กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังจากผ่าตัดมดลูกว่าเป็นไปได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?

คำถาม : มีโอกาสที่จะสามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกได้หรือไม่?

คำตอบ :  คำตอบง่าย ๆ เลยก็คือไม่ หรือถ้าให้ชัดเจนกว่านั้นก็คือคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์และอุ้มท้องจนครบกำหนดีได้ นี่อาจฟังดูเข้าใจยาก แต่สามารถอธิบายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดมดลูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 86,000 บาท ลดสูงสุด 6,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภายหลังจากการได้รับการผ่าตัดมดลูกคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก เพราะเนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดจะมีการตัดมดลูกซึ่งเป็นบริเวณที่ทารกใช้ในการเจริญเติบโตออกจากร่างกาย ดังนั้นเมื่อไม่มีมดลูก จึงไม่สามารถตั้งครรภ์จนครบกำหนดได้

ถึงแม้ว่าคำตอบนั้น ๆ ที่ว่า “ ไม่ คุณไม่สามารถตั้งท้องได้หลังตัดมดลูก” จะเป็นความจริง แต่ก็มีผู้หญิงบางคนที่พบว่าตัวเองเกิดตั้งครรภ์หลังจากได้รับการผ่าตัดมดลูกไปแล้ว ซึงภาวะนี้อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดที่สามารถพบได้น้อยมาก ๆ โดยจะพบได้น้อยกว่า 1 ใน 1,000,000 ราย และถึงแม้ว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเช่นในกรณีเหล่านนี้แต่ทารกจะมาสามารถมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดได้โดยที่ไม่มีมดลูก ดังนั้น การตั้งครรภ์จึงอาจจะเป็นไปได้แม้จะมีโอกาสน้อยมาก แต่การอุ้มท้องนั้นเป็นไปไม่ได้

เพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องการตั้งครรภ์หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกมากขึ้น คุณควรเริ่มจากการทำความเข้าใจการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งการตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะที่ไข่มีการปฏิสนธิและฝังตัวในบริเวณอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มดลูก โดยส่วนมากจะพบที่บริเวณท่อนำไข่ ซึ่งภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และมักจะพบในผู้หญิงที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและฉับพลัน ภาวะนี้เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ไม่ว่าคุณจะเคยตัดมดลูกหรือไม่มาก่อนก็ตาม

โดยในการตั้งครรภ์นอกมกลูกระยะแรก ๆ หลังจากได้รับการผ่าตัดมูกลูก ซึ่งผู้หญิงคนนั้นมักจะต้องเริ่มมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกในขณะที่เข้ารับการผ่าตัดอยู่แล้ว เมื่อได้รับการผ่าตัดเสร็จสิ้นไปแล้ว หญิงคนนั้นจะค่อย ๆพบว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูกอยู่ที่ท่อนำไข่หรือบริเวณอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ของระบบสืบพันธ์ โดยการตั้งครรภ์นอกมดลูกหลังจากได้รับการผ่าตัดไปแล้วสักระยะหนึ่ง ที่มักจะเกิดในผู้หญิงที่มีการผ่าตัดมดลูกแต่ไม่ได้ตัดรังไข่ และอาจจะต้องการการผ่าตัดแบบฉุกเฉินได้หากไข่ที่มีการปฏิสนธิมีการโตขึ้นและทำลายท่อนำไข่หรืออวัยวะอื่น ๆ หากคุณต้องการมีลูกแต่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและการตัดรังไข่ คุณอาจใช้การเก็บไข่จากรังไข่ไว้ก่อน เพื่อนำมาใช้ปฏิสนธิภายหลังในหญิงอุ้มบุญ และถ้าหากคุณมีไข่ที่แข็งแรงพอที่สามารถผ่าตัดโดยไม่ต้องตัดรังไข่ได้ และอาจมีการเก็บไข่จากรังไข่ได้ทั้งก่อนหรือหลังการผ่าตัด และคุณรู้ควรในทุก ๆ สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดมดลูก


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex after hysterectomy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/sex-after-hysterectomy/)
Can You Get Pregnant After a Hysterectomy?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/is-pregnancy-possible-after-a-hysterectomy-3156844)
Ectopic pregnancy after hysterectomy may not be so uncommon: A case report and review of the literature. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5885999/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะแท้งคุกคามและภาวะซีดอย่างรุนแรงสามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอค

อ่านเพิ่ม