โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบในหญิงตั้งครรภ์จะเหมือนกับที่สามารถพบได้ในคนทั่วไป คือ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป, ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, และคอพอก แต่ที่จะมีความแตกต่างคือ หญิงตั้งครรภ์สามารถพบโรคของต่อมไทรอยด์หลังคลอดได้ คือมีการอักเสบชั่วคราวเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์หลังคลอดหรือหลังแท้งบุตร
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินในหญิงตั้งครรภ์ (Hypothyroidism in Pregnancy)
การวินิจฉัยภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนรายใหม่ในหญิงตั้งครรภ์พบได้น้อย เนื่องจากผู้หญิงที่มีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์และไมได้รับการรักษาจะไม่มีการตกไข่ หรือ ไม่สามารถทำให้ไข่โตเต็มที่พร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิได้ ซึ่งทำให้โอกาสตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ยาก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การวินิจฉัยภาวะนี้ในหญิงตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกโดยอาศัยการสังเกตอาการทางคลินิกทำได้ยาก เพราะอาการและอาการแสดงของภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ อ่อนเพลีย ความสนใจต่ำ น้ำหนักเพิ่ม ชา และรู้สึกเสียวซ่าที่มือหรือเท้า เป็นอาการที่พบได้บ่อยของการตั้งครรภ์ตามปกติ
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายของทารกในครรภ์หรือทำให้การเจริญเติบโตของทารกช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงที่มารดาจะพบภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โลหิตจาง, ครรภ์เป็นพิษ และภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ส่วนใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่ก่อนตั้งครรภ์และกำลังได้รับยาไทรอยด์ฮอร์โมนทนแทน ขนาดยาที่แนะนำระหว่างตั้งครรภ์ คือ อาจมีการเพิ่มขนาดยาลีโวไทรอกซิน (levothyroxine) มากกว่าปกติ 25-50% ระหว่างตั้งครรภ์ และที่สำคัญคือต้องมีการตรวจเช็คระดับฮอร์โมน T4 และ TSH ในเลือดเป็นประจำทันทีที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์ โดยต้องตรวจให้บ่อยครั้งในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์เพื่อให้มั่นใจว่าหญิงตั้งครรภ์รายนั้นได้รับขนาดยาที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์
คำแนะนำในการปรับขนาดยาลีโวไทรอกซิน คือ ให้ปรับขนาดยาจนระดับฮอร์โมน TSH ในเลือดอยู่ที่ <2.5 mIU/L ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และ < 3 mIU/L ในช่วงสองไตรมาสถัดมา โดยทั่วไปแล้วเมื่อคลอดลูกแล้ว ขนาดยาที่เคยเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะไม่จำเป็นอีกต่อไป โดยสามารถกลับไปใช้ขนาดยาลีโวไทรอกซินเดิมก่อนตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังคลอดลูกแล้ว
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินในหญิงตั้งครรภ์ (Hyperthyroidism in Pregnancy)
การวินิจฉัยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปรายใหม่ในหญิงตั้งครรภ์พบได้ประมาณ 1 ราย ในหญิงตั้งครรภ์ 2,000 ราย โดยโรคเกรฟ (Graves’ disease) พบได้ประมาณ 95% ของการภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกในหญิงตั้งครรภ์
เช่นเดียวกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป หลายๆ อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปที่มีอาการไม่มากจะคล้ายกับอาการปกติที่พบได้ระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการอย่างเด่นชัด เช่น น้ำหนักลด, อาเจียน, ความดันโลหิตสูงขึ้น, หัวใจเต้นเร็วตลอดเวลา ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือไม่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปที่มีความรุนแรงน้อยหมายถึง เมื่อตรวจเลือดแล้วพบระดับฮอร์โมน TSH ต่ำกว่าปกติ แต่มีระดับฮอร์โมน Free T4 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งไม่อันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ และไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ในกรณีนี้แนะนำให้ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ซ้ำอีกครั้งใน 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปที่มีความรุนแรงปานกลางและระดับรุนแรงที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ทารกและคุณแม่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และหัวใจเต้นเร็ว
สำหรับคำแนะนำในการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปในหญิงตั้งครรภ์คือการใช้ยาโพรพิลไทโอยูราซิล (propylthiouracil) โดยจะถูกใช้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เพื่อยับยั้งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน และทำให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนลดลงสู่ระดับปกติหรือสูงกว่าปกติเล็กน้อย ยา propylthiouracil เป็นยาที่มีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์บางชนิดเมื่อเทียบกับยาเมทิมาโซล (methimazole) และเป็นยาที่ถูกแนะนำให้ใช้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงการพัฒนาของทารกที่สำคัญ ยา propylthiouracil ไม่ถูกแนะนำให้ใช้หลังจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบร้ายแรงได้ ดังนั้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ควรเปลี่ยนจากยา propylthiouracil เป็นยา methimazole แทน สำหรับอัตราการเกิดผลข้างเคียงของยาทั้งสองชนิดนี้ไม่เพิ่มขึ้นหากใช้ระหว่างตั้งครรภ์
ธาตุไอโอดีนสามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นการใช้ไอโอดีนระหว่างการสแกนต่อมไทรอยด์ (thyroid scan) หรือในการรักษาโรคของต่อมไทรอยด์ด้วยกัมมันตรังสีไอโอดีน (radioactive iodine) จึงถือเป็นข้อห้ามระหว่างการตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตามอาจพบว่าในผู้หญิงที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปร่วมกับการเป็นโรค Graves’ disease อาจมีอาการดีขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์
คอพอกในหญิงตั้งครรภ์ (Goiter in Pregnancy)
เป็นเรื่องปกติที่จะพบคอพอกเล็กน้อยได้ในหญิงตั้งครรภ์ และจะพบมากขึ้นถ้าผู้หญิงคนนั้นพักอาศัยในบริเวณที่มีการขาดธาตุไอโอดีน การขาดธาตุไอโอดีนอาจเกิดขึ้นจากการที่บางคนหลีกเลี่ยงการรับประทานนม ไข่ และเกลือผสมไอโอดีน
วิตามินสำหรับบำรุงขณะตั้งครรภ์ไม่ใช่ทุกตัวที่จะมีไอโอดีนเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้รับประทานวิตามินบำรุงขณะตั้งครรภ์ซึ่งมีส่วนผสมของไอโอดีนด้วย เพื่อป้องกันการขาดไอโอดีน หากพบต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนระหว่างตั้งครรภ์ คำแนะนำในการรักษาปัจจุบันคือไม่ควรรอจนคลอด แต่ให้เข้ารับการตรวจประเมินและเจาะดูดชิ้นเนื้อไปตรวจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคของต่อมไทรอยด์หลังคลอด (Postpartum Thyroid Disease)
ในผู้หญิงบางรายอาจพบภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบชั่วคราวหลังคลอด หรือที่เรียกว่า postpartum subacute thyroiditis ซึ่งมักพบในช่วง 3-6 เดือนหลังคลอด หรืออาจเกิดขึ้นหลังจากแท้งบุตร
อาการที่พบได้บ่อยคือผู้หญิงรายนั้นจะมีอาการเริ่มแรกคืออาการของต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ได้แก่ ใจสั่น วิตกกังวล และน้ำหนักตัวลดลง หลังจากนั้นจะตามด้วยอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ได้แก่ อ่อนเพลีย ท้องผูก และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และปิดท้ายด้วยต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานปกติได้ประมาณ 90% ของผู้หญิงที่มีภาวะนี้ทั้งหมด
ในผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติหลังคลอดได้ถึง 25%
ให้ปรึกษาแพทย์ถ้าคุณมีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป หรือต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หลังจากคลอด หรือหลังจากแท้งบุตร
https://www.emedicinehealth.com/thyroid_problems/article_em.htm#thyroid_problems_overview