วิตามินอีชนิดทาสามารถลดเลือนรอยแผลเป็นได้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิตามินอีชนิดทาสามารถลดเลือนรอยแผลเป็นได้หรือไม่

มีผลิตภัณฑ์หลากหลายมากมายในท้องตลาดไม่ว่าจะเป็นครีม น้ำมัน หรือแม้กระทั่งหมอพื้นบ้านที่อ้างว่าสามารถช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นและลบเลือนรอยแผลเป็นได้ ซึ่งประเภทรอยแผลเป็นที่คนส่วนใหญ่มักจะเป็นกังวลและพยายามหาทางป้องกันหรือทำให้รอยแผลเป็นลดลงก็คือแผลเป็นแบบนูน โดยแผลเป็นชนิดนี้จะมีลักษณะนูนแดงอาจทำให้เจ็บและส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายบริเวณที่เป็นแผลเป็น เพราะจะเกิดการยึดติดของผิวหนัง รอยแผลเป็นแบบนูนนั้นจะค่อย ๆ ลบเลือนหายไปเองแต่ต้องใช้ระยะเวลา อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าวิธีการต่าง ๆ เหล่านั้นจะสามารถลบรอยแผลเป็นได้ แต่วิตามินอีก็เป็นหนึ่งในสารที่นิยมใช้ลบรอยแผลเป็นมากที่สุดตัวหนึ่ง

วิตามินอีคืออะไร

วิตามินอีหรือสารโทโคเฟอรอล (Tocopherol) นั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมันซึ่งมีทั้งรูปแบบแคปซูลและแบบน้ำสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ร้านขายของชำ ร้านอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและร้านค้าออนไลน์ ซึ่งน้ำมันวิตามินอีจะใช้ทาตรงบริเวณที่เป็นรอยแผลเป็นโดยเจ้าวิตามินอีจะซึมเข้าผ่านผิวหนังไปช่วยลดการสร้างของอนุมูลอิสระที่ไปขัดขวางการฟื้นตัวของแผล นอกจากนี้ สารวิตามินอียังมีส่วนสำคัญในการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่จะช่วยในเรื่องการสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นของผิวหนังอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

งานวิจัยเกี่ยวกับการทาวิตามินอีเพื่อลดรอยแผลเป็น

ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะใช้น้ำมันวิตามินอีทายังผิวหนังเพื่อป้องกันหรือลดการเป็นรอยแผลเป็น ซึ่งในบางครั้งที่แพทย์ก็แนะนำให้ใช้หลังจากผ่าตัดเหมือนกัน แต่ก็มีหลักฐานน้อยมากว่าสามารถลดการเกิดแผลเป็นได้จริง

โดยงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารศัลยกรรมพลาสติกตกแต่งและความงาม (Journal of plastic, reconstructive and aesthetic surgery) ในปี 2011 ได้แนะนำว่าการทาวิตามินอี 5% วันละ 2 ครั้งนั้นไม่มีผลต่อการเกิดรอยแผลเป็นเลย โดยการทดลองคือให้ผู้เข้าร่วมเริ่มทาวิตามินอี 5% ที่แผลผ่าตัดหลังจากผ่าตัด 2 สัปดาห์โดยทานาน 6 สัปดาห์แล้วรอยแผลเป็นก็ยังอยู่ในสภาพเดิม

อีกงานวิจัยได้ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์การดูแลแผลไหม้และการฟื้นฟู (Journal of burn care and rehabilitation) ในปี 1986 ได้ทำการทดสอบการใช้วิตามินอีแบบทาในช่วงหลังจากการผ่าตัดตกแต่งแผลจากไฟไหม้โดยผู้เข้าร่วมการทดสอบได้ใช้การทาวิตามินอี การทาสเตียรอยด์ และทายาหลอกที่ไม่มีตัวยาผสมอยู่มาเทียบกัน พบว่าไม่มีประโยชน์ทั้งการทาวิตามินอีและการทาสเตียรอยด์ต่อความสามารถในการขยับของข้อที่ถูกแผลเป็นรั้ง ความหนาของรอยแผลเป็น ขนาดของผิวหนังที่นำมาปลูกถ่ายบริเวณแผล หรือกระทั่งความสวยงาม

และยังมีอีกผลงานวิจัยเล็กที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านศัลยกรรมผิวหนังในปี 1999 ได้ศึกษาผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งผิวหนังโดยที่ผิวหนังได้รับการเย็บปิด 2 ชั้นหลังจากการผ่าตัดให้ทาครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีอยู่ โดยให้ครีมครึ่งหนึ่งของแผลและอีกครึ่งหนึ่งให้ทาครีมเปล่าที่ไม่ได้มีตัวยาใดเลยทาวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งผลออกมาว่าครีมที่ผสมวิตามินอีไม่ได้มีผลต่อความสวยงามของรอยแผลเป็นและมีบางส่วนที่แย่ลงด้วย โดยที่ 33% เกิดผื่นแพ้ต่อวิตามินอี  ผู้ทำวิจัยจึงสรุปว่าไม่ควรใช้ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอี

แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งว่าการทดลองใช้วิตามินอีในปริมาณน้อย(บดแคปซูลที่มีวิตามินอี 320 ยูนิตผสมในครีม 1 กรัม) และทาสารต่างลงบนแผลเร็วเกินไปซึ่งทำให้แผลสมานไม่ดี ส่วนเรื่องความเสียงที่จะเกิดผื่นแพ้ต่อวิตามันอีนั้นเป็นปฏิกิริยาของผิวหนังที่เรียกว่า อีริทรีมา มัลติฟอร์ม(erythema multiforme) โดยมีผู้มีอาการดังกล่าว 2 คนจึงทำไปทดสอบกับแผ่นแปะผิวหนังที่มีน้ำมันวิตามินอีพบว่ามีปฏิกิริยาของผัวหนังส่วนนั้นทั้งสองคน

วิธีการรักษาอื่นๆ

1. สารสกัดจากหัวหอม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หัวหอม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อัลเลียม ซีปา(Allium Cepa) เป็นส่วนผสมที่มักจะพบในครีมหรือเจลลบรอยแผลเป็น ซึ่งสารสกัดจากหัวหอมพบว่ามีคุณสมบัติที่สามารถต่อต้านการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และยังช่วยเสริมคอลลาเจน

โดยมีงานวิจัยหลัก ๆ อยู่ 3 งานวิจัยที่ทำในสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามันไม่ได้ช่วยทำให้แผลเป็นเป็นชนิดนูนดีขึ้น และยังมีงานวิจัยหนึ่งใน 3 งานวิจัยที่พบว่าไม่มีความแตกต่างทั้งความแดงและความคันของแผลหลังจากที่ได้ใช้เจลที่มีสารสกัดจากหัวหอมโดยทาไปทั้งหมด 1 เดือน(ทาวันละ 3 ครั้ง) และอีกงานวิจัยในนั้นได้ทดสอบกับคน 93 คนซึ่งต่างก็มีรอยแผลเป็นเก่าและใหม่มาเปรียบเทียบเจลหัวหอมกับเจลหลอกที่ไม่มีตัวยาเลย พบว่าไม่ได้มีความแตกต่างกันของขนาดแผลเป็น การดีขึ้นโดยรวม ๆ ของแผลเป็น รูปลักษณ์ ความนูน ความแดง และความนุ่ม

2. การทาน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งนั้นมักจะถูกนำไปใช้กับการทำแผลสดและแผลไฟไหม้มานับร้อยปีแล้ว โดยในปี 2006 มีการทบทวนวิจัยที่เคยทำมา 22 งานวิจัยในคนกว่า 2,000 คน พบว่าน้ำผึ้งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และยังกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้หลายชิ้นทำที่มหาวิทยาลัยไวกาโต (University of Waikato)ประเทศนิวซีแลนด์โดยใช้น้ำผึ้งชนิดหนึ่งที่เรียกว่ามานูกา (Manuka honey) ถึงแม้ว่าน้ำผึ้งจะมีแนวโน้มที่จะใช้เป็นวัสดุรักษาแผลมากขึ้นทั้งแผลสดและแผลไฟไหม้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดที่มากพอที่จะยืนยันว่าน้ำผึ้งช่วยเรื่องรอยแผลเป็นแบบนูนได้

การใช้ธรรมชาติบำบัดในการรักษารอยแผลเป็น

โดยมีการแพทย์พื้นบ้านหลายอย่างที่ใช้ลบรอยแผลเป็นได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่น่าเชื่อถือเช่นเดียวกันทั้งว่านหางจระเข้ ใบบัวบก วิตามินซี และสังกะสี ถ้าจะลองใช้การแพทย์ทางเลือกเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ

ข้อควรทราบ  ข้อมูลเหล่านี้มีไว้สำหรับเป็นการศึกษาเท่านั้นไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาโดยแพทย์ได้ และไม่ได้ครอบคลุมข้อห้าม ปฏิกิริยาระหว่างยา หรือผลข้างเคียง ควรไปสถานพยาบาลหากมีปัญหาด้านสุขภาพและปรึกษาแพทย์ก่อนใช้การแพทย์ทางเลือกหรือเปลี่ยนยา


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 benefits of vitamin E oil. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318168)
Vitamins E and C for Scars and Blemishes. Dermstore. (https://www.dermstore.com/blog/vitamin-c-e-and-scars/)
Scars: Why They Form & Ways To Improve Appearance. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/scars#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป