กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดมดลูกคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การผ่าตัดมดลูกคืออะไร?

การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) เป็นการผ่าตัดที่นำมดลูกออกทั้งหมดหรือบางส่วน และอาจมีการตัดปากมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกด้วยในการผ่าตัดครั้งเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดมดลูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 86,000 บาท ลดสูงสุด 6,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การผ่าตัดมดลูกมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. Total hysterectomy เป็นการผ่าตัดนำมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมด การผ่าตัดนี้อาจตัดรังไข่หรือท่อนำไข่ออกด้วยก็ได้
  2. Partial hysterectomy เป็นการผ่าตัดที่นำมดลูกส่วนบนออกแต่เหลือปากมดลูกไว้ อาจมีการตัดรังไข่ด้วยในบางกรณี
  3. Radical hysterectomy เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โดยจะมีการตัดเนื้อเยื่อรอบปากมดลูกและช่องคลอดส่วนบนออกด้วย อาจมีการตัดท่อนำไข่หรือรังไข่ด้วยก็ได้

สาเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดมดลูก

มีหลายสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องทำการผ่าตัดมดลูก เช่น

  • พังผืดในมดลูก (Uterine Fibroids) การเจริญเติบโตของผนังมดลูกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง
  • เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ภาวะที่เยื่อบุมดลูกมีการเจริญที่นอกผนังมดลูกและที่รังไข่
  • มะเร็งมดลูก (Uterine Cancer) การเจริญเติบโตของเนื้องอกร้ายภายในมดลูก
  • ภาวะโพรงเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) การที่เยื่อบุในมดลูกเจริญภายในผนังของมดลูก
  • มดลูกหย่อน (Uterine Prolapse) การที่มดลูกหย่อนลงมาในช่องคลอด
  • อาการปวดในมดลูกเรื้อรัง
  • มีเลือดออกจากมดลูกผิดปกติ

ขั้นตอนการผ่าตัดมดลูก

การผ่าตัดมดลูกเป็นการผ่าตัดใหญ่ และมักต้องทำภายใต้การดมยาสลบ โดยการผ่าตัดนี้สามารถทำได้ผ่านทางการลงมีดบริเวณท้องน้อย 1 แผล แล้วนำอุปกรณ์ขนาดเล็กใส่ผ่านแผลเข้าไปดำเนินการตามรูปแบบของการผ่าตัดมดลูกที่กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม แม้การผ่าตัดมดลูกจะเป็นวิธีการรักษาที่จำเป็นสำหรับโรคมะเร็ง แต่ในภาวะอื่น ผู้ป่วยหรือแพทย์อาจเลือกใช้การรักษาวิธีอื่นได้ เช่น

  • การใช้ยา ยาคุมกำเนิดสามารถช่วยควบคุมอาการเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติหรืออาการปวดประจำเดือนได้
  • การรอเวลา ผังพืดที่มดลูกอาจหดตัวได้เองหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • การใส่อุปกรณ์พยุงช่องคลอด (Vaginal pessary) เป็นการใส่เครื่องมือเพื่อช่วยดันให้มดลูกอยู่กับที่หากมีภาวะมดลูกหย่อน
  • การผ่าตัดอื่นๆ ผู้ป่วยสามารถเลือกการผ่าตัดวิธีอื่นที่แผลเล็กกว่าได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการผ่าตัด

การฟื้นตัวจากการผ่าตัดมดลูก

ร่างกายของผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถฟื้นตัวกลับเป็นปกติหลังการผ่าตัดประมาณ 6 สัปดาห์ และอาจพบอาการดังต่อไปนี้

  • หมดประจำเดือน การตัดมดลูกจะทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป และถ้าหากมีการตัดรังไข่ออกด้วย ก็อาจพบอาการวัยทองเร็วกว่าปกติ
  • อารมณ์ทางเพศลดลง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ที่มีการตัดรังไข่ออกด้วย และยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน โรคหัวใจ และการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โดยเฉพาะหากมีการตัดรังไข่ทั้งสองข้างออก
  • อาการซึมเศร้า อาจพบได้ในผู้หญิงบางคนที่ทราบว่าตัวเองจะไม่สามารถมีบุตรได้หลังจากการผ่าตัดมดลูก

26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hysterectomy Procedure: Risks, Complications, Types, Laparoscopic & Recovery. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hysterectomy/article.htm)
Hysterectomy Side Effects: Short- and Long-Term, Questions to Ask. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hysterectomy-side-effects)
Hysterectomy: Purpose, Procedure, and Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hysterectomy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังจากผ่าตัดมดลูกว่าเป็นไปได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม