ ไม่ควรรับประทานร่วมกันโปรตีน)
  • ในการป้องกัน ไลซีน 500 มก.ต่อวัน (พร้อมนําหรือน้ําผลไม้ ไม่ควรรับประทานร่วมกับโปรตีน)
  • วิตามินซี 1,000 มก. เช้าและเย็น

ท้องผูก

ทุกคนต้องเคยอึดอัดกับอาการท้องผูกบ้างสักช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต อาการนี้ มักมาจากการรับประทานกากอาหารน้อยเกินไป หรืออาจมาจากยาบางชนิด เช่น โคเดอีน ยาระบายที่รุนแรงอาจระบายสารอาหารที่ดีออกไปด้วย และยัง อาจก่อให้เกิดอาการท้องผูกอีกเมื่อหยุดใช้ ทําให้เกิดการติดยาระบายได้ ดังนั้น ยาถ่ายจากธรรมชาติน่าจะเป็นตัวเลือกแรกของคุณมากกว่า

  • เส้นใยอาหาร 2 กรัม ในรูปแบบเม็ด วันละ 2 เวลา หรือซิลเลี่ยม 1 ช้อนชา พูน (หากคุณไม่แพ้) ผสมในน้ําผลไม้หรือนมปราศจากไขมัน
  • อะซิโดฟิลัสแบบเหลว 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลา
  • ยาระบายจากผักและทําให้อุจจาระนุ่มแบบไร้น้ำตาล ให้รับประทานเป็น ช่วงเวลาสั้นๆ ในกรณีที่จําเป็น
  • น้ำ 8-10 แก้วต่อวัน (บวกด้วยการออกกําลังกายเล็กๆน้อยๆก็ไม่เลว)

แผลมีดบาด

วิตามินซีคอมเพล็กซ์ 1,000 มก. พร้อมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ วันละ เวลา ร่วมกับสังกะสี 50 มก. และวิตามินอี 400 ไอยู 

ผิวแห้ง

  • น้ำมันวิตามินอี (แบบแห้ง) ช่วยได้อย่างน่าอัศจรรย์เมื่อทาลงบนผิวแห้ง เช่นเดียวกับน้ำมันที่มีวิตามินเอและดีเป็นส่วนประกอบ สําหรับผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร ผมขอแนะนําวิตามินอี 200 - 400 ไอยู และวิตามินเอ 10,000 ไอยู (รับประทานต่อเนื่องกัน 5 วัน และหยุดพัก 2 วัน) ผมยังขอแนะนําเอ็มวีพี (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 206) และน้ำมันโอเมก้า-3 1-3 แคปซูล วันละ 3 เวลา (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 96 สําหรับข้อมูลทั้งหมดของโอเมก้า-3)
  • หากคุณไม่อยากรับประทานน้ำมันจากปลา (โอเมก้า-3 มักวางขายในนาม อีพีเอ) อาจหาแหล่งของโอเมก้า-3 จากธรรมชาติอื่นๆ เช่น น้ำมันเมล็ด แฟลกซ์ น้ำมันฟักทอง น้ำมันคาโนลา และน้ำมันถั่วเหลือง (เติม 1-2 ช้อนชา ลงในน้ำสลัด) และยังพบมากในวอลนัทอังกฤษ ถั่วเนวี ถั่วแดง ถั่วเหลือง และถั่วเกรตนอร์เทิร์น

เมาค้าง

เพื่อป้องกันอาการเมาค้าง รับประทานบีรวม 100 มก. หนึ่งเม็ดก่อนออก เที่ยว อีกหนึ่งเม็ดขณะดื่ม และอีกหนึ่งเม็ดก่อนเข้านอน (แอลกอฮอล์ทําลาย วิตามินบีรวม) ซิสเทอีน 500 มก. พร้อมวิตามินซี 1,500 มก. อาจช่วยได้ เช่นกัน (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 239)

ภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ

  • ความเครียดอาจทําให้คนที่เป็นภูมิแพ้มีอาการแย่ลงได้ หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่ต้องทรมานจากอาการภูมิแพ้ คุณอาจมีอาการดีขึ้นได้ด้วยวิตามินบีรวม 1 เม็ด วันละสองเวลา กรดแพนโทเทนิก 1,000 มก. วันละ 3 เวลา และ วิตามินซีในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งมีหลักฐานว่ามีคุณสมบัติเท่าเทียมกับยาแก้แพ้ กลุ่มแอนติฮิสตามีน นอกจากนี้สารสกัดจากสติงกิงเน็ตเทิล สกัลล์แคปจากจีน
  • ใบฟีเวอร์ฟิว รากฮอร์สแรดิช และเยอร์บาแซนตา รับประทานพร้อมเอ็มเอส 1,000 มก. วันละ 2 เวลา จะช่วยให้คุณผ่านพ้นฤดูกาลที่ชวนให้จามหรือคัดจมูกไปได้

ปวดศีรษะ

สูตรวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะได้ผลดี เป็นที่ ประหลาดใจคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ไนอะซิน 100 มก. วันละ 3 เวลาพร้อมอาหาร
  • บีรวม (แบบแตกตัวช้า) วันละ 2 เวลา
  • แคลเซียมและแมกนีเซียม (อัตราส่วนของแคลเซียมควรเป็นเท่าตัวของ แมกนีเซียม) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาคลายประสาทตามธรรมชาติ

สําหรับไมเกรน

  • เปลือกไม้ไวท์วิลโลว์ หรือฟีเวอร์ฟิวแบบแคปซูล วันละ 3 เวลา
  • เซนต์จอห์นส์วอร์ตแบบดูอัลแอ๊คชัน วันละ 1-2 เวลา
  • สารสกัดจากใบแปะก๊วย 60 มก. เช้าและเย็น อาจช่วยป้องกันอาการ ไมเกรนกําเริบ

อาการกรดไหลย้อน / เรอเปรี้ยว

ยาลดกรดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น เจลซิล โคแลนทิล อะลัมมิลค์ ล้วนมีอะลูมิเนียม ซึ่งขัดขวางกระบวนการเผาผลาญแคลเซียมและฟอสฟอรัส คุณควรจะลองรับประทานเป็นเอ็มเอสเอ็ม 1,000 มก. ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลาเพื่อลดกรด (หรือแคลเซียม 250 มก. และแมกนีเซียม 125 มก. 2 เม็ด วันละ 3 เวลา) หรือเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารรวม วันละ 1-3 เวลา หรือสารสกัดจากมะละกอแบบเคี้ยว นอกจากนี้การดื่มน้ำก่อนและหลังอาหาร แต่ ไม่ใช่ระหว่างอาหาร และรับประทานให้ช้าลง ก็ช่วยบรรเทาอาการได้

ริดสีดวงทวาร

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีอาการของโรคริดสีดวง ทวาร การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกําลังกาย และการเบ่ง ขณะถ่ายอุจจาระ ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคขึ้น ส่วนกาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม และโกโก้ ล้วนมีส่วนเสริมอาการของโรค โดยทําให้มีอาการคัน บริเวณทวารมากขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ถูกริดสีดวงรังควาน ลองรับประทาน ธัญพืชไม่ขัดสี 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลา หรือเส้นใยอาหาร 2 กรัม วันละ 2 เวลา อาจช่วยบรรเทาอาการได้ พร้อมด้วยวิตามินซีคอมเพล็กซ์ 1,000 มก. วันละสองเวลา เพื่อให้เนื้อเยื่อสมานกันดีขึ้น

อะซิโดฟิลัส 3 แคปซูล วันละ 3 เวลา (หรือแบบเหลว 1 - 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 1-3 เวลา) และน้ำมันวิตามินอี 28,000 ไอยุต่อออนซ์ ทาตรงบริเวณ ที่เป็นด้วยสําลีพันก้าน

 เอ็มวีพี: โปรแกรมวิตามินของมินเดลล์ (MVP. Mindel Vitamin Program)

  • เป็นวิตามินรวมจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงและแร่ธาตุรวม (ไม่มีสารกันเสียสังเคราะห์ สี สีย้อม หรือแว็กซ์เคลือบผิว) พร้อมด้วย เอนไซม์ช่วยย่อย เพื่อให้ดูดซึมได้ดีขึ้น และ
  • สารต้านอนุมูลอิสระสูตรรวมที่มีประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย แคโร ทีนอยด์รวมจากธรรมชาติ (แอลฟาและเบต้าแคโรทีน คริปโตแซนทิน ลูทีน และซีแซนทิน) ไลโคปีน กรดแอลฟาไลโปอิก แอล-คาร์โนซีน เมล็ดองุ่น สกัดเข้มข้น (Grapeseed OPCs) สารสกัดจากใบชาเขียว ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ เอ็น-อะซิทิลซิสเทอีน สารสกัดจากผิวอน เควอร์ซิทิน จากรูติน ขมิ้นชัน บิลเบอร์รี่ วิตามินซี วิตามินอีรวม (แอลฟา แกมมา และเดลตาโทโคฟีรอล) บวกโทโคไทรอีนอล ซีลีเนียม สารสกัดจากใบแปะก๊วย โคเอนไซม์-คิว 10 แอล-กลูตาไทโอน ไอโซฟลาโวนจาก ถั่วเหลือง (เจนิสทีนและเดดซีน)

รับประทานทั้งเอ็มวีพีและสารต้านอนุมูลอิสระสูตรรวม อย่างละหนึ่ง เม็ด เช้าและเย็นพร้อมอาหาร (ปริมาณนี้ใช้ได้กับทุกคนที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป)

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamins (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/vitamin.html)
Vitamins, minerals and supplements in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/vitamins-minerals-supplements-pregnant/)
Fat-soluble vitamins: Types, function, and sources. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320310)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินอี(โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล)
วิตามินอี(โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล)

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามินอี (โทโคฟีรอล/โทโคไทรอีนอล) วิตามินชนิดนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไรและโรคที่เกิดขึ้นหากขาดวิตามินชนิดนี้ รวมถึงแหล่งจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ศัตรูของวิตามินอี ที่สำคัญคืออาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป ตลอดจนรวมทั้งคำแนะนำที่น่าสนใจต่างๆมากมาย สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม